ตำนานเขาสามมุข ความเชื่อเรื่องความรัก มีที่มาอย่างไร

03 กุมภาพันธ์ 2566

ตำนานเขาสามมุข ตำนานที่เชื่อกันว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับความรัก การขอพรของชาวบ้านและชาวประมงในพื้นที่ และนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมาอยู่ตลอด ส่วนตำนานจะเป็นอย่างไร ห้ามพลาด

ตำนานเขาสามมุก สถานที่สวยงาม เหมาะแก่การท่องเที่ยวพักผ่อนนั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร วันนี้ทีมข่าว Thainews Online จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักที่มาและความสำคัญ ความเชื่อเกี่ยวกับ เขาสามมุข กัน และการขอพรนั้นโดยปกติแล้วต้องเอาอะไรไปถวาย เพื่อให้สิ่งที่ขอนั้นสมปรารถนา จะเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูกัน

ตำนานเขาสามมุข ความเชื่อเรื่องความรัก มีที่มาอย่างไร

ตำนานเขาสามมุข ความเชื่อเรื่องความรัก ที่ชาวบ้านและชาวประมงนับถือ ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสถานที่ท่องเที่ยวที่แวะเวียนกันมาอย่างไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะเป็นชาวประมงที่มาขอพรก่อนออกเดินเรือไปหาปลา หรือการบนบานศาลกล่าวสิ่งต่างๆให้สำเร็จผล เป็นความเชื่อมาตั้งแต่สมัยโบราณ รวมถึงวิวทะเลสวยๆ บนเขาสามมุข ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามอีกที่หนึ่งเลยก็ว่าได้ และยังมีตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับเขาสามมุขแห่งนี้ จะเป็นอย่างไรนั้น ไปติดตามกันเลย

ตำนานเขาสามมุก

ตำนานมีอยู่ว่า เมื่อปลายรัชสมัยกรุงศรีอยุธยา ก่อนที่จะมีชายหาดบางแสน มีกำนันคนหนึ่งชื่อว่า กำนันบ่าย กำนันนั้นมีลูกชายอยู่คนหนึ่ง ชื่อว่าแสน ช่วงเวลาว่างๆ แสนก็จะชอบไปเล่นว่าวแถวชายหาดเป็นประจำ กำนันบ่ายเมื่อเห็นลูกชายควรเหมาะสมที่จะมีภรรยาได้แล้ว จึงได้หมายสาวงามในหมู่บ้านไว้ให้แสน ชื่อว่า มะลิ ซึ่งมะลินั้นครอบครัวมีฐานะดี แต่แสนก็บ่ายเบี่ยงมาตลอด ทางด้านหน้าผาริมทะเล มีหญิงชราคนหนึ่งได้อาศัยอยู่ในกระท่อมหลังเล็กๆ กับหลานสาวที่มีชื่อว่า สามมุก มาจากเมืองบางปลาสร้อย นางเป็นคนสวย ทำให้ชายหนุ่มที่เห็นก็ต่างหลงรักนาง แต่สามมุกก็ไม่ได้สนใจชายคนไหน 

ตำนานเขาสามมุข ความเชื่อเรื่องความรัก มีที่มาอย่างไร

ช่วงเย็นวันหนึ่งสามมุกก็จะออกมานั่งริมหน้าผาเพื่อชมวิวทะเลอยู่เป็นประจำ ในวันหนึ่งที่สามมุกกำลังนั่งเล่นรับลมชมวิวทะเลอยู่ ก็ได้มีลมพัดว่าวปักเป้าตัวหนึ่งขาดลอยมา พอนางเห็นว่าวถูกพัดปลิวมาตามลมจึงได้รีบคว้าสายป่านว่าวนั้นไว้ แสนที่เป็นเจ้าของว่าว เมื่อเห็นว่าวของตนที่ขาดถูกลมพัดมาทางนี้ก็ได้ปีนโขดหินตามหน้าผาขึ้นมาตามหาว่าว และนั้นเองจึงทำให้แสนได้เจอกับสามมุก และหลังจากนั้นก็ได้นัดกันมาที่หน้าผานี้บ่อยครั้งจนกลายเป็นความรัก และได้ให้คำมั่นสัญญาต่อกันว่า “จะรักกันอย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย หากว่ามีเหตุอันเป็นไปไม่สมรักดังหวังแล้ว ก็จะพากันโดดหน้าผาแห่งนี้ตาย” และแสนก็ได้มอบแหวนวงหนึ่งให้สามมุกไปเพื่อเป็นตัวแทนในคำมั่นสัญญาเครื่องความรัก 

