สุขภาพ-ความงาม

heading-สุขภาพ-ความงาม

รู้จัก “แพนิค” ตัวนำพามาซึ่งอาการต่างๆ หลัง หนุ่ม กรรชัย ไม่ออกจากบ้านนาน 1 ปี

14 ต.ค. 2564 | 15:50 น.
รู้จัก “แพนิค” ตัวนำพามาซึ่งอาการต่างๆ หลัง หนุ่ม กรรชัย ไม่ออกจากบ้านนาน 1 ปี

จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้แต่ละคนล้วนเจอปัญหาแตกต่างกันออกไป ซึ่งล่าสุด พิธีกรชื่อดัง อย่าง หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย ได้ออกมาเล่าว่าเคยเป็นโรคแพนิคไม่ออกจากบ้านเลยถึง 1 ปี และเกือบเป็นโรคซึมเศร้า

ข้อมูลเกี่ยวกับ “โรคแพนิค” โรคที่ไม่ใช่เพียงอาการวิตกกังวล หรือตื่นตระหนกเท่านั้น แต่โรคนี้สามารถนำพามาซึ่งอาการต่างๆ มากมาย ที่เหมือนจะไม่อันตรายแต่ก็มีความอันตรายอยู่ในนั้น

- รู้จัก “โรคแพนิค” Panic Disorder

“โรคแพนิค” (Panic disorder) หรือโรคตื่นตระหนก ที่หลายคนว่ากล่าวอย่างนั้น เป็นโรควิตกกังวลที่มีอาการตกใจกลัวอย่างกะทันหันและรุนแรงทั้งที่ไม่ได้เผชิญกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่อันตราย สามารถพบได้ถึงร้อยละ 3 – 5 ในประชากรทั่วไป

คนส่วนใหญ่จะเคยมีอาการแพนิกหนึ่งหรือสองครั้งในชีวิต ซึ่งความถี่ในการเกิดอาการโรคแพนิคอาจแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่มีอาการหลาย ๆ ครั้งต่อวันไปจนกระทั่งมีอาการเพียงไม่กี่ครั้งต่อปี

 “โรคแพนิค” เกิดจากฮอร์โมนลดหรือเปลี่ยนแปลงกระทันหัน ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ เหมือนไฟฟ้าลัดวงจร ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในหลายๆ ส่วน จึงเกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน เช่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออกมาก หายใจไม่ทัน ท้องไส้ปั่นป่วน วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม และเป็นอาการที่เกิดขึ้นฉับพลันโดยที่ไม่มีสาเหตุหรือมีเรื่องให้ต้องตกใจ นั่นทำให้บางคนที่มีอาการมักคิดว่าตนเองเป็นโรคหัวใจ และไม่สามารถควบคุมตัวเองได้

ผู้ป่วยโรคแพนิคมักจะรู้ตัวว่าเป็นโรคแพนิคก็ต่อเมื่อมีอาการดังกล่าวไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็ค แล้วพบว่าหัวใจแข็งแรงเป็นปกติ แพทย์จะสงสัย และอาจวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิค

รู้จัก “โรคแพนิค” ตัวนำพามาซึ่งอาการต่างๆ หลัง หนุ่ม กรรชัย ไม่ออกจากบ้านนาน 1 ปี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

- สาเหตุโรคแพนิคมีอะไรบ้าง?

สาเหตุที่พบได้ในคนที่เป็นโรคแพนิค คือ มีปัจจัยด้านพันธุกรรม ถ้าหากมีญาติสายตรงเป็นโรคแพนิคก็มีโอกาสจะเป็นมากกว่าคนอื่น 5 เท่า

นอกจากนี้ก็ยังมีปัจจัยในเรื่องของระบบชีวภาพในร่างกาย คือ ระบบประสาทอัตโนมัติอาจจะทำงานไวเกินไปทำให้มีอาการใจสั่น เหงื่อแตกขึ้นมาได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องพบเหตุการณ์อะไรที่น่ากลัว โดยเกือบทั้งหมดของผู้ป่วยที่เป็นโรคแพนิคจะเริ่มมีอาการหลังจากเกิดเหตุการณ์ในชีวิตครั้งสำคัญ เช่น เกิดความสูญเสียร้ายแรงขึ้นมา

