กั๊กที่จอดรถบนถนนสาธารณะมีความผิดตาม พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 5000 บาท

03 พฤศจิกายน 2566

หลายพื้นที่บนถนนสาธารณะ การวางวัตถุ สิ่งของ เช่น แผงเหล็ก เก้าอี้ หรือสิ่งอื่นใด เพื่อจับจองพื้นที่ดังกล่าว เป็นที่เห็นคุ้นตา เป็นอย่างมากโดยเฉพาะในบ้านเรา ซึ่งการกระทำดังกล่าวนั้น ถือว่า เข้าข่ายเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาด ของบ้านเมือง พ.ศ.2535

กั๊กที่จอดรถบนถนนสาธารณะมีความผิดตาม พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

กั๊กที่จอดรถบนถนนสาธารณะมีความผิดตาม พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 5000 บาท

ทางด้านตำรวจสอบสวนกลาง เผยข้อกฎหมาย กั๊กที่จอดรถบนถนนสาธารณะ มีความผิด ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5000 บาท คนแจ้งเบาะแสได้ส่วนแบ่งค่าปรับ 50% ทั้งนี้ ค่าปรับที่ได้จากการเปรียบเทียบปรับ ให้แบ่งแก่ผู้แจ้งที่ถ่ายภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวไว้เป็นหลักฐานกึ่งหนึ่ง และพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จับกุมกึ่งหนึ่ง
 

(มาตรา 19, 48 วรรค 3 และ 57 แห่งพ.ร.บ. รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535)

กั๊กที่จอดรถบนถนนสาธารณะมีความผิดตาม พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 5000 บาท

ซึ่งมาตรา 148 เป็นบทกำหนดโทษ โดยโทษของการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 114 วรรคหนึ่ง คือต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท นอกจากนั้นยังมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 385 ที่กำหนดว่า
 

ผู้ใดไม่ได้รับอนุญาตอันชอบด้วยกฎหมายกีดขวางทางสาธารณะ จนอาจเป็นอุปสรรคต่อความปลอดภัยหรือความสะดวกในการจราจร โดยวางหรือทอดทิ้งสิ่งของ หรือโดยกระทำด้วยประการอื่นใด ถ้าการกระทำนั้นเป็นการกระทำโดยไม่จำเป็นต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท

กั๊กที่จอดรถบนถนนสาธารณะมีความผิดตาม พ.ร.บ. มีโทษปรับไม่เกิน 5000 บาท

ส่วนการติดป้ายห้ามจอด ถือเป็นการทำสัญญาณหรือเครื่องหมายจราจร ถ้ามิได้เป็นเจ้าพนักงานอาจจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจร พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 28 ที่กำหนดว่า “ห้ามมิให้ผู้ใดนอกจากเจ้าพนักงานจราจรหรือเจ้าพนักงาน ทำ ติดตั้ง หรือทำให้ปรากฏซึ่งสัญญาณจราจร หรือเครื่องหมายจราจรในทางที่ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติกำหนดตามมาตรา 21”