1 เม.ย. มีผลแล้ว! ไม่จ่ายค่าปรับใบสั่ง ไม่ได้รับป้ายภาษี

02 เมษายน 2566

ผู้ขับขี่ที่มีใบสั่งค้างชำระ ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 66 เป็นต้นไป ต้องชำระค่าปรับ ให้ครบถ้วน หากเพิกเฉย แล้วนำป้ายชั่วคราวไปใช้แทนป้ายภาษีเกิน 30 วัน จะถือว่าเป็นการขับรถโดยไม่มีป้ายภาษี จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

1 เม.ย. มีผลแล้ว! ไม่จ่ายค่าปรับใบสั่ง ไม่ได้รับป้ายภาษี

1 เม.ย. มีผลแล้ว! ไม่จ่ายค่าปรับใบสั่ง ไม่ได้รับป้ายภาษี

ล่าสุดมีผลบังคับใช้เป็นที่เรียบร้อย ไม่จ่ายค่าปรับใบสั่ง หรือ หากเพิกเฉยพ้นกำหนดอีก มโทษขับรถไม่แสดงแผ่นป้ายเสียภาษี ปรับไม่เกิน 2,000 บาท และตัด 1 คะแนน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้ (1 เม.ย.) เป็นต้นไป

1 เม.ย. มีผลแล้ว! ไม่จ่ายค่าปรับใบสั่ง ไม่ได้รับป้ายภาษี

ทางด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ประสานกับป้ายภาษี เชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก เพื่อลดการกระทำผิดกฎหมาย ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มีความห่วงใยต่อประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน ซึ่งมีการแถลงข่าว และประชาสัมพันธ์ไปแล้วนั้น  ที่ผ่านมา ทั้ง 2 หน่วยงาน ได้ร่วมกันกำหนดมาตรการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก จำนวน 2 มาตรการ ได้แก่

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

 มาตรการที่ 1 การตัดคะแนนความประพฤติ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการไปตั้งแต่ 9 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา

 

มาตรการที่ 2 คือมาตรการชะลอการออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี ซึ่งจะเริ่มบังคับใช้วันที่ 1 เม.ย.2566 สำหรับรถที่มีใบสั่งค้างชำระ ตาม 141/1 พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ซึ่งทั้ง 2 หน่วยงานมีการเชื่อมโยงข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อส่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ข้อมูลใบอนุญาตขับขี่ ข้อมูลยานพาหนะ และข้อมูลใบสั่งค้างชำระ เพื่อให้เกิดการบูรณาการข้อมูลได้แบบ Real Time

 

สำหรับช่องทางตรวจสอบใบสั่งจราจรค้างจ่าย ประชาชนสามารถตรวจสอบใบสั่งค้างจ่าย และชำระผ่านออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่เว็บไซต์ https://ptm.police.go.th/eTicket

โดยมีขั้นตอน ดังนี้ 

1.ลงทะเบียนใช้งาน โดยใช้หมายเลขบัตรประชาชน หรือ หมายเลขใบขับขี่หรือหมายเลขทะเบียนรถและกำหนดรหัสผ่าน 

2.เข้าสู่ระบบหลังจากลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว 

3.ค้นหาใบสั่งโดยระบุวันที่กระทำผิด 

4.ระบบจะแสดงใบสั่งที่เคยได้รับ สามารถคลิกดูรายละเอียดของแต่ละใบได้ หากมีรถหลายคัน ระบบจะแสดงใบสั่งตามชื่อผู้ครอบครองรถคนเดียวกัน 

5.สามารถชำระค่าปรับออนไลน์ได้เลย โดยจ่ายแอป Krungthai NEXT หรือสถานีตำรวจ ธนาคารกรุงไทย ไปรษณีย์ไทย ตู้ ATM กรุงไทยหรือตู้บุญเติม

1 เม.ย. มีผลแล้ว! ไม่จ่ายค่าปรับใบสั่ง ไม่ได้รับป้ายภาษี