ทานตะวัน พืชรองมากประโยชน์ เสริมรายได้แก่เกษตรกร

05 สิงหาคม 2565

ทานตะวัน ไม้ดอกปลูกง่าย มากประโยชน์ สามารถปลูกเสริมรายได้แก่เกษตรกรเป็นอย่างดี รวมทั้งได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวอย่าง

การปลูกทานตะวันส่วนใหญ่จะปลูกเป็นพืชรองหรือพืชเสริมรายได้แก่เกษตรกร โดยผลผลิตจะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันพืช แต่ช่วงที่ดอกทานตะวันบานไปทั่วทั้งทุ่ง กลับกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ยังคงได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง

”ทานตะวัน” เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งพันธุ์ไม้ที่ได้รับความนิยมเป็นระยะเวลานานมาก ซึ่งการปลูกทานตะวันส่วนใหญ่จะปลูกเป็นพืชรองหรือพืชเสริมรายได้แก่เกษตรกร โดยผลผลิตจะนำไปใช้ในอุตสาหกรรมผลิตน้ำมันพืช แต่ช่วงที่ดอกทานตะวันบานไปทั่วทั้งทุ่ง กลับกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ยังคงได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง

ทานตะวัน พืชรองมากประโยชน์  เสริมรายได้แก่เกษตรกร

ทานตะวัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.ประเภทให้น้ำมันจะมีเมล็ดสีดำ มีปริมาณน้ำมันสูงกากเป็นอาหารสัตว์ และยังสามารถใช้เป็นอาหารนกได้อีกด้วย

2.ประเภทใช้เป็นอาหารว่าง หรือทำขนมหวาน เมล็ดมีสีลายขาวดำโตกว่า พวกแรกเปลือกหนาไม่ติดกับเนื้อในเมล็ด เพื่อสะดวกในการกะเทาะแล้วใช้เนื้อ ในรับประทานเป็นอาหารว่าง เช่น เดียวกับเมล็ดของแตงโม

พันธุ์ของทานตะวัน

1.สายพันธุ์ผสมเปิด ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ปลูกกันมานานแล้ว ซึ่งในดอกจะมี จำนวนเรณูที่ติดอยู่กับก้านชูเกสรตัวเมียน้อย ทำให้เกิดการติดเมล็ดด้วยการผสมตัว เองต่ำ ต้องอาศัยแมลงช่วยในการผสมเกสร

2.สายพันธุ์ลูกผสม ปัจจุบันมีพันธุ์ลูกผสมที่สามารถติดเมล็ดได้ดีโดยไม่ ต้องอาศัยแมลงช่วยผสมเกสรเพราะในดอกมีละอองเรณูที่ก้านชูเกสรตัวเมียมาก กว่าพันธุ์ผสมเปิด 3-4 เท่าจึงทำให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองดีกว่าพันธุ์ผสม เปิด นอกจากนี้ลูกพันธุ์ผสมมีลักษณะของจานดอกค่อนข้างใหญ่กลีบดอกสีเหลือง สดใส ให้ปริมาณน้ำมันสูง

3.สายพันธุ์สังเคราะห์ทานตะวันสายพันธุ์สังเคราะห์กำลังดำเนินการวิจัย โดยกรมวิชาการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

ระยะการเจริญเติบโตของทานตะวัน

1.ระยะสร้างใบ นับจากเริ่มงอกจนถึงใบจริง4คู่ระยะนี้ต้องการสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสมเพื่อให้มีการสังเคราะห์แสงได้เต็มที่

2.ระยะเริ่มออกดอกเริ่มจากใบจริงครบ 8คู่ระยะนี้หานทานตะวันได้รับ อุณหภูมิและความชื้นเหมาะสมจะทำให้มีเมล็ดต่อจานดอกมากที่สุด

3.ระยะสร้างตาดอกเริ่มจากใบ 9คู่จนกระทั่งติดดอกถ้าสิงแวดล้อมไม่ เหมาะสมก็จะเกิดเมล็ดลีบบริเวณกลางดอก

4.ระยะดอกบาน ระยะนี้ต้องการความชื้นและแร่ธาตุอาหารมากที่สุด เป็น ระยะที่มีการเจริญเติบของลำต้นอย่างเต็มที่

