"หมอธีระ" เผยผลวิจัยข้อมูล ภาวะลองโควิด น่าห่วงปัญหาหัวใจและหลอดเลือด

17 มีนาคม 2565

"หมอธีระ" เผยผลวิจัยข้อมูล ภาวะลองโควิด (Long COVID) ที่ส่งให้เกิดปัญหาหัวใจและหลอดเลือด จำเป็นที่ทุกประเทศต้องมีการวางแผนรับมือ

"หมอธีระ" หรือ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาพูดถึง สถานการณ์โควิด-19 ผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า 

17 มีนาคม 2565 ทะลุ 463 ล้าน เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,623,730 คน ตายเพิ่ม 4,807 คน รวมแล้วติดไปรวม 463,182,124 คน เสียชีวิตรวม 6,079,600 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ เยอรมัน ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และอิตาลี
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก

หมอธีระ เผยผลวิจัยข้อมูล ภาวะลองโควิด น่าห่วงปัญหาหัวใจและหลอดเลือด

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 88.77 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 67.77

หมอธีระ เผยผลวิจัยข้อมูล ภาวะลองโควิด น่าห่วงปัญหาหัวใจและหลอดเลือด

การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 35.5 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 23.27ชสถานการณ์ระบาดของไทย เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 10 ของโลก และอันดับ 3 ของเอเชียในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 18 ของโลกชอัพเดต Long COVID

หมอธีระ เผยผลวิจัยข้อมูล ภาวะลองโควิด น่าห่วงปัญหาหัวใจและหลอดเลือด

1. งานวิจัยจากซาอุดิอาระเบียพบ Long COVID สูงถึง 47.5% Garout MA และคณะ จากประเทศซาอุดิอาราเบีย ศึกษาในคนที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 744 ราย ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงธันวาคม 2564 โดยมีเพศชายและหญิงจำนวนพอๆ กัน และประกอบด้วยกลุ่มที่ติดเชื้อแล้วไม่มีอาการ 11%, อาการน้อยถึงปานกลาง 67% และอาการรุนแรง 22% 

หมอธีระ เผยผลวิจัยข้อมูล ภาวะลองโควิด น่าห่วงปัญหาหัวใจและหลอดเลือด

ผลการศึกษาพบว่า คนที่เคยติดเชื้อมาก่อนนั้นประสบปัญหา Long COVID หรือ Post-COVID syndrome สูงถึง 47.5% โดยครึ่งหนึ่งจะมีอาการผิดปกติตั้งแต่ 2 อย่างขึ้นไปงานวิจัยนี้ตอกย้ำให้เราต้องระมัดระวัง ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ ไม่ติดเชื้อย่อมดีที่สุด

 

2. American College of Cardiology ออกแนวทางการจัดการภาวะ Long COVID ที่ส่งให้เกิดปัญหาหัวใจและหลอดเลือด เมื่อวานนี้ 16 มีนาคม 2565 วารสารการแพทย์โรคหัวใจของอเมริกา (Journal of the American College of Cardiology) เผยแพร่บทสรุปการหารือของผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจจาก The American College of Cardiology เป็นแนวทางสำหรับใช้ในการประเมินผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดตามมา ใช้ชื่อว่า Post-acute Sequelae of SARS-CoV-2 Infection (PASC) ซึ่งหมายถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นต่อเนื่องหรือหลังจากการติดเชื้อมาแล้วตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป และเกิดขึ้นได้ในหลายระบบของร่างกาย ดังที่เรารู้จักในชื่อที่ใช้กันบ่อยคือ Long COVID

หมอธีระ เผยผลวิจัยข้อมูล ภาวะลองโควิด น่าห่วงปัญหาหัวใจและหลอดเลือด

โดยความผิดปกติด้านหัวใจและหลอดเลือดนั้นแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ โรค (PASC-CVD) และอาการ (PASC-CVS)

ทั้งนี้มีการระบุรายละเอียดแนวทางการตรวจประเมิน วินิจฉัย และดูแลรักษาภาวะต่างๆ ข้างต้นไว้อย่างละเอียด 

นี่จึงเป็นเรื่องตอกย้ำให้เรารู้ว่า Long COVID หรือ PASC นั้นเป็นเรื่องสำคัญ จริงจัง ส่งผลต่อคนจำนวนมาก และจำเป็นที่ทุกประเทศต้องมีการวางแผนรับมือ ทั้งในแง่บุคลากรทางการแพทย์ ทรัพยากรในระบบสาธารณสุข รวมถึงการให้ความรู้ที่ถูกต้อง ทันสมัย แก่ประชาชน เพื่อให้เกิดความตระหนักในการป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ 

หมอธีระ เผยผลวิจัยข้อมูล ภาวะลองโควิด น่าห่วงปัญหาหัวใจและหลอดเลือด

นอกจากนี้กลุ่มประชากรที่เคยติดเชื้อมาก่อนจำนวนมากนั้นก็จำเป็นจะต้องหมั่นตรวจตราตรวจสอบตนเองว่าเกิดความผิดปกติในร่างกายและจิตใจ อันน่าจะมาจาก Long COVID หรือ PASC หรือไม่  หากมี ก็ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจรักษาโดยเร็ว จะได้ลดความเสี่ยงต่อการทุพพลภาพและเสียชีวิต...ด้วยความห่วงใย

 

cr. Thira Woratanarat