"หมอธีระวัฒน์" ประกาศเลิกพูดเรื่อง white clot ยันไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ

21 กุมภาพันธ์ 2567

"หมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา" ประกาศจะเลิกพูดเรื่อง white clot แต่ยังให้ความสำคัญกับผลกระทบของวัคซีน ยืนยันไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ

วันที่ 21 ก.พ. 67 "หมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา" เคลื่อนไหวผ่านเฟซบุ๊กเพจ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุว่า ประกาศให้ทราบทั่วกันนะครับ

เนื่องจากเรื่องของwhite clot กับวัคซีน เป็นเรื่องที่มีความเห็นต่างและโต้แย้งกันอย่างมาก ทั้งเอาหลักฐานที่จะดิสเครดิตตัวบุคคลรวมทั้งเจ้าของช่อง YouTube ว่าเป็น คนต่อต้านวัคซีน (รวมทั้งตัวหมอเองด้วย) ซึ่งก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้น

และท่านก็เป็นอาจารย์ทางการพยาบาลแต่ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยทางการแพทย์และศาสตราจารย์ของประเทศอังกฤษมาอย่างยาวนานและในระบบ NHS

หมอจะเลิกพูดถึงเรื่องwhite clot นี้ เพราะได้ให้เรื่องราวตามนั้นแล้ว

หมอธีระวัฒน์ ประกาศเลิกพูดเรื่อง white clot ยันไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ

แต่ยังให้ความสำคัญกับผลกระทบของวัคซีนที่มีผลต่อการเสียชีวิตความพิการที่เราดูแลอยู่โดยจุดประสงค์เพื่อการรักษาเยียวยาผู้ป่วยและครอบครัวและเพื่อให้วัคซีนที่เราต้องใช้นั้นมีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงสุดอย่างที่ต้องเป็นตามมาตรฐานครับ

บทความและข้อความที่เผยแพร่ไม่เข้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของคนป่วย

หมอไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ สามารถตรวจสอบได้ว่าไม่เคยรับเงินในการ promote หรือมีเอี่ยวกับสถาบันใด หรือผลิตภัณฑ์ใด

ในส่วนของการได้รับเงินจากโรงพยาบาลสมิติเวชสุขุมวิทจากการให้คำแนะนำทางวิชาการเรื่องทางสมองและเงินจำนวน 200,000 บาทนั้น ให้ส่งให้มูลนิธิคณะแพทยศาสตร์จุฬาเพื่อนำมาใช้ในงานวิจัยและบุคลากรที่ทำงานวิจัยโดยมีหลักฐานชัดเจน

ขอบพระคุณทุกท่าน เป็นอย่างสูงครับ

หมอธีระวัฒน์ ประกาศเลิกพูดเรื่อง white clot ยันไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนใดๆ

ทั้งนี้ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ระบุว่า การพบลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดของศพมีสาเหตุมาจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือไม่

ปรับปรุง 21 ก.พ. 2567 เวลา 16:41

มีวิดีโอยูทูปที่ชื่อ "เสียชีวิตกะทันหัน 2022 (died suddenly 2022) " เผยแพร่สะพัดบนโซเชียลมีเดียเมื่อปี 2565 หรือ 2 ปีที่แล้ว โดยอ้างว่าพบลิ่มเลือดหลังการชันสูตรศพเป็นหลักฐานสำคัญแสดงให้เห็นว่าฝ่ายหนึ่งมีแผนลดจำนวนประชากรโลกโดยใช้การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่ไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีนี้

วิดีโอดังกล่าวนำเสนอว่ามีผู้ฉีดยารักษาศพและผู้อำนวยการงานศพจำนวนหนึ่งเปิดเผยว่าพบลิ่มเลือดขนาดใหญ่ในศพถือเป็นความผิดปกติที่ไม่เคยพบมาก่อน และคาดว่าเกิดจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนได้หักล้างคำกล่าวอ้างเหล่านี้ โดยระบุว่าลิ่มเลือดดังกล่าวดูเหมือนจะเป็นลิ่มเลือดที่พบบ่อยหลังการชันสูตรพลิกศพ

สมาคมผู้อำนวยการงานศพแห่งชาติ(สหรัฐ)เน้นย้ำว่าผู้เชี่ยวชาญด้านงานศพและฉีดยารักษาศพไม่มีคุณสมบัติที่จะสรุปผลเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโควิดและลิ่มเลือด

