ร่วมพิสูจน์ ความเชื่อโบราณ “ปักตะไคร้ไล่ฝน” มีความเชื่อว่าอย่างไรบ้าง

31 สิงหาคม 2565

เปิดความเชื่อโบราณ ปักตะไคร้ไล่ฝน มีความเป็นมาอย่างไร รวมไปถึง วิธีในการประกอบพิธีกรรมคาถาบทสวดต่างๆ ที่คุณแทบอาจจะไม่เคยเจอ

ร่วมพิสูจน์ วิธีปักตะไคร้ ความเชื่อโบราณ ปักตะไคร้ไล่ฝน และ คาถาปักตะไคร้ มีความเชื่อว่าอย่างไรบ้าง

ความเชื่อโบราณปักตะไคร้ไล่ฝน” เป็นความเชื่อของคนไทยที่มีมานานจนไม่สามารถระบุหลักฐานที่มาได้ รวมถึงไม่มีรายละเอียดของพิธีการว่าต้องใช้ “ต้นตะไคร้ จำนวนเท่าใด หากแต่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าต้องปักเป็นจำนวนเลขคี่ เช่น 3 ต้น หรือ 7 ต้น โดยผู้ที่ประกอบพิธีจะต้องเป็น “สาวพรหมจรรย์” หรือไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ โดยนำส่วนปลายยอดของต้นตะไคร้ปักลงไปในดิน ให้ส่วนโคนรากตะไคร้ชี้ขึ้นฟ้า เป็นเชิงส่งสัญญาณถึงพระพิรุณขอให้ย้ายเค้าเมฆฝนไปยังพื้นที่ไกลจากบริเวณที่จัดงาน  หรือทำให้ฝนที่ตั้งเค้ามาหยุดตกได้ 

ร่วมพิสูจน์ ความเชื่อโบราณ “ปักตะไคร้ไล่ฝน” มีความเชื่อว่าอย่างไรบ้าง

วิธีปักตะไคร้

  • ใช้ตะไคร้ 3 ต้น หรือ 7 ต้น โดยตัดยอดออก เพื่อใช้ส่วนใบที่แข็ง ปักลงดินเพื่อให้โคนต้นตะไคร้ชี้ฟ้าให้สาวพรหมจารีเป็นคนทำพิธี
  • โดยลักษณะของสาวพรหมจารีต้องมีคุณสมบัติ 5 อย่าง ได้แก่

1. ไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์
2. ไม่อยู่ในช่วงมีรอบเดือน
3. เป็นหญิงสาวที่ไม่ใช่เด็ก (หญิงสาวที่เคยมีประจำเดือนแล้ว) อายุไม่เกินช่วงวัยเบญจเพส
4. เป็นหญิงสาวที่อยู่ในศีลในธรรม
5. เป็นหญิงหม้ายที่ถือพรหมจรรย์

ร่วมพิสูจน์ ความเชื่อโบราณ “ปักตะไคร้ไล่ฝน” มีความเชื่อว่าอย่างไรบ้าง

คาถาปักตะไคร้

ช่วงพิธีกรรมในข้อนี้ คือ ผู้จัดงาน จะพาหญิง สาวพรหมจารี ไปบริเวณที่หมาะสม เพื่อ ปักตะไคร้ แล้วท่องคาถา ดังต่อไปนี้

 

ตั้ง นะโม 3 จบ

กล่าวตั้งจิตอธิษฐาน “อากาเสจะ พุทธทีปังกะโร นะโมพุทธายะ

ข้าพเจ้า และคณะผู้จัดงาน (กล่าววัตถุประสงค์จัดงาน) ขอเทพยดาและพระภูมิเจ้าที่ ช่วยสนับสนุนค้ำจุน ให้ (วันที่) ไม่มีฝนตกใน (สถานที่) และขอให้สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการรองรับแขกเหรื่อที่มาร่วมงานด้วยเทอญ.

หลังจากกล่าวเสร็จแล้ว ให้ยกต้นตะไคร้ขึ้น และกล่าว “ขอบารมีคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทวดาอารักษ์ ได้โปรดดลบันดาลให้ฝนไม่ตก ให้ท้องฟ้าเปิดสว่างไสว ให้ฝนไปตกที่อื่นตามคำขอด้วยเทอญ” 

อย่างไรก็ตามความเชื่อ ปักตะไคร้ไล่ฝน นั้นเป็นความเชื่อส่วนบุคคล ไม่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้ แต่ถ้าให้ดีควรจะเช็คข้อมูลจากพยากรณ์กรมอุตุฯ ไว้ดีที่สุด