เปิดข้อมูล "ว่านจั๊กจั่น" หลายคนเชื่อเป็น วัตถุมงคล ห้ามกินอาจถึงชีวิตได้

29 มีนาคม 2567

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) เปิดข้อมูล ว่านจั๊กจั่น หลายคนเชื่อเป็น วัตถุมงคล ห้ามกินเด็ดขาด อาจถึงชีวิตได้

 สำหรับ "ว่านจั๊กจั่น" หรือมีอีกชื่อที่เหล่าสายมูเรียกว่า "ว่านต่อเงินต่อทอง" ตามความเชื่อของหลายคนมักนิยมเอาไปปลุกเสกก่อน พุทธคุณในเรื่องเมตตา การงาน ค้าขาย ล่าสุดศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ออกมา "เปิดข้อมูล "ว่านจั๊กจั่น" หลายคนเชื่อเป็น วัตถุมงคล ห้ามกินอาจถึงชีวิต" โดยระบุว่า

เปิดข้อมูล ว่านจั๊กจั่น หลายคนเชื่อเป็น วัตถุมงคล ห้ามกินอาจถึงชีวิตได้

ช่วงหน้าฝนอย่างนี้อะไรก็งอกงามไปหมด ไม่เว้นแม้แต่วัตถุมงคลนามว่า "ว่านจั๊กจั่น" ก็ยังงอกจากดินในช่วงหน้าฝน !!!

เรื่องอย่างนี้มีด้วยหรือ??? ช่างน่าสงสัยเหลือเกินว่าวัตถุมงคลอะไรจะงอกจากดินได้?? แล้วว่านจั๊กจั่น เป็นวัตถุมงคลตามความเชื่อจริงๆ หรือ??

จากข้อมูลตามความเชื่อของคนโบราณ เชื่อว่าว่านจั๊กจั่น หรือ พญาว่านต่อเงินต่อทอง เป็นว่านกึ่งพืชกึ่งสัตว์ประเทภเดียวกับพวกมักกะีลีผล ผู้ใดมีบูชาก็จะมีทรัพย์สินงอกเงยไม่ขาดมือ

  เปิดข้อมูล ว่านจั๊กจั่น หลายคนเชื่อเป็น วัตถุมงคล ห้ามกินอาจถึงชีวิตได้

แต่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ได้ชี้ชัดไปแล้วว่า เจ้าว่านจั๊กจั่น ที่หลายคนบูชานี่ที่แท้แล้วคือ จั๊กจั่นที่ตายแล้วจากการติดเชื้อรา ไม่มีส่วนไหนที่เป็นว่านหรือพืชเกี่ยวข้องตามที่เข้าใจ

"จั๊กจั้นจะติดเชื้อราในขณะที่เป็นตัวอ่อนในช่วงที่ขึ้นมาลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยเหนือดิน ในระยะนี้จั๊กจั่นจะอ่อนแอมาก ร่วมด้วยช่วยกันกับอากาศชื้นจากหน้าฝนที่มีความชื้นสูง ทำให้เชื้อราที่แพร่กระจายได้ดีในอากาศ เมื่อเชื้อราตกลงไปอยู่บนตัวจั๊กจั่นผู้อ่อนแอ ภูมิต้านทานต่ำ จึงทำให้เชื้อราสามารถแทงเส้นใยเ้ข้าไปและงอกงามภายใจตัวจั๊กจันได้ดี โดยดูดน้ำเลี้ยงในตัวจั๊กจั่นเป็นอาหาร และทำให้จั๊กจั่นตายในที่สุด

...เมื่อจั๊กจั่นตายแล้วเชี้อราหมดทางหาอาหารได้จึงต้องพยายามไปหาอาหารที่อื่น โดยการสร้างโครงสร้างสืบพันธุ์ที่มีลักษณะเหมือนเขายืดขึ้นเหนือพื้นดิน (ลักษณะที่เหมือนเขาของว่านจั๊กจั่น) สปอร์ หรือ หน่วยสืบพันธุ์ที่ติดอยู่บริเวณปลายเขาที่สร้างขึ้นเหนือพื้นดิน จะต้องอาศัยลมหรือน้ำในการพัดพาให้ไปตกอยู่ในที่อื่นๆ เพื่อค้นหาจั๊กจั่นโชคร้ายตัวต่อไป"

เชื้อราที่มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในตัวแมลงที่มีชีวิต จัดอยู่ในประเภท เชื้อราทำลายแมลง ราชนิดนี้นักวิจัยสันนิษฐานว่าเป็นเชื้อราสายพันธุ์ Cordyceps sobolifer

จากการศึกษาของนักวิจัยจากไบโอเทคพบว่ามีราทำลายแมลงในประเทศไทยมากกว่า 400 ชนิด พบได้ทั้งบนหนอน แมลงวัน มวน เพลี้ย ผีเสื้อ ปลวก แมลงปอ แมงมุม มด เป็นต้น

โดยสำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ก็ระบุว่า สำหรับประเทศไทยมีรายงานว่าว่านจั๊กจั่นมีความใกล้เคียงกับราชนิด Ophiocordyceps sobolifera กินแล้วคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ชัก กล้ามเนื้อเกร็งกระตุก ดวงตาหมุนวนไปรอบๆ ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน อ่อนแรงใจสั่น และเวียนศีรษะ และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ขอบคุณ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