เทคนิคเพิ่มผลผลิตให้มันสำปะหลัง ปลูกให้ได้น้ำหนักและแป้งสูง

09 มกราคม 2566

แนะนำเทคนิคและวิธีดูการแลมันสำปะหลัง ปลูกมันสำปะหลังและดูแลอย่างไรให้ได้ผลผลิตงอกงาม ผลผลิตดี ขายได้ราคา


   มันสำปะหลัง เป็นพืชที่ปลูกง่าย และเหมาะสภาพอากาศของประเทศไทยเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีอากาศร้อน จึงทำให้มันสำปะหลังสามารถเจริญติบโตได้ดี ดังนั้นจึงทำให้มันชนิดนี้เป็นพืชที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศไทย เพราะมีความต้องการมากในหลายอุตสาหกรรมเช่น อุตสาหกรรมกาว เเละ พลังงานเอทานอล นอกจากนี้ยังสามารถนำมาทำเป็นสารแต่งรส อาหารสัตว์ และอาหารคาวหวาน วันนี้ ไทยนิวส์ออนไลน์ จะมาแนะนำวิธีการปลูกอย่างไรให้ได้ผลผลิตดี


การเตรียมท่อนพันธุ์ 
            ต้องใช้ท่อนพันธุ์มันที่สด อายุ 10-12 เดือนและ ตัดทิ้งไว้ไม่เกินประมาณ 15 วัน โดยติดให้มีความยาวประมาณ 20 ซม. มีตาไม่น้อยกว่า 5 ตาเพื่อป้องกันเชื้อราและแมลง ควรจุ่มท่อนพันธุ์ในยาแคปแทน 160 กรัม ผสมร่วมกับมาลาไธออน 20 cc ในน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 5 นาที ก่อนปลูก

การเตรียมดินที่ใช้ปลูก
หากดินที่ทำการเพาะปลูกมันติดต่อกันหลายปี ควรปรับปรุงดิน เพื่อรักษาระดับผลผลิตในระยะยาว ด้วยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักเปลือกมันชนิดเก่าค้างปีที่หาได้ในท้องถิ่น หรือ ปลูกพืชตระกูลถั่วต่าง ๆ หมุนเวียนบำรุงดิน ในกรณีที่พื้นที่ประเภทหญ้าคา ควรใช้ยาราวด์อัพหรือเครือเถาต่าง ๆ

 

ควรใช้ยาสตาร์เรน ฉีดพ่นยาจำกัดเสียก่อนการไถ จากนั้นไถครั้งแรกโดยไถกลบวัชพืชก่อนปลูกด้วยผาน 3 ให้ลึกประมาณ 20-30 ซม. แล้วทิ้งระยะไว้ประมาณ 20-30 วัน เพื่อหมักวัชพืชเป็นปุ๋ยในดินต่อไป ไถพรวนด้วยผาน 7 อีก 1-2 ครั้ง ตามความเหมาะสม และรีบปลูกโดยเร็ว ในขณะที่ดินยังมีความชื้นอยู่

เทคนิคเพิ่มผลผลิตให้มันสำปะหลัง ปลูกให้ได้น้ำหนักและแป้งสูง

นอกเหนือจากการปรับปรุงบำรุงดิน ร่วมกับการอนุรักษ์ดินให้ดีแล้ว การจัดการดูแลที่ดี จะต้องเริ่มตั้งแต่ ฤดูการปลูกที่เหมาะสม การเตรียมดินดี การเตรียมท่อนพันธุ์ปลูก ระยะปลูกที่เหมาะสม ตลอดจนการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสม การกำจัดวัชพืช เป็นปัจจัยที่จะทำให้ผลผลิตสูงขึ้น โดยเฉพาะการเอาใจใส่ในการเตรียมท่อนพันธุ์ จะมีผลทำให้อัตราความอยู่รอดของมันสำปะหลังสูงขึ้น ต้องคัดเลือกใช้ต้นพันธุ์ (ท่อนพันธุ์) ที่สมบูรณ์


เทคนิคการเพิ่มผลผลิตให้มันสำปะหลัง
นับเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอันดับแรก เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่น ๆ เนื่องจาก มีผลต่อความงอกและจำนวนต้นอยู่รอดจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับผลผลิต รวมทั้งต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ซึ่งมีข้อแนะนำ ดังนี้

