เปิดประวัติความเป็นมา พญาคชสีห์ ประจำกระทรวงกลาโหม ที่หายไป

29 กรกฎาคม 2565

พญาคชสีห์ ประจำกระทรวงกลาโหม ที่ประดิษฐานบริเวณด้านหน้าเข้าอาคาร สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม พญาคชสีห์ราชเสนีพิทักษ์ หายไปไหน

พระคชสีห์ เป็น ตราประจำกระทรวงกลาโหม คือ ตราพระคชสีห์ ในพระธรรมนูญใช้ตรากล่าวไว้ว่า เป็นตราเจ้าพระยามหาเสนาบดีฯ สมุหพระกลาโหม มีทั้งตราใหญ่ ตรากลาง และตราน้อย ในราชพิพิธพระคชสีห์

เปิดประวัติความเป็นมา พญาคชสีห์ ประจำกระทรวงกลาโหม ที่หายไป

จากกรณี พญาคชสีห์ราชเสนีพิทักษ์ ที่ประดิษฐานบริเวณด้านหน้าทางเข้าอาคารสำนักงาน สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม ได้สูญหายไป

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

กลาโหม ล่ามือฉก "พญาคชสีห์ฯ" เร่งตรวจสอบวงจรปิด สงสัยฝีมือคนในหรือคนนอก

เปิดประวัติความเป็นมา พญาคชสีห์ ประจำกระทรวงกลาโหม ที่หายไป

เปิดประวัติ พญาคชสีห์

พระคชสีห์ เป็นตราประจำกระทรวงกลาโหม คือ ตราพระคชสีห์ ในพระธรรมนูญใช้ตรากล่าวไว้ว่า เป็นตราเจ้าพระยามหาเสนาบดีฯ สมุหพระกลาโหม มีทั้งตราใหญ่ ตรากลาง และตราน้อย ในราชพิพิธพระคชสีห์

ซึ่งในส่วนของ ตราพระคชสีห์ ในพระธรรมนูญใช้ตรา ระบุไว้ว่า ตราพระคชสีห์เป็นตราของเจ้าพระยามหาเสนาบดี ผู้ดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหมในระบบการปกครองแบบจตุสดมภ์ มีทั้งตราใหญ่ ตรากลาง และตราน้อย

เมื่อมีการจัดรูปแบบการบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลางเป็น 12 กระทรวงในปี พ.ศ. 2435 ตำแหน่งสมุหพระกลาโหมได้เปลี่ยนแปลงมาเป็นตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม มีหน้าที่ดูแลกิจการทหารทั้งหมดของประเทศ ตราพระคชสีห์จึงใช้เป็นตราประจำตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมสืบมา

จนกระทั่งถึงสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงมีการเปลี่ยนแปลงแบบตราสำหรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเสียใหม่ในปี พ.ศ. 2482 (ตามหลักฐานที่ปรากฏในราชกิจจานุเบกษา)

โดยตราพระคชสีห์ยังคงนับเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของกระทรวงกลาโหม และถูกใช้เป็นองค์ประกอบในการออกแบบตราสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อสื่อความหมายถึงข้าราชการฝ่ายทหารสืบมาจนถึงปัจจุบัน อีกทั้งรูปคชสีห์ยังปรากฏอยู่ในเครื่องหมายราชการของสำนักนายกรัฐมนตรีอีกด้วย

สำหรับ พญาคชสีห์ราชเสนีพิทักษ์ ที่หายไป

เปิดประวัติความเป็นมา พญาคชสีห์ ประจำกระทรวงกลาโหม ที่หายไป

สำหรับ ประวัติ พญาคชสีห์ราชเสนีย์พิทักษ์ ของสทป. เป็นการหล่อองค์จำลอง เพื่อแจกจ่ายให้กับหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหม เหล่าทัพ ทูตต่างประเทศ ใน โอกาสปีมหามงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อ ปี 2549 และในโอกาสที่กระทรวงกลาโหมครบ 120 ปี

ส่วน พญาคชสีห์ องค์จริงที่ตั้งอยู่หน้า กระทรวงกลาโหม นั้น จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์สำคัญและตั้งอยู่บริเวณทางเข้าออกกระทรวงกลาโหม เนื่องจาก องค์พญาคชสีห์ เป็นสัตว์ในเทพนิยาย เป็นส่วนผสมระหว่างราชสีห์กับช้าง (คช) ซึ่งในสมัยโบราณถือว่า คชสีห์ เป็นเครื่องหมายแทนทหาร รวมทั้งตราประจำตำแหน่งของสมุหกลาโหมก็ใช้ตราคชสีห์เป็นสัญลักษณ์

สำหรับความสูงของพญาคชสีห์ ซึ่งวัดจากพื้นถึงหลังตามหลักการวัดส่วนสูงของม้าจะมีความสูง 120 เซนติเมตร เท่ากับ 120 ปี กระทรวงกลาโหม แต่ถ้าวัดจากฐานถึงลายกนกที่เป็นส่วนสูงสุด จะสูงทั้งหมด 4.50 เมตร

โดยพระพรหมวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา เป็นผู้ดูแลในเรื่องของพิธีกรรมทางศาสนาและตั้งชื่อพญาคชสีห์ ซึ่งจะมีพิธีเททอง ที่โรงหล่อที่ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา

โดยมีการหล่อ 2 องค์ ที่มีลักษณะต่างจากดวงตาที่เคยมี เพราะดวงตาดังกล่าวนั้นจะมองในทางข้าง ซึ่งจะมีท่ายืนยกเท้าข้างหนึ่ง แต่องค์คชสีห์ที่จะหล่อขึ้นใหม่จะยืน 4 เท้ามั่นคง และเท้าหลังย่างไปข้างหน้า โดยทั้งสององค์ตั้งที่ประตูทางเข้า-ออกของกระทรวง ประตูทางเข้าอยู่ทางทิศใต้ มีชื่อว่า “พญาคชสีห์สยามปฐพีพิทักษ์” หมายความว่าพิทักษ์แผ่นดินไทย

ส่วนองค์ทางประตูออกซึ่งอยู่ทิศเหนือชื่อว่า พญาคชสีห์ราชเสนีพิทักษ์ หมายความว่าเป็นทหารพิทักษ์พระราชา ซึ่งความหมายรวมคือเราจะพิทักษ์ประเทศชาติและราชบัลลังก์ โดยมีพิธีพุทธาภิเษก และ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เป็นประธานเปิดแพรคลุมป้าย

เปิดประวัติความเป็นมา พญาคชสีห์ ประจำกระทรวงกลาโหม ที่หายไป

ขอบคุณ : กระทรวงกลาโหม และ กระทรวงกลาโหม(ประเทศไทย)