สังคม

heading-สังคม

4 จว.ภาคอีสานน่าห่วง พบป่วยโรคไข้ดินเกือบ 600 ราย เสียชีวิตแล้ว 6 คน

21 ต.ค. 2566 | 16:00 น.
4 จว.ภาคอีสานน่าห่วง พบป่วยโรคไข้ดินเกือบ 600 ราย เสียชีวิตแล้ว 6 คน

โรคเมลิออยด์ หรือโรคไข้ดิน มักจะพบมาในกลุ่มชาวเกษตรกร สคร.9 เตือนประชาชนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม หรือผู้ที่ทำงานสัมผัสดินและน้ำโดยตรง ไม่ควรเดินลุยน้ำด้วยเท้าเปล่า

       นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน  กล่าวถึง โรคเมลิออยด์ หรือโรคไข้ดินว่า เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เบอร์โคเดอเรีย สูโดมัลลิอาย พบได้ทั่วไปในดิน น้ำ นาข้าว ท้องไร่ แปลงผัก สวนยาง ทั่วทุกภาคในประเทศไทย เชื้อเชื้อแบคทีเรียมาสารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งหมด 3 ทาง ได้แก่

1.การสัมผัสน้ำหรือดินที่มีเชื้อปนเปื้อน

2.ดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อเข้าไป

3.สูดหายใจเอาฝุ่นจากดินที่มีเชื้อเจือปนอยู่เข้าไป หลังติดเชื้อประมาณ 1-21 วันจะเริ่มมีอาการเจ็บป่วย แต่บางรายอาจนานเป็นปี ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อที่ได้รับและภูมิต้านทานของแต่ละคน อาการของโรคนี้ไม่มีลักษณะเฉพาะ จะมีความหลากหลายคล้ายโรคติดเชื้ออื่นๆ หลายโรค เช่น มีไข้สูง มีฝีที่ผิวหนัง มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ อาจติดเชื้อเฉพาะที่ หรือติดเชื้อแล้วแพร่กระจายทั่วทุกอวัยวะและเสียชีวิตได้

 

4 จว.ภาคอีสานน่าห่วง พบป่วยโรคไข้ดินเกือบ 600 ราย เสียชีวิตแล้ว 6 คน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

    สถานการณ์โรคเมลิออยด์ในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 8 ตุลาคม 2566 มีผู้ป่วยโรคเมลิออยด์ 3,086 ราย มีผู้เสียชีวิต 58 ราย ส่วนใหญ่พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มอายุที่พบสูงสุด คือ กลุ่มอายุ 65  ปี ขึ้นไป รองลงมาคือ 55-64 ปี และกลุ่มอายุ 45-54 ปี ตามลำดับ


  4 จังหวัด ที่พบป่วยโรคไข้ดินเกือบ 600 ราย ได้แก่

  • จังหวัดบุรีรัมย์ มีผู้ป่วย 336 ราย (เสียชีวิต 4 ราย)
  • จังหวัดสุรินทร์ มีผู้ป่วย 106 ราย 
  • จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ป่วย 93 ราย  (เสียชีวิต 2 ราย)
  • จังหวัดชัยภูมิ มีผู้ป่วย 47 ราย

  4 จว.ภาคอีสานน่าห่วง พบป่วยโรคไข้ดินเกือบ 600 ราย เสียชีวิตแล้ว 6 คน

 

  อาชีพที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือ 

1.เกษตรกร 

2.รับจ้าง 

3.เด็ก 

 

4 จว.ภาคอีสานน่าห่วง พบป่วยโรคไข้ดินเกือบ 600 ราย เสียชีวิตแล้ว 6 คน

 

นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน กล่าวต่อไปว่า ในการป้องกันโรคเมลิออยด์ หรือโรคไข้ดิน ควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำย่ำโคลนหรือแช่น้ำเป็นเวลานาน หากจำเป็นควรสวมรองเท้าบูทหรือถุงพลาสติกหุ้มรองเท้า เพื่อป้องกันไม่ให้เท้าสัมผัสน้ำโดยตรง หากมีบาดแผลควรปิดด้วยพลาสเตอร์กันน้ำ และอาบน้ำชำระร่างกายทันทีหลังจากทำงานหรือลุยน้ำ รวมถึงดื่มน้ำสะอาดหรือน้ำต้มสุกทุกครั้ง หากมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ให้รีบไปพบแพทย์ทันที และแจ้งประวัติการเดินลุยน้ำให้แพทย์ทราบด้วย เพื่อที่แพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัยและรักษาทันทีตามอาการและความรุนแรงของโรค สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

 

ขอบคุณ กรมควบคุมโรค


 

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

รู้แล้ว ทำไมรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้เมารถได้ง่ายกว่ารถน้ำมันปกติ

รู้แล้ว ทำไมรถยนต์ไฟฟ้า ทำให้เมารถได้ง่ายกว่ารถน้ำมันปกติ

เนชั่นกรุ๊ป แถลง "IO กัมพูชา" โจมตีทางไซเบอร์สื่อเครือกว่า 200 ล้านครั้ง

เนชั่นกรุ๊ป แถลง "IO กัมพูชา" โจมตีทางไซเบอร์สื่อเครือกว่า 200 ล้านครั้ง

สรุปราคาทองวันนี้ 27 กรกฎาคม 2568 ราคาทองตอนนี้บาทละเท่าไหร่

สรุปราคาทองวันนี้ 27 กรกฎาคม 2568 ราคาทองตอนนี้บาทละเท่าไหร่

เปิดภาพ "เชน ธนา" ชาวเน็ตเห็นแล้วถึงกับเป็นห่วงอยากให้พัก

เปิดภาพ "เชน ธนา" ชาวเน็ตเห็นแล้วถึงกับเป็นห่วงอยากให้พัก

กทม. ส่งใจไม่หยุด หนุนแนวหน้า-ศูนย์อพยพ วันที่ 2 จัดเต็มสิ่งจำเป็น

กทม. ส่งใจไม่หยุด หนุนแนวหน้า-ศูนย์อพยพ วันที่ 2 จัดเต็มสิ่งจำเป็น