ผู้ทรงคุณวุฒิ หวั่นปัญหาสุขภาพ หากฝุ่นแดง-ขี้เถ้า จากซีเซียม-137 ถูกปล่อย

21 มีนาคม 2566

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ออกมาเตือน ฝุ่นแดง-ขี้เถ้าหนัก จาก ซีเซียม-137 หากถูกปล่อยออกมา มีผลกระทบระยะยาว

  จากกรณีข่าวช็อคที่สร้างความวิตกกังวลให้คนไทย เมื่อมีการรายงานว่า ซีเซียม-137 ได้สูญหายไปจากโรงงานแห่งหนึ่งในพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรม 304 ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ ปราจีนบุรี ล่าสุดได้มีการตรวจพบวัสดุกัมมันตรังสี "ซีเซียม-137"แล้วที่โรงหลอมเหล็กในกบินทร์บุรี

   เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมด้วยตัวแทนจาก สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้เปิดโต๊ะแถลงข่าวพร้อมจัดตั้งศูนย์ EOC เพื่อติดตามประเด็นสุขภาพของคนในพื้นที่ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ได้เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ได้ค้นพบวัตถุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137ในกระเป๋าบิ๊กแบ็กในเขตของโรงงาน 

ผู้ทรงคุณวุฒิ หวั่นปัญหาสุขภาพ หากฝุ่นแดง-ขี้เถ้า จากซีเซียม-137 ถูกปล่อย

  โดยเจ้าหน้าที่ได้ใช้เครื่องมือเพื่อตรวจวัดถึง 2 ครั้ง แต่ได้ผลการวิเคราะห์ที่เท่ากัน จึงสามารถยืนยันได้ว่าเป็นสาร  ซีเซียม – 137 จึงได้ย้อนกลับไปดูถุงบิ๊กแบ๊กซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากการผลิตเหล็กของโรงงานและเทกลับเข้าไปในเตาหลอม ความร้อน 1,200 องศาฯ พบว่ามีฝุ่นละอองแดงอยู่ภายในระบบปิด และติดอยู่ภายในระบบปิด ได้สั่งปิดพื้นที่ทันทีและให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบบริเวณรอบข้าง บริเวณแนวกระเป๋าบิ๊กแบ็ก พบว่าขึ้น แต่เมื่อออกมา 10 กว่าเมตร ไม่พบค่าของสารขึ้น

ผู้ทรงคุณวุฒิ หวั่นปัญหาสุขภาพ หากฝุ่นแดง-ขี้เถ้า จากซีเซียม-137 ถูกปล่อย

  ด้าน สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้ยืนยันว่า จากการตรวจสอบไม่พบฝุ่นแดงปนเปื้อนซีเซียม-137 ในโรงหลอมเหล็กในกบินทร์บุรี ไหลออกมาข้างนอก ไม่ฟุ้งกระจาย ซึ่งได้ตรวจสอบบริเวณโรงหลอมในรัสมี 5 กม. ทั้งทางดิน-น้ำ-อากาศ-คน ไม่พบการปนเปื้อน

ผู้ทรงคุณวุฒิ หวั่นปัญหาสุขภาพ หากฝุ่นแดง-ขี้เถ้า จากซีเซียม-137 ถูกปล่อย

  ต่อมา ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้ออกมาเคลื่อนไหวผ่านทางเฟซบุ๊กโดยระบุว่า หายนะแท่งซีเซี่ยม137 ถูกหลอมในโรงงานหลอมเหล็กมีทั้งฝุ่นที่ปล่อยออกจากปล่องควัน ฝุ่นแดงในถุงกรองอากาศ ขี้เถ้าหนักรวมทั้งฝุ่นในโรงงานคืออนุภาคซีเซี่ยมที่ปล่อยรังสีแกมมาและเบต้าออกมาคือสารสารก่อมะเร็ง ในอากาศ ในพืช ผัก ผลไม้ แหล่งน้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน รัศมีอย่างน้อย5กม.ระยะยาวอาจมีคนป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ

ผู้ทรงคุณวุฒิ หวั่นปัญหาสุขภาพ หากฝุ่นแดง-ขี้เถ้า จากซีเซียม-137 ถูกปล่อย

ทั้งนี้ ดร.สนธิ ยังได้อธิบายเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หากแท่งซีเซี่ยม137 ถูกหลอมรวมกับเศษเหล็กในโรงงานหลอมเหล็ก ผลกระทบที่จะตามมาคือ

1.ฝุ่นขนาดเล็กของCs137ที่ปล่อยออกมาจากปลายปล่องจะกระจายสู่บรรยากาศและตกลงสู่แหล่งน้ำ ดินที่อยู่รอบๆโรงงานและเกิดการปนเปื้อนเข้าสู่วงจรอาหารได้แก่ ผัก ผลไม้ อาหารจากแหล่งน้ำใกล้เคียงและอาหารแปรรูปจากวัตถุดิบทางการเกษตร เป็นต้นรวมทั้งอาจมีบางส่วนที่ประชาชนหายใจเข้าไปด้วย...

สารนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายบางส่วนจะถูกขับออกจากร่างกายทางเหงื่อและปัสสาวะและบางส่วนจะตกค้างและสะสมในกล้ามเนื้อ,ตับ,ไขกระดูก หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะทำให้เกิดความผิดปกติในระดับโครโมโซมคือเป็นมะเร็งนั่นเอง

ผู้ทรงคุณวุฒิ หวั่นปัญหาสุขภาพ หากฝุ่นแดง-ขี้เถ้า จากซีเซียม-137 ถูกปล่อย


2.หากโรงงานหลอมเหล็กมีอุปกรณ์ควบคุมมล พิษทางอากาศ เช่น Baghouse Filter โดยจะทำการกรองฝุ่นเหล็กขนาดเล็กที่ปนเปื้อนสาร Cs137หรือที่เรียกว่าฝุ่นแดงไว้ในถุงกรองในปริมาณมากซึ่งโรงงานหลอมเหล็กจะขายฝุ่นแดงดังกล่าวให้กับโรงงานประเภท106 นำไป Recycleเพื่อสกัดเอาธาตุสังกะสีไปใช้ ซึ่งจะทำให้สารCs137แพร่กระจายออกไปในวงกว้างมากขึ้นและเกิดอันตรายต่อประชาชนและระบบนิเวศ

3.เมื่อเข้าเตาหลอมแล้วส่วนหนึ่งจะกลายเป็นขี้เถ้าหนัก(Bottom ash)โดยจะมีอนุภาคของ สารCs137ปนเปื้อนในเถ้าหนักด้วย หากโรง งานนำไปฝังกลบใต้ดินก็อาจปนเปื้อนน้ำใต้ดินและน้ำผิวดินซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารและน้ำต่อไป

4.เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องสวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย(PPE)เพื่อป้องกันการได้รับรังสีและทำการตรวจการปนเปื้อนของสารCs137 ภายในโรงงานทุกบริเวณ เช่น เถ้าหนัก ฝุ่นแดง กองเหล็ก เตาหลอม ดินและแหล่งน้ำและฝุ่นละอองในโรงงาน เป็นต้น รวมทั้งต้องตรวจหารังสีปนเปื้อนที่ตัวพนักงานทุกคนด้วย

 

cr.Sonthi Kotchawat