สถาบันมะเร็งฯ แจงแล้วหลังแชร์ว่อน ดื่มน้ำอัดลมทำให้เป็นมะเร็ง จริงหรือไม่

29 พฤศจิกายน 2566

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ แจงแล้วหลังแชร์ว่อน ดื่มน้ำอัดลมทำให้เป็นมะเร็ง และอวัยวะภายในเสียหาย จริงหรือไม่!?

ตามที่ได้มีบทความเตือนเกี่ยวกับเรื่อง ดื่มน้ำอัดลมทำให้เป็นโรคมะเร็ง และอวัยวะภายในเสียหาย ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

สถาบันมะเร็งฯ แจงแล้วหลังแชร์ว่อน ดื่มน้ำอัดลมทำให้เป็นมะเร็ง จริงหรือไม่

จากที่มีประเด็นดังเตือนกล่าวทั่วสื่อโซเชียล ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดว่า การดื่มน้ำอัดลมทำให้เป็นโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ โดยน้ำอัดลมมีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ มีแคลอรี่สูง รวมทั้งมีสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นผู้บริโภคควรลดปริมาณหรือหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม

น้ำอัดลม คือ เครื่องดื่มที่อัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปเพื่อให้มีความซ่า โดยในน้ำอัดลมประกอบด้วยน้ำตาล กรดคาร์บอนิก กรดฟอสฟอริก สารแต่งสีและกลิ่น โดยน้ำอัดลมเป็นเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ในน้ำอัดลม 1 กระป๋อง (ขนาด 325 ซีซี) มีปริมาณน้ำตาล 8-12 ช้อนชา

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้บริโภคน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชาหรือประมาณ 24 กรัม ซึ่งการบริโภคน้ำอัดลมร่วมกับอาหารที่มีน้ำตาลปริมาณสูงจะทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลเกินความต้องการในแต่ละวัน อาจก่อให้เกินปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง เป็นต้น นอกจากนี้ กรดคาร์บอนิก กรดฟอสฟอริก ที่มีอยู่ในน้ำอัดลมอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร ฟันผุ และกระดูกพรุนได้

สถาบันมะเร็งฯ แจงแล้วหลังแชร์ว่อน ดื่มน้ำอัดลมทำให้เป็นมะเร็ง จริงหรือไม่

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.nci.go.th หรือ โทร. 02-202-6800

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การดื่มน้ำอัดลมทำให้เป็นโรคมะเร็งในมนุษย์ได้ โดยน้ำอัดลมมีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ มีแคลอรี่สูง รวมทั้งมีสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นผู้บริโภคควรลดปริมาณหรือหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข