วัดอรุณราชวราราม วัดโบราณสมัยรัตนโกสินทร์

24 กุมภาพันธ์ 2566

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดแจ้ง วัดโบราณ วัดสวยกรุงเทพ อยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา กับประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์

วัดอรุณราชวราราม วันนี้ทีมข่าว Thainews Online จะพาไปทำความรู้จัก วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดแจ้ง วัดติดแม่น้ำเจ้าพระยา วัดสวยกรุงเทพ ที่คุณควรจะมาสักครั้ง และเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วัดโบราณ สมัยรัตนโกสินทร์ จะมีเรื่องอะไรบ้างไปติดตามได้พร้อมกันค่ะ

วัดอรุณราชวราราม วัดโบราณสมัยรัตนโกสินทร์

วัดอรุณราชวราราม วัดโบราณสมัยรัตนโกสินทร์

วัดอรุณฯ นับว่าเป็นศาสนสถานที่สำคัญและทรงคุณค่า งดงามด้วยศิลปะและสถาปัตยกรรมมากมายที่ควรค่าแก่การศึกษา และเที่ยวชมประวัติศาสตร์สมัยรัตนโกสินทร์ 

วัดอรุณราชวราราม ประวัติ

วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้ง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ที่ชื่อวัดแจ้ง เพราะ พระเจ้าตากฯ ทำศึกเสร็จ แล้วยกทัพกลับมาเป็นเวลาเช้าพอดี ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว

เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2321 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในปี พ.ศ. 2327

วัดอรุณราชวราราม วัดโบราณสมัยรัตนโกสินทร์

ใน สมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”

11 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ วัดอรุณราชวราราม วัดโบราณสมัยรัตนโกสินทร์

1. วัดอรุณฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร หมายถึงพระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ ตั้งอยู่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

2. วัดอรุณฯ เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า "วัดมะกอก" แต่เมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระราชประสงค์ย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรี โดยกรีธาทัพมาทางชลมารค และมาถึงหน้าวัดมะกอกเอารุ่งสาง จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดแจ้ง" จวบจนสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 เถลิงถวัลยราชสมบัติ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ พระองค์เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 จึงทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จ โดยพระราชทานนามวัดว่า "วัดอรุณราชวราราม" และกลายเป็นวัดประจำรัชกาลในพระองค์

3. พระปรางค์ใหญ่วัดอรุณฯ ถือได้ว่าเป็นศิลปกรรมที่สง่าและโดดเด่นที่สุด ก่อสร้างโดยช่างฝีมือที่มีความเชี่ยวชาญ บนพระปรางค์ประดับด้วยเครื่องกระเบื้องเคลือบและเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ที่นำเข้ามาจากจีน ซึ่งมีลวดลายงดงามเป็นของเก่าแก่และหายาก โดยได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5

4. บริเวณโดยรอบพระปรางค์ใหญ่วัดอรุณฯ ประกอบด้วยพระปรางค์เล็ก 4 องค์ รอบ 4 ทิศ ภายในมีรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ กำแพงแก้วกั้น มีฐานทักษิณ 3 ชั้น มีรูปปั้นมารและกระบี่แบกฐานสลับกัน นอกจากนั้นมีซุ้ม 4 ซุ้ม มีพระนารายณ์อวตาร เหนือขึ้นไปเป็นยอดปรางค์ มีเทพพนมนรสิงห์เพื่อปราบยักษ์
 
5. ปัจจุบันพระปรางค์วัดอรุณฯ ได้ดำเนินการบูรณะครั้งใหญ่อีกครั้งตั้งแต่ประมาณวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2556 และได้ดำเนินการสำเร็จลุล่วงเป็นที่เรียบร้อย หลังจากที่ประสบปัญหาพระปรางค์ทรุดโทรมอย่างหนักมาโดยตลอด และเตรียมจัดงานสมโภชครั้งยิ่งใหญ่ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ถึง 5 มกราคม พ.ศ. 2561 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ "พระปรางค์วัดอรุณฯ บูรณะเสร็จเรียบร้อย พร้อมจัดพิธีสมโภชอย่างยิ่งใหญ่"
 
6. สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าชมพระปรางค์วัดอรุณฯ ควรแต่งกายอย่างสุภาพ และใช้ความระมัดระวังในการเดิน เพราะบันไดค่อนข้างสูงและชัน และบางช่วงก็ค่อนข้างแคบ รวมถึงไม่ควรสัมผัสหรือทำการใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์พระปรางค์ทั้งสิ้น

7. ซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ จะมียักษ์วัดแจ้งที่มีชื่อเสียงยืนเฝ้าอยู่ ยักษ์กายสีขาว มีชื่อว่า "สหัสเดชะ" ยักษ์กายสีเขียว มีชื่อว่า "ทศกัณฐ์" เป็นยักษ์ศิลปะแบบจีน ปูนปั้นประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี มือถือตะบองใหญ่เป็นอาวุธ ตรงบริเวณหน้าซุ้มทางเข้าพระอุโบสถ แฝงไว้ด้วยคติความเชื่อในการทำหน้าที่เป็นเทพพิทักษ์ ปกปักรักษาสถานที่สำคัญทางศาสนา

8. จุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจอื่น ๆ ในวัดอรุณฯ ได้แก่
 
- พระอุโบสถ ประดิษฐานพระประธานชื่อว่า "พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก" เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานเหนือแท่นไพทีบนฐานชุกชี กล่าวกันว่ารัชกาลที่ 2 ทรงปั้นวงพระพักตร์พระพุทธรูปองค์นี้ด้วยพระองค์เอง

- พระวิหารหลวง เข้าสักการบูชา "พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร" พระประธานประจำพระวิหารหลวง และสักการะพระอรุณ หรือพระแจ้ง พระพุทธศิลป์แห่งลานช้าง

- หอสมุดสมเด็จพระพุฒาจารย์ แหล่งรวมหนังสือธรรมะ, ชีวประวัติพระสงฆ์-เกจิอาจารย์, ประวัติวัดต่าง ๆ, พระไตรปิฎก, คู่มือนักธรรม, คู่มือเปรียญธรรม (บาลี), และวารสารต่าง ๆ และสักการบูชาพระบรมศาสดาศากยมุนีพุทธเจ้าและพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า แกะสลักจากไม้จันทน์หอม
 
- พระอุโบสถน้อย-พระวิหารจุฬามณี เข้าสักการบูชาหลวงพ่อรุ่งมงคล พระประธานประจำพระอุโบสถน้อย, สักการบูชารูปหล่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, ชมพระแท่นวิปัสสนา, ชมพระแท่นบรรทมของรัชกาลที่ 2, สักการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ในพระเจดีย์จุฬามณี และบูชาท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4
          
9. ช่วงเวลาแนะนำสำหรับการมาเที่ยววัดอรุณฯ แนะนำให้มาช่วงเช้าหรือช่วงเย็นของวัน เพราะว่าแดดจะไม่ร้อนมากแถมบรรยากาศกำลังดีอีกด้วย

10. วัดอรุณฯ เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าเยี่ยมชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.30-17.30 น. (คนไทยเข้าชมฟรี นักท่องเที่ยวต่างชาติเสียค่าเข้าคนละ 40 บาท)
 
11. การเดินทางมายังวัดอรุณฯ สามารถเดินทางได้อย่างสะดวกทั้งทางเรือและทางรถ

- ทางเรือ สามารถนั่งเรือด่วนเจ้าพระยามาลงที่ท่าเตียน หลังจากนั้นนั่งเรือข้ามฟากจากฝั่งพระนครมาลงท่าเรือหน้าวัดอรุณฯ ได้เลย
 
- ทางรถ จากถนนปิ่นเกล้า เลี้ยวเข้าถนนอรุณอมรินทร์ ผ่านหน้าโรงพยาบาลศิริราช ตรงมาเรื่อย ๆ ยังกรมอู่ทหารเรือ จะเห็นทางเข้าวัดอรุณฯ อยู่ถัดไปไม่ไกล

วัดอรุณราชวราราม วัดโบราณสมัยรัตนโกสินทร์

ขอบคุณ :  วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร