ประกาศเตือนภัยลิงก์อันตราย มิจฉาชีพใช้หลอกดูดเงิน

27 กุมภาพันธ์ 2567

ในสังคมยุคปัจจุบันมิจฉาชีพมาหลอกหลวงในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น เราจึงต้องระมัดระวังไม่ให้ตกเป็นเหยื่อเด็ดขาดเพื่อป้องกันไม่ให้ทรัพย์สินสูญเสียหรือเสียหายได้

ปัจจุบันมิจฉาชีพมักหากลโกงใหม่ ๆ มาใช้ในการหลอกลวงให้เหยื่อหลงเชื่อ โดยการนำลิงก์รูปแบบต่าง ๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ซึ่งหากหลงเชื่อกดลิงก์ กรอกข้อมูล หรือติดตั้งแอปพลิเคชันจากลิงก์ดังกล่าว ก็จะทำให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ถูกดูดเงินออกจากบัญชีได้

ประกาศเตือนภัยลิงก์อันตราย มิจฉาชีพใช้หลอกดูดเงิน

โดยลิงก์ที่มิจฉาชีพมักนำมาใช้มี 5 รูปแบบ ดังนี้

1. ลิงก์ดูดเงิน มิจฉาชีพจะหลอกให้กรอกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางการเงิน หรือติดตั้งแอปพลิเคชันเพื่อทำธุรกรรมถอนเงินจากบัญชีของเหยื่อ โดยแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น อ้างว่าได้รับเงินคืนมิเตอร์ไฟฟ้า เป็นต้น

2. ลิงก์หลอกให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล มิจฉาชีพจะส่งลิงก์เว็บไซต์ปลอมที่มีรูปแบบคล้ายกับเว็บไซต์ของจริง หลอกให้กรอกข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลบัญชีผู้ใช้ หรือรหัสผ่าน

3. ลิงก์หลอกลงทุน มิจฉาชีพจะส่งลิงก์เว็บไซต์ปลอมหรือติดตั้งแอปพลิเคชันลงทุนปลอมหลอกให้ลงทุน อ้างว่าจะได้ผลกำไรสูงในเวลาอันสั้น มีการนำภาพนักธุรกิจหรือองค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาประกอบเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ

ประกาศเตือนภัยลิงก์อันตราย มิจฉาชีพใช้หลอกดูดเงิน

4. ลิงก์เว็บพนัน มิจฉาชีพจะส่งลิงก์เว็บไซต์การพนันออนไลน์ ซึ่งจะมีทั้งเว็บไซต์จริงและเว็บไซต์ปลอม โดยหลอกล่อให้เข้าไปเล่นพนัน หากหลงเชื่อเข้าไปเล่น นอกจากจะเสียทรัพย์สินแล้ว ยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอีกด้วย

5. ลิงก์เงินกู้ปลอมหรือผิดกฎหมาย มิจฉาชีพจะส่งลิงก์เว็บไซต์หรือบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ หลอกลวงให้โอนเงินค่าใช้จ่ายในการกู้เงินก่อน แต่ไม่ได้รับเงินจริง หรืออาจเป็นบัญชีของกลุ่มเงินกู้นอกระบบ เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราและมีการทวงหนี้โดยผิดกฎหมาย

ประกาศเตือนภัยลิงก์อันตราย มิจฉาชีพใช้หลอกดูดเงิน

ขอบคุณ : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