โรคนี้มักพบในคนอายุน้อย อายุประมาณ 20 - 30 ปี ซึ่งหลายรายจะมาพบแพทย์ช้า กว่าจะมาพบแพทย์อายุประมาณ 40 - 50 ปีก็มี เพราะว่าอาการของโรคนี้ใกล้เคียงกับโรคอื่นหลายอย่าง 

- อาการ “โรคแพนิค” ที่ควรรู้

ผู้ป่วยโรคนี้จะรู้สึกทุกข์ทรมานในการดำเนินชีวิตประจำวันเนื่องจากมีความวิตกกังวลตลอดเวลาว่าจะมีอาการเกิดขึ้นอีกเมื่อไร บางรายต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหรือการงานที่เคยทำประจำและเกิดความทุกข์ใจอย่างมากที่ไม่อาจดำเนินชีวิตให้เป็นปกติสุขได้ดังเดิม 

สำหรับอาการของผู้ป่วย “โรคแพนิค” จะมีดังนี้

- ใจสั่น ใจเต้นแรง แน่นหน้าอก
- เหงื่อออกมาก หนาวๆ ร้อนๆ
- ตัวสั่น รู้สึกหายใจไม่อิ่ม
- หายใจถี่ หายใจตื้น หายใจไม่อิ่ม
- วิงเวียน โคลงเคลง รู้สึกตัวลอย คล้ายจะเป็นลม
- รู้สึกกลัวไปหมดทุกอย่าง โดยเฉพาะกลัวตาย
- ควบคุมตัวเองไม่ได้ รู้สึกอยู่คนเดียวไม่ได้
- อาการเกิดขึ้นประมาณ 15 – 20 นาทีแล้วค่อยๆหายไป

ทั้งนี้ อาการแบบนี้จริงๆแล้วสามารถพบได้ในหลายโรค เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ โรคไมแกรน โรคลมชักบางประเภท และสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้สารบางอย่างที่กระตุ้นให้เกิดอาการเช่นนี้ ที่พบบ่อยก็คือ คาเฟอีน แต่ถ้าตรวจไม่พบอาการผิดปกติจากโรคเหล่านี้ คุณอาจจะเป็นโรคแพนิค

รู้จัก “โรคแพนิค” ตัวนำพามาซึ่งอาการต่างๆ หลัง หนุ่ม กรรชัย ไม่ออกจากบ้านนาน 1 ปี

- ถึงไม่อันตรายแก่ชีวิต แต่ต้องรักษา

การวินิจฉัยโรคแพนิค อันดับแรก แพทย์จะต้องดูให้แน่ชัดว่าไม่ได้เป็นโรคอื่นที่มีอาการใกล้เคียงกับแพนิก เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ โรคปอด หรือบางคนอาจเป็นภาวะวัยทอง หรือมีผลมาจากการใช้ยาเสพติดกระตุ้นรวมทั้งเครื่องดื่มและอาหารที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โคล่า ชาเขียว และเครื่องดื่มชูกำลัง ทั้งหมดนี้ต้องดูให้แน่ชัดว่าไม่ได้มีมาจากสาเหตุอื่นถึงจะวินิจฉัยว่าเป็นโรคแพนิก

การรักษาโรคแพนิค มีวิธีการรักษา2 หลักใหญ่ ๆ คือ การใช้ยาและการทำจิตบำบัดประเภทปรับความคิดและพฤติกรรม ในเบื้องต้นผู้ป่วยสามารถที่จะบอกตัวเองได้ โดยให้กำลังใจตัวเอง คือ บอกตัวเองว่าโรคนี้เป็นขึ้นมาแล้วรักษาได้แล้วไม่ทำให้ถึงแก่ชีวิต ส่วนมากคนที่มาแล้วรักษายากเป็นเพราะพยายามช่วยเหลือตัวเองในทางอื่น ๆ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ซึ่งดูเหมือนอาการจะสงบแต่จริง ๆ แล้วรุนแรงและรักษายากมากยิ่งขึ้น หากท่านสงสัยว่าตนเองมีอาการที่คล้ายโรคแพนิกควรจะมาพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ

