ทนายรัชพล เผยข้อกฎหมาย หากผู้ค้ำประกันเสียชีวิต ทายาทต้องมาค้ำต่อไหม

21 กุมภาพันธ์ 2566

ทนายรัชพล ศิริสาคร ได้ออกมาเปิด ข้อกฎหมาย หากผู้ค้ำประกันเสียชีวิตลง ลูก เมีย ผัว ทายาท ต้องมาค้ำประกันต่อให้ไหม

หากใครที่กำลังคิดจะค้ำประกันให้คนที่สนิท หรือญาติ ควรรู้หากคิดที่จะค้ำประกันควรใช้สติ คิดให้รอบคอบก่อน เพราะตามกฎหมายผู้ค้ำประกันคือบุคคลหนึ่งที่ยอมรับที่จะชำระหนี้แทนอีกบุคคล หากบุคคลนั้นไม่ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ แต่หากผู้ค้ำประกันได้เสียชีวิตลงต้องให้ ลง ลูก เมีย ผัว หรือทายาท ต้องมาค้ำต่อให้ไหม โดย "ทนายรัชพล" หรือ  รัชพล ศิริสาคร ได้ออกมาโพสต์ให้ความรู้ทางด้านกฎหมายสำหรับผู้ค้ำประกันที่หลายคนไม่รู้

จริงๆ ก็ไม่ถึงกับเป็นผู้ค้ำประกันต่อหรอก แต่ก็ใกล้เคียง เพราะหน้าที่ของผู้ค้ำทั้งหมด มันจะกลายเป็นมรดก ทำให้ทายาทต้องกลายมาเป็นผู้ค้ำ ซึ่งศาลฎีกาเคยตัดสินไว้ เป็นคำพิพากษาของศาลฎีกาเลขที่ 1268/2555

ค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ผู้ค้ำประกันหาได้มีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อเจ้าหนี้โดยอาศัยความสามารถหรือคุณสมบัติบางอย่างซึ่งต้องกระทำเป็นการเฉพาะตัวไม่ ผู้ค้ำประกันมีความผูกพันต้องชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันเป็นความผูกพันในทางทรัพย์สินเท่านั้น

 

ด้วยเหตุนี้เมื่อ พ. ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้เงินกู้ของจำเลยที่ 1 แม้ขณะที่ พ. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ผู้กู้ยังไม่ผิดสัญญาหรือผิดนัดก็ตาม สัญญาค้ำประกันก็หาได้ระงับไปเพราะความตายของ พ. ไม่ สิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาค้ำประกันที่ พ. ทำกับโจทก์จึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง และมาตรา 1600

ดังนั้น จะไปค้ำประกันใคร ก็นึกถึงลูกหลานไว้ด้วย เพราะมันจะเป็นมรดกให้ทายาทต่อไป

ทนายรัชพล เผยข้อกฎหมาย หากผู้ค้ำประกันเสียชีวิต ทายาทต้องมาค้ำต่อไหม

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมที่ tnews