เทคนิคเพิ่มผลผลิตให้มันสำปะหลัง ปลูกให้ได้น้ำหนักและแป้งสูง
-ต้องใช้ต้นพันธุ์ที่มีอายุ 8 – 14 เดือน โดยสังเกตได้จากสีของลำต้นที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นสีเข้ม เมื่ออายุมากขึ้น และไม่มีโรคแมลงติดมา

-ต้องเก็บรักษาต้นพันธุ์ให้ดี หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรรีบนำต้นพันธุ์ไปปลูกทันที ถ้าจำเป็นต้องเก็บรักษาต้นไว้ทำพันธุ์ต่อไป สามารถทำได้โดย ตั้งกองพันธุ์ไว้กลางแจ้งในแนวตั้ง ให้ส่วนของโคนสัมผัสกับพื้นดิน หรือใช้ดินกลบโคน และกองไม่ใหญ่เกินไป เพื่อให้อากาศถ่ายเท

 

ซึ่งวิธีการดังกล่าวนี้ จะสามารถรักษาสภาพต้นได้ประมาณ 15 – 30 วัน หรือนานถึง 2 เดือน แต่ถ้าเก็บไว้นานต้นจะแห้งจากส่วนปลายลงมา และตาจะแตกทำให้ได้จำนวนท่อนที่สมบูรณ์น้อยลง ต้องใช้ส่วนกลางของลำต้น ควรเป็นส่วนกลางและโคนต้นที่ไม่อ่อน หรือแก่จนเกินไป


ต้องตัดท่อนที่มีความยาวที่เหมาะสม ในช่วงต้นฤดูฝน ควรใช้ท่อนพันธุ์ขนาด 20 ซม. และช่วงปลายฝน ควรใช้ท่อนพันธุ์ขนาด 25 – 30 ซม. (ควรมีตาอย่างน้อยประมาณ 5 – 7 ตา) ส่วนการสับ ท่อนพันธุ์ควรสับให้เฉียงเล็กน้อย และหลีกเหลี่ยงไม่ให้ตาบนท่อนพันธุ์ช้ำ หรือถูกกระทบกระเทือน

วิธีการปลูกที่เหมาะสม ควรปลูกแบบปักตรงหรือเอียงเล็กน้อย เป็นวิธีที่ให้ผลผลิตสูง ความลึกในการปักท่อนพันธุ์ลงในดินประมาณ 8 – 10 ซม. แต่ไม่ควรปักลึกมาก และควรมีการตรวจสอบความงอกหลังปลูกเพื่อทำการปลูกซ่อมได้ทันเวลา

การกำจัดวัชพืชและการใส่ปุ๋ย
กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 1 ประมาณ 30-45 วัน หลังการปลูก โดยใช้รถไถเล็กเดินตาม หรือ จานพรวนกำจัดวัชพืช ติดท้ายรถแทรกเตอร์ พร้อมทั้งใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 25-50 กก./ไร่ ห่างจากต้นมัน 1 คืบ (20 ซม.) จากนั้นใช้จอบกำจัดวัชพืชส่วนที่เหลือ พร้อมกับกลบปุ๋ยไปด้วย หรือใส่ปุ๋ยโดยการขุดหลุม ห่างจากโคนต้น 1 คืบ

 

แล้วกลบดินตามก็ได้ ข้อสำคัญควรใส่ปุ๋ยขณะที่ดินมีความชื้นอยู่ กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 2 ประมาณ 60-70 วัน หลังการปลูก โดยปฏิบัติเช่นเดียวกันกับครั้งแรก กำจัดวัชพืช ครั้งที่ 3 ตามความจำเป็น โดยใช้จอบถาก หรือฉีดพ่นด้วยยากรัมม๊อกโซน (ควรใช้ฝากครอบหัวฉีด เพื่อป้องกันไม่ให้ยาโดนตาและลำต้นมัน)

การเก็บเกี่ยว
ทำการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังในช่วงอายุที่เหมาะสม คือ ประมาณ 10-12 เดือน พร้อมทั้ง วางแผนการเตรียมท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง เพื่อการปลูกในคราวต่อไปส่วนของต้นมันสำปะหลังที่ไม่ใช้ เช่น ใบ กิ่ง ก้าน หรือ ลำต้น ควรสับทิ้งไว้ในแปลง เพื่อให้เป็นปุ๋ยพืชสดในดินต่อไป
 

สนับสนุนโดย : ปุ๋ยมงกุฎ

เทคนิคเพิ่มผลผลิตให้มันสำปะหลัง ปลูกให้ได้น้ำหนักและแป้งสูง