ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง ต่างกันอย่างไงแล้วกินได้ไหม

11 มีนาคม 2565

หลายคนอาจจะสงสัยหรือเกิดคำถามว่าจริงๆแล้วตะไคร้หอมและตะไคร้แกงมีความแตกต่างกันอย่างไร และตะไคร้หอมสามารถรับประทานได้หรือไม่

เรียกได้ว่าหลายคนอาจจะสงสัยหรือเกิดคำถามว่าจริงๆแล้วตะไคร้หอมและตะไคร้แกงมีความแตกต่างกันอย่างไร และตะไคร้หอมสามารถรับประทานได้หรือไม่เพราะเห็นจากหลายๆที่นำตะไคร้หอมมาทำเป็นเครื่องหอมและยากันยุง วันนี้ทางทีมงานสวนกระแสจึงนำข้อมูลดีๆมาฝากเกี่ยวกับคำถามที่หลายคนสงสัยกัน

 

ตะไคร้หอมเป็นพรรณพืชที่มีถิ่นกำเนิดในบริเวณเขตร้อนของทวีปเอเชีย  ซึ่งน่าจะอยู่ในบริเวณภูมิภาคเอเชียใต้ และ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น  อินเดีย  ศรีลังกา  พม่า  ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย  เป็นต้น  ส่วนในปัจจุบันได้มีการแพร่กระจายพันธุ์ไปยังเขตร้อนต่างๆทั่วโลก  และสำหรับในประเทศไทย สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ แต่จะพบได้น้อยกว่าตะไคร้แกง 

ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง ต่างกันอย่างไงแล้วกินได้ไหม

 ถึงแม้ว่าตะไคร้หอมจะมีลักษณะต่างๆ ค่อนข้างที่จะคล้ายกับตะไคร้แกงแต่ก็นิยมนำมาบริโภคเหมือนตะไคร้แกง ดังนั้น ในการนำมาใช้ประโยชน์ จึงมีแค่นำมาใช้ในการเกษตร และในด้านยาสมุนไพรเท่านั้น โดยการใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรมีการใช้ น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม ฆ่าไข่และป้องกันตัวเต็มวัยของด้วงถั่วเขียว และยังมีการใช้สารสกัดจากตะไคร้หอมกำจัดเพลี้ยที่เข้าทำลายต้นยี่หร่าฝรั่งได้อีกด้วย

ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง ต่างกันอย่างไงแล้วกินได้ไหม
ตะไคร้หอมมีลักษณะต่างๆ เหมือนกับตะไคร้แกงแทบทุกอย่างแต่มีส่วนที่แตกต่างกันคือ ดอกและกลิ่น เท่านั้น  ซึ่งลักษณะโดยทั่วไปของตะไคร้หอมมีดังนี้  ตะไคร้หอมจัดเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี มีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดินและมีลำต้นเทียมโผล่ขึ้นมาจากเหง้า มีลักษณะเป็นข้อปล้อง รูปทรงกระบอก ผิวเรียบ มีสีม่วงปนแดงและมีกลิ่นหอมฉุนแตกต่างจากตะไคร้แกง โดยจะออกเป็นกอ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานปลายแหลม ใบยาวสากและใบโคนแผ่ออกเป็นกาบ มีขนขึ้นตรงบริเวณโคนใบต่อกับกาบ ใบมีสีเขียว กว้างประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร ยาว 60-120 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ ยาวประมาณ 1 เมตร แทงออกจากกลางต้น ดอกมีสีน้ำตาลอมแดง โดยช่อดอกเป็นแบบกระจับออกที่ปลายยอดของก้านดอก แยกเป็นหลายแขนง แต่ละแขนงมี 4-5 ช่อ และมีดอกย่อยจำนวนมาก 

ตะไคร้หอม ตะไคร้แกง ต่างกันอย่างไงแล้วกินได้ไหม

ข้อแนะนำและข้อควรระวัง
1. สตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทานตะไคร้หอมทั้งในรูปแบบยาสมุนไพรแบบเดี่ยว หรือ ยาตำรับต่างๆ ที่มีตะไคร้หอมผสมอยู่เพราะมีฤทธิ์บีบมดลูกและอาจทำให้แท้งบุตรได้
2. ในการใช้ตะไคร้หอมในรูปแบบสเปรย์หรือโลชั่นทากันยุง ไม่ควรทาบริเวณใบหน้าหรือผิวหนังที่อ่อน และไม่ควรใช้กับทารกหรือเด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ
3. ในการใช้ตะไคร้หอมเป็นสมุนไพรควรระมัดระวังในการใช้ เช่นเดียวกันกับสมุนไพรชนิดอื่น โดยไม่ใช้ในปริมาณที่มากจนเกินไปควรใช้ในปริมาณที่ตำรับตำรายาต่างๆ ระบุไว้และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ เด็ก ผู้ป่วยเรื้อรัง รวมถึงผู้ที่ต้องรับประทานยาต่อเนื่องควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