เปิดประวัติ ประเพณีรับบัว โยนบัว ของชาวสมุทรปราการ

01 ตุลาคม 2565

ประเพณีรับบัว ประเพณีโยนบัว เป็นของภาคอะไร มีประวัติและความเป็นมาอย่างไร รวมไปถึง มีความสำคัญอย่างไรในประเพณีรับบัว

ประเพณีรับบัว หรือ ประเพณีโยนบัว เป็นประเพณีของชาว สมุทรปราการ ที่สืบทอดประเพณีมากว่า 80 ปีแล้ว โดยจะจัดขึ้นในช่วง ใกล้ออกพรรษาของทุกปี วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 และรุ่ง วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 โดยในปีนี้ 2565 จะมีการ จัดงานประเพณีรับบัวบางพลี ในช่วงวันที่ 4 - 11 ตุลาคม 2565 โดยวันที่ 9 ตุลาคม เป็น วันโยนบัว ไปทำความรู้จักประเพณี รับบัว โยนบัว กันค่ะว่ามีประวัติตำนานอย่างไรบ้าง

รับบัว โยนบัว 2565 เปิดประวัติ ประเพณีรับบัว โยนบัว ของชาวสมุทรปราการ

ประเพณีรับบัว วัดบางพลีใหญ่ สมุทรปราการ

ประเพณีรับบัว ประเพณีโบราณของชาวบางพลี ประเพณีรับบัวนี้จะจัดขึ้นใน วันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 และรุ่ง  วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 โดยจะมีการอัญเชิญ หลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ องค์จำลอง มาลงเรือและตกแต่งอย่างสวยงามด้วยดอกไม้ และล่องเรือไปตามลำคลอง คลองบางพลีเพื่อให้ชาวบ้านได้สักการะ องค์หลวงพ่อโต 

หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ เปิดประวัติ ประเพณีรับบัว โยนบัว ของชาวสมุทรปราการ

ประวัติประเพณีรับบัว โยนบัว

ประเพณีรับบัว โยนบัว ของชาวบางพลี สมุทรปราการ มีอายุมากว่า 80 ปีแล้ว เป็นประเพณีโบราณที่ปฏิบัตสืบทอดกันมา โดยมี ตำนาน ว่า หลวงพ่อโตลอยตามน้ำเจ้าพระยา มาหยุดที่ปากคลองสำโรงลอยอยู่แถวๆ นั้น เป็นการแสดงเจตจำนงอันแน่วแน่ว่าจะจำพรรษาอยู่ละแวกนั้นอย่างแน่นอน ชาวบ้านจึงช่วยกันชักรั้งนิมนต์เข้ามาจนถึง วัดบางพลีใหญ่ใน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานปัจจุบัน แล้วอัญเชิญขึ้นไว้ในโบสถ์ หลวงพ่อโต จึงเป็นหลวงพ่อของชาวบางพลีตั้งแต่นั้นมา

หลังจากนั้นทุก ๆ ปี ชาวบางพลีจะนิมนต์หลวงพ่อขึ้นเรือ แล่นไปให้ชาวบ้านได้นมัสการ โดยครั้งแรกทำเป็นรูปจำลองโดยเอาไม้ไผ่มาสานเป็นโครงรูปองค์พระพุทธรูป ปิดหุ้มด้วยกระดาษทอง ชาวบ้านจะพากันคอยนมัสการหลวงพ่ออยู่ริมคลอง ต่างก็จะเด็ดดอกบัวริมน้ำ แล้วโยนเบา ๆ ขึ้นไปบนเรือหลวงพ่อ

การรับบัวโยนนี้แต่เดิมคงเล่นกันมาก่อนที่จะกลายเป็น ประเพณีนมัสการหลวงพ่อโต เพราะตามคำเล่าต่อ ๆ กันมาเล่าว่า ในสมัยก่อนท้องที่อำเภอบางพลี เป็นแหล่งที่มีดอกบัวหลวงชุกชุมและมีมากในฤดูฝน ดังนั้น การบำเพ็ญกุศลในเทศกาลออกพรรษา ประชาชาชนต่างท้องที่ที่อยู่ใกล้เคียงกับอำเภอเมืองบางพลี โดยเฉพาะชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการกับชาวอำเภอพระประแดง จึงพากันไปหาดอกบัวหลวงในท้องที่อำเภอบางพลี

