10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ จังหวัดเชียงราย

24 มกราคม 2565

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ จังหวัดเชียงราย ดั่งคำขวัญที่ว่า"เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง"

1.ความเป็นมาของจังหวัดเชียงราย

เชียงราย (คำเมือง: เจียงฮาย) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของประเทศไทยในเชิงภูมิศาสตร์ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าและประเทศลาว ทางตอนเหนือและตะวันออก, จังหวัดพะเยา และ จังหวัดลำปาง ทางทิศใต้ และจังหวัดเชียงใหม่ ทางทิศตะวันตกจังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวไทย ประกอบด้วยเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ยุคก่อตั้ง หิรัญนครเงินยางเชียงแสน และ อาณาจักรล้านนา 
 

 Chiang Rai

2.สัญลักษณ์ประจำจังหวัด 
-ตราประจำจังหวัด
 รูปช้างสีขาวใต้เมฆ หมายถึง นิมิตของความรุ่งเรืองในอดีต เพราะพญามังรายเคยใช้ช้างเป็นกำลังสำคัญในการทำศึกปราบศัตรูจนได้ชัยชนะ นอกจากนี้ ช้างยังเป็นชนวนให้พญามังรายมาก่อร่างสร้างเมืองนี้ขึ้นอีกด้วย โดยว่ากันว่า หายไปจากหลักที่ผูกไว้ พญามังรายติดตามไปจนถึงภูมิประเทศอันบริบูรณ์ริมน้ำกก จึงโปรดให้ตั้งเมืองเชียงรายขึ้น ณ ที่นั้น
-ดอกไม้ประจำจังหวัด  ดอกพวงแสด 
-ต้นไม้ประจำจังหวัด  กาซะลองคำ โดยเป็นไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานให้เป็นไม้ประจำจังหวัดเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2537 เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
-คำขวัญประจำจังหวัด  เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง

 Chiang Rai

3.ทรัพยากรป่าไม้จังหวัดเชียงราย
       พื้นที่จังหวัดเชียงรายมีทั้งสิ้น 11.678.369 ตารางกิโลเมตร หรือ 7,298,981 ไร่ ในปี 2542 มีพื้นที่ป่าไม้จำนวน 2,365,967 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 32.42 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ป่าไม้แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
อุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติดอยหลวง อุทยานแห่งชาติขุนแจ อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อุทยานแห่งชาติภูชี้ฟ้า

 Chiang Rai

4.ประชากร จังหวัดเชียงราย
    จังหวัดเชียงรายมีประชากรหลายเชื้อชาติ ทั้งชาวไทยพื้นราบ ชาวไทยภูเขา และชาวจีนฮ่อที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บนดอยสูง แต่ละชนชาติจะมีประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่มีเอกลักษณ์ เป็นเสน่ห์ห์อีกอย่างที่ทำให้เชียงรายได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ประชากรในเขตจังหวัดเชียงราย แบ่งออกได้เป็นหลายกลุ่ม อาทิ 
    -คนไทยพื้นราบ ประกอบด้วยชาวไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ 
    -ชาวไทยภูเขา ประกอบด้วย อาข่า มูเซอ เย้า กะเหรี่ยง ลีซอ ม้ง ลั๊วะ
    -ชาวไทยเชื้อสายจีน โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นอดีตทหาร พรรคก๊กมินตั๋ง ได้เข้ามาตั้งรกราก ได้แก่ หมู่บ้านสันติคีรี 
    -ผู้พลัดถิ่นสัญชาติพม่า
    -ชาวไทยภาคอีสานอพยพ
    -ชาวลาวอพยพ คนลาวที่อาศัยอยู่กับญาติพี่น้องตามแนวชายแดนของประเทศไทย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองของลาวในปี พ.ศ. 2517 ขณะนี้ทางการของไทยยังไม่อนุญาตให้เดินทางออกนอกเขตจังหวัดที่อยู่อาศัย

