ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 ต้นเตี้ย ให้ผลผลิตสูง ปลูกได้ตลอดปี

ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 ที่ได้มาจากการผสมพันธุ์และคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสม ได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง ปลูกได้ตลอดปีต้านทานต่อโรคแมลง
วันนี้ทีมงานไทยนิวส์จะพามารู้จักกับ ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง 1 ที่ได้มาจากการผสมพันธุ์และคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมแบบสืบตระกูล ระหว่างนางมล เอส 4 พันธุ์แม่ และไออาร์ 841-85-1-1-2 พันธุ์ข้าวหอมต้นเตี้ย ที่สถานีทดลองข้าวคลองหลวง ปี พ.ศ.2527-2532 ปลูกข้าวพันธุ์ผสมชั่วที่ 1 ถึงชั่วที่ 8 ปีพ.ศ.2533-2540 ศึกษาพันธุ์เปรียบเทียบผลผลิตตามขั้นตอนของกรมวิชาการเกษตร ได้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพการหุงต้มและทางเคมีคล้ายข้าวขาวดอกมะลิ 105
ลักษณะประจำพันธุ์
- ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง
- อายุเก็บเกี่ยวเมื่อปลูกแบบปักดำ ประมาณ 118-125 วัน
- ต้นสูงประมาณ 110 เซนติเมตร ทรงกอตั้ง ลำต้นแข็ง ไม่ล้มง่าย
- ใบและกาบใบสีเขียว ใบมีขน ใบธงตั้งตรง ช่วงเก็บเกี่ยวใบแก่ช้ารวงยาวค่อนข้างแน่น ระแง้ถี่
- คอรวงค่อนข้างยาว
- ข้าวเปลือกสีฟาง
- มีขนสั้นบนเปลือกเมล็ด
- รูปร่างข้าวกล้องยาวเรียว ยาว 7.85 มิลลิเมตร กว้าง 2.32 มิลลิเมตร หนา 1.81 มิลลิเมตร
- น้ำหนักข้าวเปลือก 100 เมล็ด 3.19 กรัม
- ปริมาณอมิโลส 16.5-18.4 เปอร์เซ็นต์
- ข้าวสุกนุ่ม
- ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 5-6 สัปดาห์
ลักษณะเด่น
- ต้นเตี้ย ไม่ล้ม
- ให้ผลผลิตประมาณ 650 กิโลกรัมต่อไร่ สูงกว่าขาวดอกมะลิ 105 ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์
- เป็นข้าวเจ้าหอมมีคุณภาพเมล็ดทางเคมีและการหุงต้มคล้ายข้าวขาวดอกมะลิ 105
- ปลูกได้ตลอดปี
- ต้านทานต่อโรคแมลง ได้แก่ โรคไหม้ โรคขอบใบแห้ง และเพลี้ยกระโดดหลังขาวดีกว่าข้าวขาวดอกมะลิ 105
- อายุสั้นมีผลดีต่อการลดต้นทุนในการดูแลรักษา
พื้นที่แนะนำ
พื้นที่นาชลประทานภาคกลางทั้งฤดูนาปรังและฤดูนาปี
ข้อควรระวัง
ค่อนข้างไม่ต้านท้านต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเพลี้ยจักจั่นสีเขียว ซึ่งเป็นพาหะของโรคใบหงิกและโรคใบสีส้ม ตามลำดับ
สนับสนุนโดย : ปุ๋ยมงกุฎ

เปิดยอดคนที่ ติด "โควิด19" ล่าสุด หลังมีการระบาดรอบใหม่

รู้จัก โควิด19 “XEC” สายพันธุ์ใหม่ ระบาดไวกว่าเดิม 100 เปอร์เซ็นต์

โหรดังเคาะ 3 ราศี ดวงแกร่งได้งานใหญ่ รับโชคลาภแบบไม่คาดคิด

พนักงานแฉ คลินิกชื่อดัง ขวดโบท็อกซ์แตก ไม่ทิ้งเก็บฉีดให้ลูกค้า
