"ธนาคารดัง" แจงแล้ว ปมลูกค้าโดนดูดเงินรัวๆ 33.28 บาท ทุก 1 นาที

19 กุมภาพันธ์ 2567

ธนาคารดัง แจงแล้ว ปมลูกค้าโดนดูดเงินรัวๆจากแอปฯธนาคาร ครั้งละ 33.28 บาท ทุก 1 นาที ยันชัดไม่ได้เกิดจากข้อมูลภายในรั่วไหล หรือ ถูกแฮ็กข้อมูล mobile banking

สืบเนื่องจากกรณีแอปฯธนาคารดังดูดเงินหายทุก 1 นาที หลังจากมีผู้เสียหายที่ใช้แอปออนไลน์ของธนาคารแห่งหนึ่ง ร้องเรียนว่าโดนดูดเงิน 33.28 บาท ทุก 1 นาที บางคนโดนหักเป็นสิบๆยอด แบบไม่รู้ตัวและยังไม่ทราบสาเหตุ เกี่ยวกับกรณีดังกล่าวล่าสุดทาง ธนาคารดัง ออกมาชี้แจงแล้ว ยืนยันชัดไม่ได้เกิดจากข้อมูลภายในรั่วไหล หรือ mobile banking ถูก hack แต่อย่างใด โดยทางด้าน ทีทีบี -ธนาคารทหารไทยธนชาตได้ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับ แอป ttb touch ระบุว่า 

ธนาคารดัง แจงแล้ว ปมลูกค้าโดนดูดเงินรัวๆ 33.28 บาท ทุก 1 นาที

 

 

 

ทางธนาคารได้ทราบเรื่อง และไม่ได้นิ่งนอนใจกำลังเร่งตรวจสอบรายการทั้งหมดที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ รายการที่ผู้ถือบัตรเดบิตไม่ได้ทำรายการเองและมีการตรวจสอบแล้ว ทางธนาคารจะทำการปรับปรุงรายการคืนเงินให้ ภายใน 5 วันทำการ 

การใช้งาน และธนาคารมีการยกระดับความปลอดภัยโดยท่านลูกค้าสามารถเลือกทำการเปิด-ปิด function การใช้งานออนไลน์ได้บนแอป ttb touch

โดยไปที่ การตั้งค่า

  • จัดการบัตรเดบิต 
  • กำหนดวงเงินและการใช้บัตร 
  • การอนุญาต
  •  เลือกปิด การอนุญาตใช้ซื้อสินค้า/บริการ Online


อย่างไรก็ตาม รายการผิดปกติที่เกิดขึ้น เป็นการทำรายการจากบุคคลภายนอก ไม่ได้เกิดจากข้อมูลภายในรั่วไหล หรือ mobile banking ถูก hack แต่อย่างใด

 

ธนาคารดัง แจงแล้ว ปมลูกค้าโดนดูดเงินรัวๆ 33.28 บาท ทุก 1 นาที

 ทั้งนี้ ทางด้าน ธนาคารทหารไทยธนชาต  หรือ  ทีเอ็มบีธนชาต ยังได้เตือนภัยอีกว่า ทุกวันนี้ เพจปลอม ที่เลียนแบบเพจ ttb bank ผุดขึ้นมามากมาย โดยจะมีเทคนิคในการหลอกลวงหลายแบบ เช่น ตั้งชื่อเพจแตกต่างกันไป มีการนำโลโก้ธนาคาร หรือรูปผู้บริหารมาสร้างความน่าเชื่อถือ เป็นต้น แต่เพจเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เดียวกันคือเพื่อ หลอกลวง แอบอ้างเป็นธนาคาร และทำให้เกิดความเสียหายทั้งต่อผู้ที่หลงเชื่อ
 

ธนาคารดัง แจงแล้ว ปมลูกค้าโดนดูดเงินรัวๆ 33.28 บาท ทุก 1 นาที

รวมถึงชื่อเสียงของธนาคารเอง หากใครพบเจอโฆษณา หรือถูกเพจที่น่าสงสัยเหล่านี้ inbox ไปหา ใจเย็น ๆ อย่าเพิ่งรีบคุย อย่าเพิ่งรีบให้ข้อมูล ให้ลองสังเกตหน้าเพจตามเช็กลิสต์นี้กันก่อน 

จากรูปประกอบ มีจุดที่ต้องเช็กทั้งหมด 8 จุด เรียงตามลำดับ ดังนี้ครับ

1. ชื่อเพจ ต้องเป็น ttb bank
2. ต้องมีเครื่องหมาย Verified ติ๊กถูกสีฟ้า หมายความว่าเพจนี้ได้รับการยืนยันจาก Facebook ว่าผ่านการรับรองบัญชีเรียบร้อยแล้ว
3. จำนวนผู้ติดตามมากกว่า 2.7 ล้านบัญชี (ข้อมูล ณ มกราคม 2567)
4. ปุ่ม Contact us ด้านหน้าเพจ เมื่อคลิกแล้วจะพาไปยังเว็บไซต์ของทีทีบี สำหรับติดต่อ ร้องเรียน หรือแจ้งปัญหาต่าง ๆ

ธนาคารดัง แจงแล้ว ปมลูกค้าโดนดูดเงินรัวๆ 33.28 บาท ทุก 1 นาที

 

5. รายละเอียดของธุรกิจ จะเป็น Financial Service (บริการทางการเงิน)
6. URL ของหน้าเพจ ttb bank จะเป็น https://www.facebook.com/ttbbankofficial เท่านั้น
7. Page ID คือหมายเลข 421936097949882 เท่านั้น
8. วันที่สร้างเพจคือ March 24, 2014 (หรือ 24 มีนาคม 2557)
อ่านจบแล้ว สามารถ save post ไว้ได้เลยนะครับ ทั้งหมดนี้คือรายละเอียดที่สำคัญ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ว่าเพจที่กำลังดูอยู่นั้นคือเพจแท้ของ ttb bank หรือไม่ หากมีข้อมูลที่ผิดไปจากนี้ ให้เชื่อไว้เลยว่าเป็นเพจปลอมที่กำลังแอบอ้างธนาคารนะครับ

กรณีใครที่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพไปแล้ว ให้รีบนำหลักฐานไปแจ้งความที่สถานีตำรวจใกล้บ้าน หรือแจ้งความออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ thaipoliceonline

ส่วนใครที่ยังไม่ได้หลงเชื่อให้ข้อมูลต่าง ๆ ไป แต่ไม่แน่ใจว่าเพจเหล่านั้นเป็นเพจปลอมหรือไม่ สามารถ inbox ให้แอดมินตรวจสอบได้ครับ และถ้าพบว่าเป็นเพจปลอม สามารถแจ้งร้องเรียนไปยัง Facebook ได้

  • โดยการคลิกปุ่ม “…” ที่ด้านบนขวาของเพจ > เลือกคำว่า Report Profile > เลือก Fake Page > กด Done เป็นการเสร็จสิ้นกระบวนการร้องเรียนเพจปลอมไปยัง Facebook