5.ระยะสร้างเมล็ดถึงระยะสิ้นสุดการเจริญเติบโต เริ่มจากมีการถ่ายละอองเ กสรสิ้นสุดเมื่อเมล็ดเจริญเติบโตเต็มที่มีการสร้างน้ำมันอย่างช้าๆ ระยะนี้พวกพันธุ์ เบาจะกินเวลา 14 วัน และ 16 วัน สำหรับพันธุ์หนักหากได้รับสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมก็จะได้เมล็ดที่สมบูรณ์ที่มีขนาดใหญ่และอัตราการสังเคราะห์น้ำมัน ค่อยๆ ลดลงจนถึงทานตะวันแก่เต็มที่

6.ระยะเก็บเกี่ยวจากระยะสร้างเมล็ดถึงระยะเก็บเกี่ยว หลังจากการสร้าง น้ำมันแล้วก็จะมีการเพิ่มขนาดและน้ำมันของเมล็ด อัตราการสร้างของน้ำมันค่อยๆ ลดลงจนถึงทานตะวันแก่เต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว

วิธีการปลูกดอกทานตะวัน

การเตรียมแปลง

  1. ไถตากดินลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ตากดินไว้ประมาณ 7-10 วัน
  2. หว่านปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ให้ทั่วแปลงเพื่อปรับสภาพดิน อัตรา 500-1,000 กก./ไร่
  3. ใส่ปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก อัตรา 1,000-1,500 กก./ไร่
  4. ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 รองพื้นอัตรา 25 กก./ไร่

ทานตะวัน พืชรองมากประโยชน์  เสริมรายได้แก่เกษตรกร

การเพาะเมล็ด

  1. เตรียมวัสดุเพาะกล้าใส่ถาดหลุม หยอดเมล็ดลงหลุมโดยหยอด หลุมละ 1 เมล็ด (ควรใช้พีทมอสสำหรับเพาะกล้าโดยเฉพาะ)

การย้ายกล้าปลูก

  1. เมื่อต้นกล้ามีอายุ 10-12 วัน หรือต้นกล้าเมื่อมีใบจริง 2 คู่ สามารถย้ายปลูกลงแปลงปลูกได้ โดยใช้ระยะปลูกหว่างแถว 70 เซนติเมตร ระหว่างต้น 40 เซนติเมตร
  • ก่อนย้ายปลูกควรงดการรดน้ำต้นกล้า เพื่อให้ดินปลูกเกาะรากต้นกล้าได้ดีขึ้น และตุ้มไม่แตกเมื่อย้ายลงแปลงปลูก โดยก่อนย้ายปลูกเราควรให้น้ำในแปลงปลูกให้ชุ่ม หรือไม่แฉะจนเกินไป

การให้ปุ๋ย

  1. ปุ๋ยสูตร 25-7-7 เริ่มให้หลังย้ายกล้า 7 วัน อัตรา15กรัม/น้ำ20ลิตร ทุกๆ5-7วัน 2-3ครั้ง
  2. ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในระยะก่อนออกดอก อัตรา 60 กรัม/น้ำ20ลิตร ทุกๆ5-7วัน จนกระทั้งดอกบานและต่อเนื่องตลอดอายุการออกดอก

การเก็บเกี่ยว

ประมาณ 95 – 110 วัน กลีบประดับรอบดอกจะเริ่มเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีน้ำตาลให้เก็บเกี่ยวโดยการตัดทั้งดอกนำมาตากแดด ให้แห้ง 1 – 2 แดดก่อน แล้วกระเทาะเมล็ดโดยการนวดด้วยเครื่องนวดถั่วเหลืองหรือถั่วลิสง หรือใช้เครื่องสีข้าวฟ่างก็ได้แล้วแต่ความสะดวก (กรณีไม่มีอุปกรณ์และไม่ต้องการลงทุนเอง ก็สามารถจ้างเขาทำได้) ทำความสะอาดเมล็ดให้ดี เก็บไว้ในยุ้งฉางที่ป้องกันแดด กันฝนและแมลงศัตรูได้ ความชื้นที่จะเก็บเมล็ดไว้ควรมีไม่เกิน 10 %

ทานตะวัน พืชรองมากประโยชน์  เสริมรายได้แก่เกษตรกร