ในสมัยแรก ๆ คงจะไปเที่ยวเก็บกันเองตามลำคลองหนองบึงต่าง ๆ แต่ในสมัยต่อมา ชาวบางพลีได้เก็บหรือจัดเตรียมดอกบัวหลวงไว้สำหรับแจกชาวต่างบ้านที่ต้องการโดยไม่คิดมูลค่าเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่กันหรือเพื่อหวังบุญกุศลร่วมกัน อันกลายมาเป็นประเพณีที่เรียกว่า “รับบัว

เปิดประวัติ ประเพณีรับบัว โยนบัว ของชาวสมุทรปราการ

แต่ปัจจุบันนี้ชาวต่างท้องที่ดูจะไม่สนใจที่จะไปหาดอกบัวหลวงที่ท้อง อำเภอบางพลีเหมือนสมัยก่อน ทางราชการอำเภอบางพลีก็คงจัดให้มีการรับบัวขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมประเพณีดั้งเดิมให้คงอยู่ต่อไป

ในสมัยก่อนนั้นในแถบอำเภอบางพลี มีประชาชนอยู่อาศัยเป็น 3 พวก คือ คนไทย รามัญ และคนลาว แต่ละพวกก็มีหัวหน้าควบคุมดูแล และทำมาหากินต่างกัน ต่อมาทั้ง 3 กลุ่มได้ปรึกษาที่จะร่วมแรงร่วมใจกันหักร้างถางพงให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อทำไร่และทำสวนต่อ และเมื่อถางป่ามาถึงทาง 3 แยก ซึ่งตกลงกันจะแยกทำมาหากินไปคนละทาง

พวกรามัญที่แยกกันไปทำมาหากินทางคลองลาดกระบังทำอยู่ได้ 2-3 ปี ก็ไม่ได้ผล เพราะนกและหนูชุกชุมรบกวน จนพืชผลเสียหายมาก เมื่อทำมาหากินไม่ได้ผล พวกรามัญก็ปรึกษากันเตรียมตัวอพยพกลับถิ่นเดิมคือปากลัด และเริ่มอพยพในตอนเช้ามืดของเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ก่อนไปได้เก็บดอกบัวในบึงบริเวณนั้นไปมากมาย คนไทยที่คุ้นกับพวกรามัญก็บอกว่าจะเอาไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด และชักชวนคนไทยที่รักและสนิทชิดชอบกันว่าในปีต่อไป พอถึงเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ให้คนไทยเก็บดอกบัวรวบรวมไว้ที่ วัดหลวงพ่อโต ด้วยแล้วพวกตนจะมารับ

ในปีต่อมา พอถึงกำหนดเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ คนไทยก็ช่วยกันเก็บดอกบัว รวบรวมไว้ที่บางพลีใหญ่ในตามคำขอร้องของพวกรามัญ พวกรามัญก็มารับดอกบัวไปทุกปี

รับบัว ภาคอะไร โยนบัว ภาคอะไร โยนบัว รับบัว วัดบางพลีใหญ่ ประเพณีรับบัว ประเพณีโยนบัว

พวกรามัญที่มา รับดอกบัว นั้นมาโดยเรือขนาดใหญ่จุคน 50-60 คน โดยจะมาถึงตี 3-4 และเมื่อมาถึงวัดก็ตีฆ้องร้องรำทำเพลงและการละเล่นต่าง ๆ อย่างสนุกสนาน พวกที่มาคอยรับพลอยเล่นกันสนุกสนานไปด้วย และคนไทยจึงได้เตรียมอาหารคาวหวานไปเลี้ยงรับรองโดยใช้ศาลาวัดเป็นที่เลี้ยงอาหารกัน เมื่ออิ่มหนำสำราญดีแล้วพวกรามัญนำดอกบัวไป บูชาหลวงพ่อโต และนำน้ำมนต์ของหลวงพ่อกลับไปเพื่อเป็นสิริมงคล ส่วนดอกบัวที่เหลือพวกรามัญก็นำกลับไปบูชาพระคาถาพัน ที่วัดของตนต่อไป นี่เป็นที่มาของ ประเพณีรับบัว ที่รับรู้และปฏิบัติสืบต่อกันมา