5.วัฒนธรรมและประเพณีของจังหวัด
    -แห่พระแวดเวียง ประเพณีอัญเชิญพระพุทธรูปแวดเวียงเชียงราย ซึ่งมีพื้นฐานความคิดมาจากตำนานพระเจ้าเลียบโลก ด้วยมีจุดมุ่งหมาย ให้ประชาชนได้มีโอกาสสักการบูชาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งประดิษฐานอยู่ตามวัดวาอารามต่าง ๆ ในตัวเมืองเชียงราย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในวาระของการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ โดยการอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย มาประดิษฐานบนบุษบกที่ได้สร้างขึ้นโดยช่างศิลปินที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย จัดตั้งเป็นขบวนอัญเชิญไปรอบเมืองเชียงราย ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสกราบไหว้สักการบูชาด้วย ข้าวตอก ดอกไม้ เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่เป็นสิริมงคลยิ่งนัก
    -ปอยหลวง งานบุญปอยหลวงเป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคมหลายประการ นับตั้งแต่ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม ช่วงเวลา จากเดือน 5 จนถึงเดือน 7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลาประมาณ 3-7 วัน
    -ป๋าเวณี ปี๋ใหม่เมือง งานประเพณีสงกรานต์ จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายน ในงานมีขบวนแห่และสรงน้ำพระเจ้าล้านทอง การแข่งเรือ และการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพ จัดบริเวณตัวเมืองเชียงราย และอำเภอเชียงแสน
    -งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองเชียงราย เทศกาลที่ชาวเกษตรกรต่างนำผลผลิตทางการเกษตรของตนมาออกร้าน โดยเฉพาะลิ้นจี่ที่มีชื่อเสียงมากของเชียงราย จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี ภายในงานมีการประกวดขบวนรถและธิดาลิ้นจี่ และการออกร้าน บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย
    -งานไหว้สาพญามังราย จัดให้มีพิธีบวงสรวงพญามังราย มีการออกร้าน จัดนิทรรศการของส่วนราชการและเอกชน และงานรื่นเริงอื่น ๆ จัดวันที่ 23 มกราคม-1 กุมภาพันธ์
    -เป็งปุ๊ด หรือ เพ็ญพุธ เป็นประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนค่อนรุ่งเข้าสู่วันเพ็ญขึ้น15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ตามวัฒนธรรมและความเชื่อของบรรพบุรุษล้านนาไทย ที่เชื่อกันว่าพระอุปคุตซึ่งพระอรหันต์องค์หนึ่งแปลงกายเป็นสามเณรน้อยมาบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกในยามเที่ยงคืน และชาวล้านนาในอดีตเชื่อว่าการทำบุญตักบาตรถวายพระอุปคุตในวันเป็งปุ๊ดก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ มีโชคลาภและร่ำรวย บังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต โดยบรรพบุรุษชาวล้านนาเชื่อว่า ทุกคืนที่ย่างเข้าสู่วันพุธขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันเป็งปุ๊ด และจะมีประชาชนชาวล้านนาจำนวนมากมารอเพื่อประกอบพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร
    -งานอนุรักษ์มรดกไทยล้านนา จัดในเดือนเมษายน มีการจัดนิทรรศการและการแสดงแบบไทยล้านนา มีการสาธิตงานศิลปะ บริเวณหอวัฒนธรรมนิทัศน์ อำเภอเมือง
    -งานประเพณีขึ้นพระธาตุดอยตุง จัดขึ้นในวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือนหกเหนือ หรือเดือนมีนาคม เป็นประเพณีของชาว ล้านนา รวมทั้งชาวไทยใหญ่ในพม่าที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยชาวบ้านและพระสงฆ์ จะเดินขึ้นพระธาตุในตอนกลางคืน เมื่อมาถึงก็จะพากันนมัสการองค์พระธาตุก่อน จากนั้นจึงหาพื้นที่ประกอบอาหารเพื่อตักบาตรในตอนเช้า หลังจากตักบาตรแล้วจะ ช่วยกันบูรณะบริเวณองค์พระธาตุ เมื่อถึงยามค่ำคืนก็มารวมกันที่ปะรำพิธีเพื่อฟังเทศน์
    -ประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก เป็นประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อของผู้คนที่อยู่ริมแม่น้ำโขง โดยเฉพาะชาวประมง ในเขตบ้านหาดไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ เกี่ยวกับปลาบึกซึ่งเป็นปลาขนาด ใหญ่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงว่า เป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ มีเทพเจ้าคุ้มครอง ก่อนที่ชาวประมง จะจับปลาบึกต้องมีการบวงสรวงก่อน ฤดูกาลจับปลาบึกระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม
    -ประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอีก้อ หรือที่เรียกตนเองว่า "อาข่า" มีเชื้อสายจากจีน-ทิเบต เดินทางอพยพมาอยู่บริเวณ ชายแดนไทย-พม่า แถบตอนเหนือของลำน้ำกก โดยเฉพาะอำเภอแม่จัน และแม่สาย การโล้ชิงช้าเป็นการขึ้นไปขอพรและแสดงความรำลึกถึงพระคุณของเทพธิดาแห่ง สรวงสวรรค์ ผู้ประทานความชุ่มชื่นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหารและ ยังเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกด้วย จัดในช่วงเดือนสิงหาคม

