แนะเลี่ยง "อาหาร" โซเดียมสูง เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดี

09 กันยายน 2564

ยุคสมัยนี้ผู้คนเริ่มหันมาใส่ใจสุขภาพจของตัวเองกันมากขึ้น การเลือกทายอาหารก็เป็นอีกหนึ่งหนทางในการดูแลตัวเอง วันนี้เราจะแนะเลี่ยง "อาหาร" โซเดียมสูง เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดี

โซเดียม เป็นอีกหนึ่งส่วนผสมที่มักแฝงตัวมากับอาหารหลากหลายรูปแบบ ซึ่งโซเดียมมีประโยชน์ต่อระบบทำงานของร่างกายหลายอย่าง แต่หากกินมาเกินไปโซเดียมก็จะทำลายร่างกายได้เช่นเดียวกัน และโซเดียมนั้นก็ไม่ได้มีแค่เกลือเพียงอย่างเดียว แต่ยังแฝงอยู่ในอาหารหลายรูปแบบ


 

อาหารที่มีโซเดียมสูงควรหลีกเลี่ยง
1.เครื่องปรุง เกลือ น้ำปลา ผงชูรส ซีอิ๊วขาว กะปิ เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ซอสปรุงรสต่างๆ เครื่องแกง น้ำจิ้มชนิดต่างๆ น้ำพริกทุกชนิด อาหารสำเร็จ
2.กลุ่มข้าวแป้ง ข้าวเหนียวมูล กะทิ ขนมปัง บะหมี่ต่างๆ ข้าวโพดคั่วปรุงแต่งรส ข้าวโพดต้ม (ชุบน้ำเกลือ) ข้าวเม่า ข้าวเกรียบชนิดต่างๆ

เลี่ยงอาหารโซเดียมสูง

3.เนื้อสัตว์ปรุงรส อาหารประเภทเนื้อสัตว์ทุกชนิดที่หมัก ดอง ถนอมอาหารด้วย เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว และของเค็มทุกชนิด รวมถึงซุปไก่สกัดต่างๆ
4.ไข่ ไข่เค็ม ไข่เยี่ยวม้า ไข่ดอง
5.นม นมเติมโกโก้ ช็อกโกแลต ไอศกรีมที่เติมโซเดียม แอลลิเมต (ทำให้ไอศกรีมเนื้อละเอียด)
6.ผลไม้ ผลไม้ที่มีการแปรรูปและปรุงแต่งต่างๆ เช่น หมัก ดอง แช่อิ่ม ผลไม้กระป๋อง ฯลฯ
7.ผักปรุงรส ผักดองเปรี้ยวหรือเค็ม ผักกระป๋อง ผักอบกรอบหรือทอดกรอบใส่เกลือหรือปรุงรส

เลี่ยงอาหารโซเดียมสูง

8.ไขมัน เนยแข็งและเนยเทียมที่ใส่เกลือ น้ำสลัดข้น/ใส มายองเนส เนยถั่วลิสง น้ำมันจากเบคอน
9.อาหารหวาน ของหวานทุกอย่างที่ใส่เกลือ ผงฟู (โซเดียมไบคาร์บอเนต) เช่น เบเกอรี่ ของหวานที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ

วิธีลดการบริโภคโซเดียม
1.ลดปริมาณการใช้เครื่องปรุงรส เครื่องจิ้มต่างๆ
2.งดการซดน้ำซุป น้ำแกง และตักราดข้าว
3.ชิมอาหารก่อนเติมทุกครั้ง พยายามไม่เติมเพิ่ม ไม่เติมพริกน้ำปลา
4.ปรุงอาหารด้วยสมุนไพร เครื่องเทศ เช่น พริก ยี่หร่า ตะไคร้ ใบมะกรูด

ดูปริมาณโซเดียมจากฉลากโภชนาการทุกครั้งก่อนซื้ออาหาร

ขอบคุณ สถาบันโรคทรวงอก