วันที่ 25 ม.ค. 67 "หมอธีระวัฒน์ เหมะจุฑา" เคลื่อนไหวผ่านเฟซบุ๊กเพจ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุว่า งูสวัดมีเรื่อง อันตรายอีกเยอะนอกจากผื่น
ในตำแหน่งหน้า ศีรษะ คอ บ่าไหล่ ไม่ว่าจะอายุเท่าไร เป็นภูมิคุ้มกันปกติก็ตาม เป็นเรื่องต้องให้การรักษาทันที โอกาศไวรัสลามเข้าสมองผ่านทางเส้นเลือดสูงมาก
ถ้ามาช้า และเริ่มผิดปกติมากกว่าที่ผิวหนัง มีไข้ ปวดหัว ไม่ต้องรอให้โคม่า หรือตาบอด หรือเส้นเลือดอักเสบตัน ให้เป็น IV acyclovir 10 mg/kg ทุก 8 ชั่วโมงทันที ไป 14 วัน
ในขณะที่ตำแหน่งอื่นอาจใช้เป็นยากินแทน ยกเว้นการมีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ต้องเป็นยาฉีดทั้งหมด
และงูสวัดไม่ว่าอยู่ตำแหน่งใดของร่างกายมีความเสี่ยงอัมพฤกษ์ เส้นเลือดหัวใจตัน ถึง 6 เดือน จนถึงหลายปี
ประการสำคัญ การรักษาไม่ใช่พอใจที่ทายาพอกที่ผื่น แม้ว่าทาแล้วหายเร็ว ก็ตาม
อยู่ที่การป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบที่ปมประสาท และจะเจ็บปวดไปหลายเดือน ปี หรือไม่หาย
และเพื่อต้องกันไม่ให้ไวรัสย้อนกลับตามเส้นประสาทเข้าไปที่ไขสันหลัง เกิตขาอัมพาต เข้าสมอง ติดเกิดเส้นเลือดอักเสบ และไวรัสทะลักเข้าไปติดเชื้อในสมอง
ย้ำๆๆๆ ไม่ว่างูสวัดขึ้นที่ใดต้องรักษาทั้งสิ้น ไม่ใช่เพื่อผื่นหายอย่างเดียวเท่านั้นเช่นจาก ยาทา พอก หรือกินยาสมุนไพร ต้องกันที่ร้ายแรงกว่านั้นอีกเยอะ
ในปัจจุบันมีวัคซีนงูสวัดที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงที่เป็นโปรตีนสับยูนิต และสามารถใช้ได้กับคนที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ต่างจากวัคซีนยุคแรกที่เป็นเชื้ออ่อนกำลัง
ลักษณะอาการของงูสวัดและผลแทรกซ้อนที่ไม่ได้เกิดขึ้นแต่ในระยะนั้นอย่างเดียว จะเกิดขึ้นตามหลังได้อย่างน้อยหกเดือนและอาจเป็นปีโดยเฉพาะออกอาการเป็นเส้นเลือดในสมองและเส้นเลือดในหัวใจตัน