 Chiang Rai

6.ภาษาจังหวัดเชียงราย
ภาษาพูด ใช้พูดจากันเรียกว่า คำเมือง เนื่องจากเชียงรายเคยเป็นเมืองร้างผู้คนนานเกือบร้อยปี ได้มีการฟื้นฟูบ้านเมืองขึ้นมาใหม่เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2384 โดยได้เกณฑ์ราษฎรจากเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และชนเผ่าไตใหญ่ ไตลื้อ ไตยอง และไตขืน (เขิน) ซึ่งอพยพจากเชียงตุง และสิบสองปันนา รวมทั้งชาวลาวจากประเทศลาว ได้เข้ามาอาศัยอยู่รวมกัน ดังนั้นสำเนียงพูดของชาวเชียงรายจึงมีความหลากหลายทางสำเนียงในพื้นที่ต่าง ๆ
ภาษาเขียน เชียงรายก็เช่นเดียวกันกับจังหวัดทางภาคเหนืออื่น ๆ คือมีภาษาเขียนที่เรียกว่าอักขระล้านนา หรือตัวเมือง อักษรล้านนามีวิวัฒนาการมาจากอักษรพราหมีของอินเดีย มีการจัดระบบของหลักภาษาคล้ายกับภาษาบาลี อักษรล้านนามีรูปทรงกลมป้อมคล้ายอักษรพม่าและมอญ แต่หลักการทางภาษาไม่เหมือนกัน


7.อาหารพื้นเมืองของจังหวัดเชียงราย
-แกงฮังเล 
-แกงโฮ๊ะ 
-ข้าวซอย
-ขนมจีนน้ำเงี้ยว   

8.สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ขึ้นชื่อของจังหวัดเชียงราย
แหล่งท่องเที่ยวของจังหวัด จำนวน 25 แห่ง ดังนี้

1 วนอุทยานชาพันปี
2 วนอุทยานดอยกาดผี
3 วนอุทยานดอยพระบาท
4 วนอุทยานถ้ำผาแล
5 วนอุทยานน้ำตกขุนน้ำยาบ
6 วนอุทยานน้ำตกดอนศิลา-ผางาม
7 วนอุทยานภูชมดาว
8 วนอุทยานน้ำตกตาดควัน
9 วนอุทยานน้ำตกตาดสวรรค์
10 วนอุทยานน้ำตกตาดสายรุ้ง
11 วนอุทยานน้ำตกมิโอฉ่อแต๊ะ
12 วนอุทยานน้ำตกแม่โท
13 วนอุทยานน้ำตกแม่สลอง
14 วนอุทยานน้ำตกวังธารทอง
15 วนอุทยานน้ำตกศรีชมภู
16 วนอุทยานน้ำตกห้วยก้างปลา
17 วนอุทยานน้ำตกห้วยตาดทอง
18 วนอุทยานน้ำตกห้วยน้ำอุ่น
19 วนอุทยานน้ำตกห้วยแม่สัก
20 วนอุทยานน้ำตกหัวแม่คำ
21 วนอุทยานพญาพิภักดิ์
22 วนอุทยานริมโขง
23 วนอุทยานสันผาพญาไพร
24 วนอุทยานห้วยทรายมาน
25 วนอุทยานห้วยน้ำช้าง
     นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ป่าไม้รูปแบบอื่นอีก ดังต่อไปนี้

สวนรุกขชาติ (Arboretum) - มีเพียงแห่งเดียว คือสวนรุกชาติโป่งสลี เทศบาลตำบลสันทราย อำเภอเมืองเชียงราย มีพื้นที่ 668.75 ไร่ พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้สักขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นป่าเดิมที่เหลืออยู่และมีการปลูกต้นไม้อื่น ๆ แทรกบ้าง
ป่าสงวนแห่งชาติ (National Reserved Forest) - มีทั้งหมด 30 แห่ง มีพื้นที่รวม 4,485,966 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 61.46 ของพื้นที่จังหวัด แบ่งเป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ จำนวน 3,525,896 ไร่ พื้นที่มอบ สปก. จำนวน 960,070 ไร่ แยกออกเป็นพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ 513,683 ไร่ ป่าเพื่อการเกษตร 425,832 ไร่ และพื้นที่กันคืนกรมป่าไม้ 20,555 ไร่
ป่าชุมชน (Community Forest) - เป็นป่าธรรมชาติ ที่ชาวบ้านช่วยกันป้องกันรักษาเอาไว้ สำหรับเป็นแหล่งซับน้ำและใช้สอย ปัจจุบันมีการสร้างป่าชุมชนขึ้นในพื้นที่สาธารณะ เพื่อใช้ประโยชน์ของชุมชน
เขตห้ามล่าสัตว์ป่า - มีเพียงแห่งเดียวคือ พื้นที่ชุ่มน้ำเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย อำเภอเชียงแสน มีพื้นที่ 2,711 ไร่

9.วัดสำคัญของจังหวัดเชียงราย 
- วัดมิ่งเมือง
- วัดพระแก้ว
- วัดพระสิงห์
- วัดร่องขุ่น
- วัดกลางเวียง
- วัดขัวแคร่
- วัดร่องเสือเต้น
- วัดห้วยปลากั้ง
- วัดแสงแก้วโพธิญาณ
- วัดพระธาตุดอยตุง

 Chiang Rai

10.ของฝากขึ้นชื่อจังหวัดเชียงราย
หมูยอ ไส้อั่ว แหนม น้ำพริกหนุ่ม
ผลิตภัณฑ์ดอยตุง
ผ้าทอไทลื้อ
ลิ้นจี่