การตรวจเลือดหาสาเหตุที่เกิดทางด้านร่างกาย เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ หรือรักษาด้วยการทำจิตบำบัดซึ่งอาจหาต้นเหตุของความกลัวได้ แต่ผู้ป่วยก็สามารถลดความวิตกกังวลของตนเองได้เช่นกัน เช่น การฝึกการหายใจเพื่อควบคุมสติ เมื่อเกิดอาการ หรือควบคุมอาหารบางประเภทที่กระตุ้นให้อาการกำเริบอย่างคาเฟอีนหรือน้ำอัดลม

การรักษาที่ได้ผลดีคือการรักษาแบบองค์รวม นอกจากรับประทานยาอย่างต่อเนื่องแล้ว จำเป็นต้องมีการรักษาทางจิตใจควบคู่ไปด้วย โดยให้ความรู้ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบำบัด ปรับแนวคิด ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ร่วมกับโรคนี้ได้อย่างมีความสุข นอกจากนี้ ให้พยายามพาตัวเองเข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ผ่อนคลายจากความเครียดและความวิตก ดูแลจิตใจตัวเองให้เข้มแข็งมีความสุขกับทุกวันและดำเนินชีวิตอย่างเหมาะสม

- เทคนิคการรักษาแพนิกแบบง่ายๆ

วิธีการปฎิบัติตัว อันดับแรกต้องตั้งสติ หายใจเข้า - ออกลึก ๆ ช้า ๆ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากอาการ โดยหายใจเข้าให้ท้องป่องและหายใจออกให้ท้องยุบในจังหวะที่ช้า ซึ่งจะทำให้ร่างกายค่อย ๆ ปรับตัว ในระหว่างที่ทำให้บอกกับตัวเองว่าอาการที่เกิดขึ้นเป็นชั่วคราว สามารถหายได้และไม่ถึงแก่ชีวิต หลังจากนั้นร่างกายจะค่อย ๆ ผ่อนคลายและอาการก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปเอง

เริ่มต้นดูแลตัวเองแบบง่ายๆ ด้วยการงดพฤติกรรมเหล่านี้

- การใช้ชีวิตประจำวันด้วยความเร่งรีบ
- กินนอนไม่เพียงพอและไม่เป็นเวลา
- ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือมากเกินไป

โรคนี้มักเกิดในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นและสามารถเกิดร่วมกับโรคอื่นได้ เช่น ฃสาเหตุของโรคนี้เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ (automatic nervous system) ทำงานผิดปกติไป ถ้าจะเปรียบเหมือนรถยนต์ก็เรียกได้ว่าเครื่องยนต์กำลังทำงานรวนไป เนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติควบคุมการทำงานของร่างกายในหลายส่วน อาการที่เกิดขึ้นจึงเกิดหลายอย่างพร้อมกันทั้งการเต้นของหัวใจ การหายใจ การออกของเหงื่อ ฯลฯ การทำงานของระบบดังกล่าวต้องอาศัยสารเคมีในสมองเป็นส่วนสำคัญในการควบคุมการทำงาน

- อะไรทำให้อาการโรคแพนิคแย่ลง ?

