เปิดตำนาน พญาคันคาก กับความเชื่อโบราณ

28 กุมภาพันธ์ 2567

วันนี้รายการปาฏิหาริย์ ช่วงเจนจิราหามาเล่า จะพาทุกคนย้อนกลับไปฟัง ตำนาน พญาคันคาก กับความเชื่อโบราณ มีความเกี่ยวข้องยังไงกับบั้งไฟพญานาค ปัจจุบันเป็นแลนด์มาร์คแห่งเดียวในโลก ไปติดตามได้เลยค่ะ

เปิดตำนาน พญาคันคาก กับความเชื่อโบราณ ต้องบอกก่อนเลยว่าคนสมัยก่อนมีความเชื่อในเรื่องของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มองไม่เห็น บูชาสิ่งที่มองไม่เห็น วันนี้เราจะพาไปเปิดตำนาน พญาคันคาก กับความเชื่อโบราณ เรื่องราวจะมีประมาณนี้

เปิดตำนาน พญาคันคาก กับความเชื่อโบราณ

พญาคันคาก หรือ คางคกยกรบ เรื่องมีอยู่ว่า ตำนานพื้นบ้านของไทยแฝงอยู่ในประเพณีดังอย่างเช่น บุญบั้งไฟ หรือ เทศกาลบุญบั้งไฟ ที่เรารู้จักกันนั่นเอง พญาคันคาก คือ คางคก ในภาษาอีสานบ้านเรา เป็นโอรสของกษัตริย์ที่มีผิวพรรณเหมือนคางคก แต่อาสาไปออกรบกับพญาแถน เทวดาบนสวรรค์ ซึ่งเป็นเทพแห่งฝน เพื่อให้ฟ้าฝนตกลงมาดังเดิม เมื่อรบชนะก็ตกลงกันว่า ให้จุดบั้งไฟเป็นสัญญาณขอฝน ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่ประเพณีบุญบั้งไฟอันโด่งดังของจังหวัด

เปิดตำนาน พญาคันคาก กับความเชื่อโบราณ

อีกตำนานหนึ่งเล่าว่า นางไอ่เป็นธิดาพระยาขอมผู้ครองเมืองชะธีตา นางไอ่เป็นสตรีที่มีสิริโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือไปในนครต่าง ๆ ทั้งโลกมนุษย์และบาดาล มีชายหนุ่มหมายปองจะได้อภิเษกกับนางมากมาย ในจำนวนผู้ที่มาหลงรักนางไอ่ มีท้าวผาแดงและท้าวพังคี โอรสสุทโธนาค เจ้าผู้ครองนครบาดาล ท้าวทั้งสองต่างเคยมีความผูกพันกับนางไอ่มาแต่อดีตชาติ จึงต่างช่วงชิงจะได้เคียงคู่กับนาง แต่ก็พลาดหวัง จึงมิได้อภิเษกทั้งคู่เพราะแข่งขันบั้งไฟแพ้

ท้าวพังคีนาคไม่ยอมลดละ แปลงกายเป็นกระรอกเผือกคอยติดตามนางไอ่ สุดท้ายถูกฆ่าตาย พญานาคผู้เป็นพ่อจึงขึ้นมาถล่มเมืองล่มไป กลายเป็นหนองน้ำใหญ่ คือ หนองหาน หนองหานในตำนานท้าวผาแดงนางไอ่ ที่เป็นที่ถกเถียงกันว่าที่ไหนกันแน่ มีอยู่ถึง 3 ที่ ได้แก่ หนองหาน ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และหนองหาน อำเภอกุมภวาปี ซึ่งก็ไม่ไกลจากที่แรกมากนัก และอีกที่หนึ่งก็คือหนองหาร จังหวัดสกลนคร

เปิดตำนาน พญาคันคาก กับความเชื่อโบราณ

ในตำราอ้างอิงถึงเรื่องผาแดงนางไอ่จบลงด้วยการเกิดเป็นหนองน้ำ ขนาดใหญ่จากการต่อสู้ของพญานาคกับท้าวผาแดง ต่างก็มีข้อมูลอ้างอิงถึง หนองน้ำที่ชื่อหนองหาน แต่กล่าวต่างกันไปในตำราแต่ละเล่มถึงหนองน้ำ ทั้ง 3 แห่ง

สำหรับ พญาคันคาก ปัจจุบันเป็นแลนด์มาร์คประจำจังหวัด ยโสธร มี อาคารพญาคันคาก ที่เป็นจุดสนใจของนักท่องเที่ยวนั้น สร้างขึ้นเป็นรูปร่างพญาคันคาก มีความสูง 19 เมตร ภายในอาคารประกอบด้วยพื้นที่จัดนิทรรศการจำนวน 5 ชั้น ได้แก่

ชั้นที่ 1 แสดงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเมืองยโสธร
ชั้นที่ 2 ตำนานพญาแถนและพญาคันคาก
ชั้นที่ 3 ตำนานและเรื่องราวของบั้งไฟ
ชั้นที่ 4 อัตลักษณ์เมืองยโสธร
ชั้นที่ 5 จุดชมวิวเมืองยโสธร

ไม่ได้มีแค่ประเทศไทยเท่านั้นที่มีความเชื่อเกี่ยวกับสัตว์ เท่าที่ค้นคว้าข้อมูลก็พบว่า ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามในนิทานก็ยกให้ กบ หรือ คางคก เป็นราชาแห่งสวรรค์ ส่วนไทยลาวก็คือพญาแถนหรือผีฟ้า เมื่อบุกไปแล้วเจรจาไม่รู้เรื่องก็ต้องรบกัน ในที่สุดคางคกชนะพญาแถน และเป็นผู้กำหนดให้พญาแถนต้องส่งน้ำฟ้าลงมาเมื่อคางคกร้องนั่นเอง 

เปิดตำนาน พญาคันคาก กับความเชื่อโบราณ