แต่มาวันหนึ่งกำนันบ่ายพ่อของแสนก็ได้รับรู้เรื่องราว กำนันบ่ายก็ไม่ชอบสามมุก มองสามมุกว่าต่ำต้อย ทำให้ทั้งสองนั้นโดนกีดกันเรื่องความรักถูกห้ามไม่ให้พบเจอกันอีก และกำนันบ่ายก็ได้รีบร้อนที่จะสู่ขอมะลิสาวชาวบ้านที่ฐานะดี ที่เคยมั่นหมายไว้ให้กับแสน พร้อมจัดงานแต่งงานทันที เมื่อสามมุกรู้ข่าวการแต่งงานของแสนกับมะลิ ก็เสียใจน้อยอกน้อยใจว่าแสนนั้นละเลยคำสัญญาที่ได้ให้กันไว้ ร้องให้แทบขาดใจ  ในวันแต่งงานของแสนกับมะลินั้นมีพายุฝนเข้าพอดี สามมุกก็ได้เดินเข้าไปรดน้ำสังข์แสน นำสังข์ที่รดอยู่นั้นก็ได้มีแหวนตกลงมา ซึ่งนั้นก็คือแหวนที่แสนได้ให้กับสามมุกไว้ แสนจึงรีบเงยหน้าขึ้นมา ก็เห็นเพียงสามมุกกำลังวิ่งออกไปท่ามกลางฝนพายุ แสนจึงนึกได้เรื่องคำสัญญาจึงได้วิ่งตามสามมุกออกไปที่หน้าผา แต่ก็ไม่ทัน สามมุกนั้นโดดลงหน้าผาลงมาตายที่ริมทะเล เมื่อเห็นแบบนั้นแสนก็ได้โดหน้าผาลงไปหาสามมุก และทั้งคู่ก็ได้สิ้นลมหายใจเคียงข้างกัน ทางกำนันบ่ายเมื่อรู้เรื่องก็เศร้าเสียใจ จึงได้ขอตั้งชื่อหน้าผาแห่งนี้ว่า สามมุก หรือ เขาสามมุข ที่ใช้เรียกกันในปัจจุบัน เพื่อเป็นการระลึกถึงนางผู้พลีชีพเพื่อรักอันซื่อสัตย์ และตั้งชื่อหาดทรายริมทะเลตรงนั้นว่า บางแสน

มีคนเล่ากันว่า "ตอนกลางคืนจะเห็นร่างหญิงสาวยืนอยู่ ตรงหน้าผานั้น" จึงได้ร่วมด้วยช่วยกันสร้างศาลขึ้น เพื่อเป็นที่สิงสถิตและเป็นที่เคารพสักการะแก่ชาวบ้าน เมื่อเวลาจะออกทะเล มักจะจุดประทัดบนบานขอให้ได้ปลากลับมาเต็มเรือ อย่าให้มีลมพายุ ถ้าเจอพายุในทะเลก็ขอให้อยู่รอดปลอดภัย โดยมักจะเซ่นไหว้ด้วยมะพร้าวอ่อน ขนมเปี๊ยะ และผลไม้ หากขอด้านการค้าขายจะบนบานเป็นมะพร้าวอ่อน ขนมครก ว่าว พวงมาลัย ผลไม้ หากเป็นการบนบานเรื่องต่างๆ ให้สำเร็จผล ก็ให้มาแก้บนตามที่ตนได้บนบานไว้

ตำนานเขาสามมุข ความเชื่อเรื่องความรัก มีที่มาอย่างไร

เรื่องเล่าตำนานเขาสามมุข เชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์จากความรักทั้งสองคน ช่วยให้คนที่ไปกราบไหว้ร่มเย็นเป็นสุข ชาวบ้านและชาวประมงที่จะออกเรือไปหาปลาก็จะมาขอพรเพื่อไม่ให้เจอพายุ ถ้าเจอก็ขอให้ปลอดภัย หรือการบนบานขอในเรื่องอื่น พอสำเร็จก็จะพากันมาแก้บนบริเวณนี้อยู่บ่อยครั้ง และบทความนี้เป็นความเชื่อส่วนบุคคลโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยนะคะ