ตม.ภูเก็ต จับวงร็อคชื่อดังรัสเซีย หลังเข้ามาแสดงคอนเสิร์ตในไทย

31 มกราคม 2567

ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต จับวงร็อคชาวรัสเซีย ไม่มีใบอนุญาตทำงานในประเทศ ส่งดำเนินคดีตามขั้นตอนกฎหมาย

จากกรณีเมื่อวันที่ 24 มกราคม ที่ผ่านมา ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดภูเก็ต ควบคุมตัววงร็อครัสเซีย Bi-2 จำนวน 7 คน โดยดำเนินคดีในข้อหาไม่มีใบอนุญาตทำงาน หลังเดินทางเข้ามาแสดงคอนเสิร์ตในประเทศไทย 

โดยสื่อต่างประเทศรายงานว่า วงร็อครัสเซีย Bi-2 เป็นวงดนตรี ที่มีจุดยืนต่อต้าน “ปฏิบัติการทางทหารพิเศษของรัสเซียในยูเครน จนถูกกระทรวงการต่างประเทศรัสเซียกล่าวหาว่า วงร็อก BI-2 “สนับสนุนการก่อการร้าย” เพราะต่อต้านรัสเซียและประกาศสนับสนุนยูเครน 

จนทำให้นักสิทธิมนุษยชนหลายฝ่ายกังวนว่าสมาชิกวงบางคนในวงดนคงตรี ที่มีสัญรัสเซียที่อาจจะถูกส่งกลับไปยังประเทศต้นทาง ต้องเผชิญกับอันตราย หากรัฐบาลไทยส่งผลักดันกลับประเทศรัสเซีย จะถือเป็น “กรณีแรกในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน” และถือเป็นการละเมิดสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่นายกรัฐมนตรีเคยประกาศไว้ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่นครนิวยอร์ก เมื่อ ก.ย. 2566 ที่ผ่านมาหรือไม่

ตม. ภูเก็ต จับวงร็อคชื่อดังรัสเซีย หลังเข้ามาแสดงคอนเสิร์ตในไทย

  ล่าสุดวันที่ 31 ม.ค.2567 เมื่อเวลา 11.00 น. ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เมืองทองธานี พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ รอง ผบช.สตม. ได้เปิดเผยว่า

  เบื้องต้นทางตำรวจตรวจคนเข้าเมืองภูเก็ตดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายเมื่อพบผู้กระทำความผิด ส่งให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี และส่งตัวเข้าห้องกักที่สำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองตามขั้นตอน ส่วนประเด็นเรื่องการผลักดันกลับไปยังประเทศต้นทาง ขณะนี้ผลักดัน 1 ในสมาชิกของวงไปแล้วแต่ไม่ใช่ประเทศรัสเซีย ส่วนบางคนในสมาชิกวงที่ถือ 2 สัญชาติหากไม่ยินยอมกลับไปที่ประเทศต้นทางตามหนังสือเดินทางเข้าประเทศ ต้องประสานไปยังประเทศที่ 3 ที่บุคคลนั้นถือสัญชาติว่าพร้อมที่จะรับตัวเข้าประเทศหรือไม่

ตม. ภูเก็ต จับวงร็อคชื่อดังรัสเซีย หลังเข้ามาแสดงคอนเสิร์ตในไทย

ส่วนเรื่องสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน เมื่อปี 2566 คณะรัฐมนตรีฯ ได้ร่างหนังสือสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนไประหว่างไทย กับรัสเซีย โดยผ่านการพิจารณาจาก ครม.แล้ว แต่ยังไม่ชัดเจนว่าสนธิสัญญาบรรลุจ้อตกลงระหว่างประเทศแล้วหรือไม่ ช่วงบ่ายของวันนี้ทางตำรวจตรวจคนเข้าเมืองจะเข้าร่วมประชุม กับ สภาความมั่นคงแห่งชาติหรือ สมช. ที่ดูแลเรื่องความมั่นคงของประเทศ เพื่อพิจารณาในการผลักดันสมาชิกวงดนตรีดังกล่าวกลับประเทศต้นทาง เรื่องละเอียดอ่อนที่อาจจะเข้าข่ายผิดต่อหลักสิทธิมนุษยชนสากลหรือไม่ 

ตามหลักสิทธิมนุษยชนแล้ว การส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนให้ยกเว้นกรณีนักโทษทางการเมือง การเหยียดเชื้อ ไม่สามารถกระทำได้ หากบุคคลเหล่านั้นไม่ได้ทำความผิดในคดีอาญา หรือก่อเหตุอาชญากรรม โดยขั้นการส่งกลับประเทศ ทำความผิดไม่ยินยอม ทางสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมืองไม่สามารถบังคับให้ออกนอกประเทศได้ (ให้กักตัวไว้จนกว่าจะพร้อม) 

นอกจากนี้ตัวผู้กระทำความผิดสามารถยื่นขอหน่วยงานสากลอย่าง สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNSCR) หรือ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) ขอเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองได้ หากเข้าข่ายตามหลักสิทธิมนุษยชน และสามารถประกันตัวออกมาอาศัยในฐานะผู้ลี้ภัยได้แต่มีข้อแม้ห้ามประกอบอาชีพหรือกระทำการใดๆที่ผิดต่อกฎหมายของประเทศนั้น