6 โรคหน้าร้อน โรคยอดฮิต รักษา ป้องกัน ปลอดภัย

19 เมษายน 2566

โรคยอดฮิตที่มากับฤดูร้อน เมืองไทยก้าวเข้าสู่ หน้าร้อน อย่างเต็มระบบในเดือนเมษายน กับ 6 โรคหน้าร้อน โรคยอดฮิต รักษา ป้องกัน ปลอดภัย ไปดูค่ะ

โรคยอดฮิตที่มากับฤดูร้อน เป็นที่ทราบกันดีค่ะว่า เดือนเมษายนของประเทศไทย เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดของปี และสภาพอากาศที่ร้อนระอุ มักสร้างความร้อนให้กับร่างกายได้เจ็บไข้ได้ป่วย และเพื่อให้รู้เท่าทัน 6 โรคหน้าร้อน โรคยอดฮิต รักษา ป้องกัน ปลอดภัย 

6 โรคหน้าร้อน โรคยอดฮิต รักษา ป้องกัน ปลอดภัย

6 โรคหน้าร้อน โรคยอดฮิต รักษา ป้องกัน ปลอดภัย ได้แก่...

1. โรคอุจจาระร่วง 

เกิดจากการติดเชื้อหลายประเภททั้งแบคทีเรีย ไวรัส และกลุ่มเชื้อโปโตซัว ที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่มีโอกาสบูดเสียได้ง่ายในอากาศที่ร้อนจัด และเมื่อรวมกับสุขอนามัยที่ไม่สะอาดแล้ว สามารถเกิดการเจ็บป่วยของโรคอุจจาระร่วงในหน้าร้อนนี้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชน เชื้อแบคทีเรียบางชนิดเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องร่วงรุนแรง มีอาการขาดน้ำ สูญเสียเกลือแร่ หากอาการไม่รุนแรงก็สามารถให้การรักษาเบื้องต้นได้เองด้วยผงเกลือแร่ผสมน้ำดื่ม แต่ไม่
แนะนำให้ซื้อยาปฏิชีวนะมาทานเอง ควรปรึกษาแพทย์

2. โรคอาหารเป็นพิษ 

จัดอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งพบได้มากในช่วงหน้าร้อน เกิดจากการทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารพิษที่เกิดจากเชื้อบิด เชื้อสแตปฟิโลคอกคัส และเชื้อบาซิลลัส ซึ่งมักเป็นสารที่ทนต่อความร้อน พบบ่อยในอาหารประเภทไส้กรอก กุนเชียง ข้าวผัดต่าง ๆ ถึงจะกินอาหารที่สุกร้อนแล้ว แต่หากส่วนผสมก่อนนำมาปรุงอาหารเกิดบูดเสียก่อน ก็จะเกิดอาการเป็นพิษได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มีไข้ หรือปวดเมื่อย อ่อนเพลีย จนถึง
ท้องร่วงจากสารพิษที่ทนความร้อน

3. โรคบิด 

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนในอาหารเช่นเดียวกัน ผู้ป่วยจะถ่ายเป็นมูกปนเลือดบ่อยครั้ง และรู้สึกเหมือนถ่ายไม่สุด

4. โรคไข้ไทฟอยด์ 

หรือที่รู้จักกันว่า ไข้รากสาดน้อย เชื้อปนเปื้อนมาเหมือนกับโรคอื่น ๆ อาหารส่วนใหญ่ที่มักพบว่าทำให้เกิดโรค ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากนม หอย ไข่ เนื้อสัตว์ น้ำ ผู้ป่วยโรคนี้ สัปดาห์แรกไข้มักไม่สูง อาจมีอาการปวดศีรษะ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีอาการหนาวสั่นได้ ซึมลง

6 โรคหน้าร้อน โรคยอดฮิต รักษา ป้องกัน ปลอดภัย

5. โรคอหิวาตกโรค 

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio Cholerae เข้าสู่ร่างกายโดยทางอาหารและน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน เชื้อจะสร้างพิษออกมาทำปฏิกิริยากับเยื้อบุผนังลำไส้เล็กทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อุจจาระเป็นสีน้ำซาวข้าว ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เสียชีวิตได้ ในฤดูร้อนนี้ควรเลือกทานอาหารและน้ำที่สุกสะอาด อาหารไม่ขูดหรือเสียก่อนนำมาปรุง อาหารที่ต้องการความสด เช่น อาหารทะเล ควรระมัดระวังการปนเปื้อนน้ำยาฟอร์มาลิน หากไม่แน่ใจไม่ควรซื้อมารับประทาน งดเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ทุกประเภท เพราะยิ่งอากาศร้อนมาก การดูดซึมแอลกอฮอล์จะสูง ร่างกายจะสามารถซึมผ่านแอลกอฮอล์เข้าสู่กระแสเลือดได้รวดเร็ว ทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน จนปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูงขึ้น ปัสสาวะบ่อย ขาดน้ำ และน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำได้ หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และดื่มน้ำ 6-8 แก้วต่อวันเพื่อสุขภาพที่ดีต่อไป

6. โรคที่เกิดจากสัตว์เลี้ยง 

เช่น โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ทุกปี โดยมีพาหะหลักจากสุนัข แมว ที่นำเชื้อไวรัสเรบีส์ ซึ่งอาจกัด วน หรือเลียผิวหนังคนมีแผล ที่สำคัญเชื้อไวรัสเรบีส์นี้เมื่อปรากฏอาการของโรค จะเสียชีวิตทุกราย เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเองและคนรอบข้าง และลดความเสี่ยงจากการถูกสุนัขกัด หรือโดนทำร้าย สามารถใช้คาถา 5 ย ได้ดังนี้

  • ย ที่ 1 คือ อย่าแหย่ ให้สุนัขหรือสัตว์ต่างๆโกรธ
  • ย ที่ 2 คือ อย่าเหยียบ หาง หัว ตัว ขา หรือ ทำให้สุนัขหรือสัตว์ตกใจต่าง ๆ ตกใจ
  • ย ที่ 3 คือ อย่าแยก สุนัขหรือสัตว์ต่าง ๆ ที่กำลังกัดกัน ด้วยมือเปล่า
  • ย ที่ 4 คือ อย่าหยิบ จานข้าวหรือเคลื่อนย้ายอาหารขณะที่สุนัขหรือสัตว์ต่าง ๆ กำลังกินอาหาร
  • ย ที่ 5 คือ อย่ายุ่ง หรือ เข้าใกล้สุนัขหรือสัตว์ต่าง ๆ ที่ไม่รู้จักหรือไม่มีเจ้าของ

หากใช้คาถา 5 ย แล้ว แต่ยังถูกสุนัขกัด ต้องปฏิบัตินอย่างถูกต้องโดย ล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ กักสัตว์ไว้ ดูอาการ 10 วัน ไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ถูกต้อง

อย่างไรก็ตามประชาชนควรป้องกันและรักษาสุขภาพ โดยการปฏิบัติตนที่ถูกสุขลักษณะ สำหรับโรคติดต่อทางอาหารและน้ำด้วยการ "กินร้อน  ช้อนกลาง ล้างมือ" และโรคที่มากับสัตว์เลี้ยงควรทำดังนี้ "สุนัขกัด ต้องล้างแผล ใส่ยา
กักหมา หาหมอ ฉีดวัคนต่อจนครบชุด" เพื่อสุขภาพที่ดีและปลอดภัย

6 โรคหน้าร้อน โรคยอดฮิต รักษา ป้องกัน ปลอดภัย

ขอขอบคุณ : สำนักงานประกันสังคม และ กระทรวงสาธารณะสุข