สำหรับประชาชนทั่วไป ทั้งชาวต่างบ้านและชาวบางพลีเองก็จะไปเที่ยวดูงาน โยนบัว และรับบัว และเที่ยวดูการละเล่น หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทางอำเภอจัดขึ้น เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลินเท่านั้น พอถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปีชาวอำเภอเมืองสมุทรปราการและชาวอำเภอพระประแดงจะชักชวนพวกพ้องเพื่อนฝูงพากันลงเรือเป็นเรือพายบ้าง เรือแจวบ้าง ลำเล็กบ้าง ลำใหญ่บ้าง และต่างก็นำเครื่องดนตรีต่าง ๆ ไปด้วย เช่น ซอ ปี่กระจับ โทน รำมะนา โหม่ง กรับ ฉิ่งฉาบ เป็นต้น แล้วแต่ใครจะถนัด หรือมีเครื่องดนตรีชนิดไหน พายกันไป แจวกันไป ร้องรำทำเพลงกันไป เป็นที่สนุกสนาน ตลอดระยะทาง และเป็นเช่นนี้ตลอดคืน ซึ่งบางพวกจะผ่านมาทางลำแม่น้ำเจ้าพระยา บางพวกจะผ่านมาทางลำคลองอื่น ๆ เข้าคลองสำโรงและมุ่งไปยังหมู่บ้านบางพลีใหญ่

งานโยนบัว งานรับบัว 2565 วัดหลวงพ่อโต บางพลี เปิดประวัติ ประเพณีรับบัว โยนบัว ของชาวสมุทรปราการ

สำหรับชาวบางพลีก็จะถือปฏิบัติกันเป็นประเพณีว่าเมื่อถึงวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ก็จะต้องหาดอกบัวหลวง สำหรับไว้มอบให้แก่ชาวต่างบ้านที่ต้องการมิตรต่างบ้านมาเยือนในโอกาสเช่นนั้นก็แสดงมิตรจิตต้อนรับ จัดหาสุราอาหารมาเลี้ยงดูกัน ตั้งแต่ตอนค่ำของวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ส่วนพวกที่มารับบัว คนใดที่รู้จักมักคุ้นกับชาวบางพลีผู้เป็นเจ้าของบ้าน ก็จะพากันขึ้นไปเยี่ยมเยือนบ้านนั้นบ้านนี้

ชาวต่างบ้านก็จะนำเรือของตนไปตามลำ คลองสำโรง และไปขอรับบัวจากชาวบ้านบางพลีทั้งสองฝั่งคลอง การให้และรับดอกบัวก็จะกระทำอย่างสุภาพคือส่งและรับกันมือต่อมือหรือก่อนจะให้กันยกมือพนมอธิษฐานเสียก่อน ระหว่างชาวบ้านบางพลีกับชาวบ้านต่างที่สนิทสนมคุ้นเคยกันนี้เอง เมื่อนานเข้าก็ค่อยกลายเป็นความนิยมกันเป็นการทั่วไปการให้และรับกันแบบมือต่อมือจึงเปลี่ยนไปจนมีการนำมาพูดในตอนหลังว่า “โยนบัว” แทนคำว่า “รับบัว

รับบัว2565 โยนบัว2565 เปิดประวัติ ประเพณีรับบัว โยนบัว ของชาวสมุทรปราการ

ดอกบัวที่ชาวต่างบ้านได้รับจากชาวบางพลีนั้นก็จะนำไปบูชาพระใน วันเทศกาลออกพรรษา ตามวัดในหมู่บ้านของตน ส่วนใหญ่จะนำไปบูชาพระสมุทรเจดีย์ที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอเมืองสมุทรปราการ

ขอบคุณ : ประเพณีรับบัว , ประเพณีรับบัว วัดบางพลีใหญ่ใน