ถ้าเราไม่ทำอะไรเลยอาการแพนิคก็จะหายไปเองในเวลา 10 นาที เนื่องจากเป็นธรรมชาติของเวลาการหลั่งอะดรีนาลินสู่กระแสเลือด แต่เมื่อเราพยายามหยุดอาการแพนิคด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลต่าง ๆ หลีกเลี่ยงที่จะไปสถานที่ที่อาจทำให้เกิดอาการเช่นห้างสรรพสินค้า หรือไม่กล้าอยู่คนเดียว จะอยู่ในสถานที่ที่คิดว่าจะมีคนช่วยเหลือได้ตลอดเวลา การหายากล่อมประสาทเตรียมพร้อมไว้ และการพยายามหายใจในถุงกระดาษ การกระทำเหล่านี้กลับทำให้อาการของโรคนี้แย่ลงเพราะสมองส่วนอารมณ์จะรับรู้ว่าอาการต่างๆของโรคแพนิคเป็นสิ่งที่เป็นอันตรายยิ่งพยายามทำสิ่งเหล่านี้มากเท่าไร อาการก็ยิ่งแปรปรวนมากขึ้นและใช้เวลานานขึ้นกว่าจะสงบซึ่งอาจนานเป็นชั่วโมง

สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนัก คือ ถ้าคุณกลัวว่าอาการแพนิคจะเกิดขึ้นคุณกำลังส่งเสริมการกลับมาเป็นซ้ำของแพนิกและเป็นการสร้างความสัมพันธ์กับแพนิกแบบที่เรียกว่ายิ่งเกลียดยิ่งเจอ กล่าวคือยิ่งคุณกลัวมากเท่าไร อาการแพนิกก็จะยิ่งเป็นมากขึ้นเท่านั้น ถ้าเรากำจัดความกลัวออกไปได้ก็จะไม่มีปัจจัยที่จะไปสนับสนุนการเกิดอาการแพนิก เป็นการทำลายความสัมพันธ์ระหว่างเรากับอาการแพนิกอย่างถาวร

ในทำนองเดียวกัน หากคุณยิ่งพยายามที่จะหยุดหรือต่อสู้กับอาการเหล่านี้ คุณก็เพียงแค่สนับสนุนและยืดเวลาให้มีอาการนานขึ้นหรือหากคุณฝึกเทคนิคการผ่อนคลายบางอย่าง แล้วรออย่างใจจดใจจ่อต่อผลลัพธ์ที่จะทำให้อาการแพนิกลดลง คุณจะต้องผิดหวัง เพราะเทคนิคต่างไม่ได้ช่วยให้คุณเอาชนะอาการแพนิกได้เท่ากับการปรับความรู้ความเข้าใจต่ออาการแพนิค

อ้างอิง: โรงพยาบาลจิตเวชนครสวรรค์ราชนครินทร์ ,รศ.พญ.พรจิรา ปริวัชรากุล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ ,  พญ.นิดา ลิ้มสุวรรณ,โรงพยาบาลเปาโล

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

หนุ่มโหลดกระเป๋าหนักผิดปกติ 42 กก. จทน.เรียกตรวจ เปิดดูทำเอาฮา

หนุ่มโหลดกระเป๋าหนักผิดปกติ 42 กก. จทน.เรียกตรวจ เปิดดูทำเอาฮา

กาแฟไทยไม่แพ้ใคร คุณภาพระดับพรีเมียม หอม อร่อย กระหึ่มโลก

กาแฟไทยไม่แพ้ใคร คุณภาพระดับพรีเมียม หอม อร่อย กระหึ่มโลก

หลวงพี่เหลือจะเชื่อ แมวคลอดลูกบนตัก ชาวเน็ตเชื่อมาให้โชค

หลวงพี่เหลือจะเชื่อ แมวคลอดลูกบนตัก ชาวเน็ตเชื่อมาให้โชค

อาลัย "อี๊ด รอยัลสไปรท์ส" เสียชีวิตในวัย 79 ปี สิ้นตำนานแห่งยุค 80

อาลัย "อี๊ด รอยัลสไปรท์ส" เสียชีวิตในวัย 79 ปี สิ้นตำนานแห่งยุค 80

สาวคอสเพลย์เสียชีวิต สาเหตุน่าใจหาย เพิ่งไลฟ์บอกไม่ได้กินข้าว

สาวคอสเพลย์เสียชีวิต สาเหตุน่าใจหาย เพิ่งไลฟ์บอกไม่ได้กินข้าว