วิดีโอดังกล่าวยังรวมถึงฟุตเทจที่นำมาจากวิดีโอการศึกษาทางการแพทย์ที่โพสต์บน YouTube ในเดือนเมษายน 2019 ซึ่งแสดงให้เห็นขั้นตอนที่เรียกว่าการผ่าตัดเอาหลอดเลือดอุดตันในปอด ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่อย่างใด

องค์กรอิสสระ FactCheck ได้ตรวจสอบคลิปวิดีโอดังกล่าวแล้วพบว่า “ เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง (fake news)” https://www.factcheck.org/.../scicheck-died-suddenly.../

Factcheck เป็นองค์ที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและไม่แสวงหากำไรมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดระดับหรือผลกระทบของการหลอกลวงและการสร้างความสับสนทางการเมืองในสหรัฐฯ Factcheck ตรวจสอบความถูกต้องตามความเป็นจริงของสิ่งที่กล่าวโดยบรรดานักการเมือง หรืออินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังในสหรัฐ ในรูปแบบของโฆษณาทางทีวี การโต้วาที การกล่าวสุนทรพจน์ การสัมภาษณ์ และการเผยแพร่ข่าว เป้าหมายของ Factcheck คือเพิ่มความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนชาวอเมริกัน

ล่าสุดนายทหารอากาศสหรัฐนอกราชการ Thomas Haviland ได้นำเสนอข้อมูลลักษณะดังกล่าวอีกครั้ง โดยการจัดทำโพลที่ไม่แสดงแหล่งอ้างอิง สอบถามไปยังผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการฉีดยารักษาศพ และส่งข้อมูลที่สรุปได้ไปยังหน่วยงานด้านสาธารณสุขในสหรัฐ กล่าวคือ US NIH, US CDC ให้พิจารณาถึงความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโควิด-19 รวมทั้งให้สัมภาษณ์ในรายการของ Dr. John Cambell อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดังของอังกฤษในด้านสุขภาพ มียอดผู้เข้าชมถึง 1,462,545 ครั้ง ตั้งแต่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา

https://www.youtube.com/watch?v=4rAoqhTUU0g&t=2572s

สำหรับในไทยหากท่านประสงค์จะตรวจสอบการเกิดลิ่มเลือดขนาดใหญ่ในหลอดเลือดจากศพในช่วงเวลาที่ผ่านมาสามารถทำโพลสอบถามผู้ที่มีหน้าที่ฉีดยารักษาศพได้เช่นกัน โดยอาจพิจารณาสอบถามในเบื้องต้นว่าในประเทศไทย

ก่อนปี 2019/2562 พบลิ่มเลือดในหลอดเลือดของศพหรือไม่ (ยังไม่เกิดการระบาดของโควิด-19)

ปี 2020/2563 พบลิ่มเลือดในหลอดเลือดของศพหรือไม่ (ไวรัสอู่ฮั่นและไวรัสอัลฟา ระบาด ยังไม่มีวัคซีนใช้)

ปี 2021-2022 /2564-2565 พบลิ่มเลือดในหลอดเลือดของศพหรือไม่ (มีการระดมวัคซีนโควิด-19 มีผู้เข้ารับการฉีดถึง 80%)

ปี 2023/2024 พบลิ่มเลือดในหลอดเลือดของศพหรือไม่ (มีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ลดลง) หากพบมีมากหรือน้อยเมื่อเทียบกับปี 2021-2022

ส่วนวัคซีนโควิด-19 ก่อให้เกิดลิ่มสีขาวในหลอดเลือดจริงหรือไม่ และด้วยกระบวนการใด จำเป็นต้องดำเนินการในห้องปฏิบัติการที่มีเครื่องมือพร้อม

การนำประเด็น "ใช่หรือไม่ที่วัคซีนโควิดทำให้เกิดลิ่มขาวคล้ายหนังยางในหลอดเลือดศพ" ถือเป็นเรื่องดีที่ผู้เชียวชาญควรทำ จะทำให้ผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆได้ใช้วิทยาศาสตร์มาร่วมสืบสวนหาคำตอบสร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชน เพราะผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไม่ว่าจะน้อยหรือมากจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อประชาชนส่วนใหญ่ของโลก