“นกเงือกดำ” นักปลูกป่าแห่งผืนป่าชายแดนใต้

06 มกราคม 2567

“นกเงือกดำ” นักปลูกป่าแห่งผืนป่าชายแดนใต้ ที่อุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรี (เตรียมการ) จังหวัดสงขลา เนื่องในวันนกแห่งชาติ 5 มกราคมของทุกปี วันนี้จะพาไปรู้จักกับ “นกเงือกดำ”

นกเงือกดำ” ที่มีฉายา นักปลูกป่าแห่งผืนป่าในระบบนิเวศทางธรรมชาติ จากพฤติกรรมการกินผลไม้ที่หลากหลาย ซึ่งปัจจุบันจัดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์

นกเงือกดำ (Black hornbill) พบการกระจายตัวอยู่ทางภาคใต้ตอนล่าง คาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา บอร์เนียว

“นกเงือกดำ” นักปลูกป่าแห่งผืนป่าชายแดนใต้

เนื่องจากนกเงือกดำต้องการพื้นที่อาศัยที่ไม่สูงมากและชื้น พบในป่าดิบชื้นที่ราบต่ำจนถึง 200 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีรายงานพบที่ 600 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง พบทั้งป่าที่ไม่ถูกรบกวนและป่าฟื้นฟู พบบ่อยในบางพื้นที่ ส่วนใหญ่กินผลไม้อื่น ๆ มากกว่าผลกลุ่มไทร (Ficus) กินสัตว์จำพวกแมลง จิ้งเหลน กิ่งก่า ไข่นก มีลักษณะคล้ายนกแก๊ก ลำตัวสีดำ ปลายหางคู่นอกขาวยกเว้นคู่บน ตัวผู้จะโหนกขาวหรือขาวแกมเหลือง บางตัวมีแถบขาวเหมือนคิ้วขนาดใหญ่ ส่วนตัวเมียจะมีปากและโหนกสีดำ หนังรอบตาสีชมพูหรือขาว มีเสียงร้องที่ทุ้มต่ำเหมือนสัตว์คำราม ดัง "แอ่-แอ่-แอ่ก"

“นกเงือกดำ” นักปลูกป่าแห่งผืนป่าชายแดนใต้

จากการสำรวจของทีมเจ้าหน้าที่ฝ่ายศึกษาและวิจัย พบนกเงือกดำ ทั้งในเเละนอกเส้นทางศึกษาธรรมชาติ ของอุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรี (เตรียมการ) จ.สงขลา ออกบินล่องท้องฟ้าโชว์ตัวอยู่เหนือยอดไม้เป็นกลุ่มฝูง ประมาณ 20 ตัว (ต่างที่ ต่างเวลา) กินผลของต้น บุกหยวก (พืชในวงศ์ BURSERACEAE) เนื่องจากการลดลงของพื้นที่อาศัย ทำให้ประชากรของนกเงือกดำลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้ปัจจุบันนกเงือกดำอยู่ในสถานะใกล้จะสูญพันธุ์ ความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าจะคงอยู่ได้ เพราะมีสัตว์ป่า ที่เป็นเสมือนวงโคจรของระบบนิเวศที่พึ่งพาอาศัยกัน อย่างมิอาจตัดทอนออกจากกันได้

“นกเงือกดำ” นักปลูกป่าแห่งผืนป่าชายแดนใต้

“นกเงือกดำ” นักปลูกป่าแห่งผืนป่าชายแดนใต้

ที่มา : สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Office, Thailand , ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6-สงขลา , อุทยานแห่งชาติสันกาลาคีรี: San Kala Khiri National Park