Future-ready Thailand จาก "อาร์ม" CEO BRANDi เตรียมพร้อมรับมืออนาคต

Future-ready Thailand จาก "อาร์ม" CEO BRANDi นักธุรกิจไทยหนึ่งเดียวในสภาที่ปรึกษาอนาคตแห่ง World Economic Forum
เมื่อวันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2567 ณ BRANDi HopeQuarter, 111 ประดิษฐ์มนูธรรม คุณอาร์มได้สะท้อนมุมมองในการสร้าง "Future-ready Thailand" เพื่อให้ประเทศไทยมีความพร้อมต่อความผันผวนต่าง ๆ และสิ่งที่จะคาดเดาได้ยากยิ่งขึ้นในอนาคต
มากกว่า 11 ปี BRANDi ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ระดับองค์กร เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต และการเติบโตอย่างยั่งยืน ได้ทรานส์ฟอร์มองค์กรในมากกว่า 23 อุตสาหกรรม ยกตัวอย่าง อุตสาหกรรมพลังงาน การเงิน หรือการศึกษา ให้เปลี่ยนกลไกในการดำเนินงานที่มุ่งเน้นการเติบโตเพียงอย่างเดียวไปสู่การให้ความสำคัญกับสังคม และสิ่งแวดล้อม ไปพร้อม ๆ กับการสร้างเติบโตของตัวเอง
และนอกจากศักยภาพที่เป็นที่ประจักษ์ในประเทศของ BRANDi แล้ว คุณอาร์มเองถือว่าเป็น Global Thought Leader ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก จากความร่วมมือกับนานาองค์กรระดับโลก ยกตัวอย่าง United Nations (UN), World Economic Forum (WEF), World Bank Group (WBG), International Monetary Fund (IMF) และอื่น ๆ อีกมากมาย ที่ครอบคลุมทั้งในมิติ Financial System, Economic Growth และ Sustainable Development
ด้วยองค์ความรู้ที่ครอบคลุมในทุกมิติ และการเห็นความเป็นไปของโลกครบทุกด้าน คุณอาร์มและ BRANDi จึงได้มองเห็นความเป็นไปได้ของสิ่งต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น และได้ชี้แนะการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต หรือหมายถึงคำว่า “Future-ready” นั่นเอง
ในปัจจุบันนี้ มีปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่ส่งผลกระทบต่อโครงเศรษฐกิจ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม ภูมิศาสตร์ทางการเมือง ความเหลื่อมล้ำ หรือการแพร่ระบาดของ Covid-19 ที่ผ่านมา การเติบโตอย่าง Resilience อาจไม่เพียงพออีกต่อไป แต่เศรษฐกิจสำหรับอนาคตต้องมีความเป็น Future-ready
และเมื่อมองในบริบทที่ใกล้ตัวมากขึ้น ซึ่งคือการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตของประเทศไทย หรือ Future-ready Thailand คุณอาร์มได้กล่าวว่า การที่ประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านจากการเติบโตที่เปราะบางหรือไม่แน่นอน ไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืนนั้น สามารถทำได้อยู่สามระดับใหญ่ ๆ ได้แก่
1. การปรับจุดยืนของแบรนด์ หรือ Re-positioning
เปลี่ยนจากการ Capture Trend เป็นการ Capture Value
2. การปรับโมเดลของตลาด หรือ Re-modeling
เปลี่ยนจากการสร้างผลกำไร (Profitability Incentive) เป็นการสร้างผลกระทบเชิงบวก (Impact Incentive)
3. การปรับระบบของเศรษฐกิจ หรือ Re-engineering
เปลี่ยนจากการเติบโตโดยพึ่งพาทรัพยากร (Natural Resource-dependent Growth) เป็นการเติบโตโดยพึ่งพาทุนมนุษย์ (Human Capital-dependent Growth)
นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญภายในงาน คือการเปิดการเปิดตัว 3 เมนูแรกจาก "SDG Café by BRANDi" คาเฟ่เชิงสัญลักษณ์แห่งแรกแห่งเดียวของโลกที่มุ่งทำให้ Sustainable Development Goal หรือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของ United Nations เป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยเมนูได้ถูกรังสรรค์ให้มีความเชื่อมโยงกับ SDG ทั้ง 17 ข้อ จากความร่วมมือกับบาริสต้าผู้ชนะเลิศจากการแข่งขัน Thailand National Barista Championship สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมของ SDG Café by BRANDi สามารถติดตามได้เร็ว ๆ นี้
ในช่วงท้ายคุณอาร์ม ได้ฝากถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนว่า หัวใจสำคัญของการทำให้ประเทศไทยมีความพร้อมต่ออนาคต คือโครงสร้างของเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ ผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม และทุนมนุษย์ที่มีความสามารถ ซึ่งทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ ภาคเอกชน หรือประชาชนเอง ล้วนเป็นส่วนสำคัญที่จะขับเคลื่อนสิ่งเหล่านี้ให้ไปข้างหน้าได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

โหรดังเคาะราหูย้าย! ราศีดวงพลิกจากหนักสุด เป็นดีสุด รวยที่สุด

"แทค ภรัณยู" โพสต์ตรง ๆ ถึง "ด็อกคนนึง" ที่ชอบวิจารณ์ท่าเต้น ลิซ่า

ราคาทองวันนี้ 5 พฤษภาคม 2568 ราคาทองปรับตัวอีก ครั้งที่ 12

อาลัย "น้องแซม" อดีตแดนเซอร์หมอลำวงดัง จากไปอย่างกะทันหัน
