ทนายรัชพล เปิดกฎหมาย หากผู้ค้ำประกัน เสียชีวิต ลูกหลานต้องมาค้ำต่อหรือไม่

13 พฤษภาคม 2566

"ทนายรัชพล" ทนายรัชพล ศิริสาคร ได้ออกมาโพสต์ช้อความ เผยกฎหมาย หากผู้ค้ำประกัน เสียชีวิต ลูกหลานต้องเป็นคนค้ำต่อหรือไม่

"ทนายรัชพล" ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กผ่านเพจ ทนายรัชพล ศิริสาคร Fanpage โดยระบุข้อความว่า หลายคนคงยังไม่รู้ ถ้าพ่อแม่เราไปค้ำประกันให้ใครก็ตามแล้วพ่อแม่เราเสียชีวิตลง การค้ำประกันนั้น จะตกมาสู่ทายาท

ทนายรัชพล เปิดกฎหมาย หากผู้ค้ำประกัน เสียชีวิต ลูกหลานต้องมาค้ำต่อหรือไม่

จริงๆ ก็ไม่ถึงกับเป็นผู้ค้ำประกันต่อหรอก แต่ก็ใกล้เคียง เพราะหน้าที่ของผู้ค้ำทั้งหมด มันจะกลายเป็นมรดก ทำให้ทายาทต้องกลายมาเป็นผู้ค้ำ ซึ่งศาลฎีกาเคยตัดสินไว้ เป็นคำพิพากษาของศาลฎีกาเลขที่ 1268/2555

ค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันหาได้มีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อเจ้าหนี้โดยอาศัยความสามารถหรือคุณสมบัติบางอย่างซึ่งต้องกระทำเป็นการเฉพาะตัวไม่ ผู้ค้ำประกันมีความผูกพันต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันเป็นความผูกพันในทางทรัพย์สินเท่านั้น

 

ด้วยเหตุนี้เมื่อ พ. ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 แม้ขณะที่ พ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ผู้กู้ยังไม่ผิดสัญญาหรือผิดนัดก็ตาม สัญญาค้ำประกันก็หาได้ระงับไปเพราะความตายของ พ. ไม่ สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาค้ำประกันที่ พ. ทำกับโจทก์จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1600

  • ดังนั้น จะไปค้ำประกันใคร ก็นึกถึงลูกหลานไว้ด้วย เพราะมันจะเป็นมรดกให้ทายาทต่อไป

ทนายรัชพล เปิดกฎหมาย หากผู้ค้ำประกัน เสียชีวิต ลูกหลานต้องมาค้ำต่อหรือไม่