สังคม

heading-สังคม

มท.1 สั่งด่วนผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด เตรียมรับมือ "พายุฤดูร้อน"

23 ก.พ. 2566 | 10:46 น.
มท.1  สั่งด่วนผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด เตรียมรับมือ "พายุฤดูร้อน"

มท.1 กำชับผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด เตรียมพร้อมรับสถานการณ์ "พายุฤดูร้อน" อาจเกิดขึ้นช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนมีนาคม  

จากกรณีที่ พลเอก อนุพงษ์ เปิดเผยว่า ได้ติดตามลักษณะอากาศช่วงฤดูร้อนของประเทศไทยร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนมีนาคม  ประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในตอนกลางวัน จากนั้น จนถึงปลายเดือนเมษายน จะมีอากาศร้อนอบอ้าว โดยทั่วไป เมื่ออากาศร้อนจัด และจะเกิดพายุฤดูร้อนในหลายพื้นที่ โดยจะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมทั้งอาจมีลูกเห็บตกลงในบางแห่ง

มท.1 กำชับผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด เตรียมรับมือ พายุฤดูร้อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดยดำเนินการ ด้านการเตรียมความพร้อม ดังนี้

1.ติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่อาจทำให้เกิดพายุฤดูร้อนกับกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

2.ให้ผู้อำนวยการแต่ละระดับ ตรวจตราอาคารสถานที่ ป้ายโฆษณา สิ่งก่อสร้าง ไม้ยืนต้นตามที่สาธารณะ

3.ให้ผู้อำนวยการท้องถิ่นเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร อุปกรณ์ ทรัพยากร เครื่องจักรกลสาธารณภัย เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยเป็นไปอย่างรวดเร็วและทันท่วงที

4.สร้างการรับรู้ให้ประชาชนทราบถึงแนวทางการปฏิบัติตนให้เกิดความปลอดภัย

มท.1 กำชับผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด เตรียมรับมือ พายุฤดูร้อน

 

 

 

ด้านการเผชิญเหตุ ให้จังหวัดดำเนินการตามแนวทาง ดังนี้

1.หากเกิดเหตุวาตภัยที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินในพื้นที่ใด ให้เร่งสำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามกฎ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

2.กรณีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย ให้จัดทีมปฏิบัติการเร่งเข้าซ่อมแชมบ้านเรือนประชาชนโดยเร่งด่วน

3.กรณีป้ายโฆษณา สิ่งก่อสร้าง ไม้ยืนต้น หรือโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะระบบไฟฟ้าได้รับความเสียหาย ให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าแก้ไข และซ่อมแซมโดยเร็ว

4.กรณีความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและอำเภอร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งสำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือตามกฎ ระเบียบ และหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

5.เมื่อเกิดสถานการณ์วาตภัยจากพายุฤดูร้อนขึ้นในพื้นที่ ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสรุปสถานการณ์ รายงานให้ มท. ทราบ จนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ

หากได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์วาตภัยและภัยต่าง ๆ ติดต่อแจ้งขอรับความช่วยเหลือผ่านสายด่วนนิรภัยโทร. 1784 ตลอด 24 ชม. หรือแจ้งผ่านกำนันผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเร่งให้การช่วยเหลือต่อไป

 

ติดตามข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติมที่ Tnews

ข่าวเด่น

นร.ป.2 จู่ๆ ตาบอด หมอกุมขมับ หลังรู้ว่าพ่อแม่เอาอะไรให้ลูกกินตั้งแต่เด็ก

นร.ป.2 จู่ๆ ตาบอด หมอกุมขมับ หลังรู้ว่าพ่อแม่เอาอะไรให้ลูกกินตั้งแต่เด็ก

สิวขึ้นเต็มหน้า อย่าคิดว่าเป็นแค่โรคผิวหนัง เช็คสัญญาณอันตรายโรคร้าย

สิวขึ้นเต็มหน้า อย่าคิดว่าเป็นแค่โรคผิวหนัง เช็คสัญญาณอันตรายโรคร้าย

ลูกค้าใจหาย บันไดเลื่อนห้างดังย่านพระราม4 ทรุดพังเสียหาย เร่งหาสาเหตุ

ลูกค้าใจหาย บันไดเลื่อนห้างดังย่านพระราม4 ทรุดพังเสียหาย เร่งหาสาเหตุ

หมอดัง ทดสอบให้เห็นชัดๆ กินกาแฟดำ ทำให้ความดันขึ้นคุมไม่ได้ จริงหรือไม่

หมอดัง ทดสอบให้เห็นชัดๆ กินกาแฟดำ ทำให้ความดันขึ้นคุมไม่ได้ จริงหรือไม่

สาวทำอาชีพจับชายเจ้าชู้มา 3 ปี บทสรุปน่าตกใจอาชีพที่นอกใจมากที่สุด

สาวทำอาชีพจับชายเจ้าชู้มา 3 ปี บทสรุปน่าตกใจอาชีพที่นอกใจมากที่สุด

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด