กทพ. เตรียมเก็บค่ารักษาบัญชี Easy Pass ที่ไม่ได้ใช้งานเกิน 1 ปี เริ่มตุลาคม 66

27 กันยายน 2565

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เตรียมเรียกเก็บเงินค่ารักษาบัญชีบัตร Easy Pass ที่ไม่ได้ใช้งาน หรือไม่มีการเคลื่อนไหว เติมเงิน เป็นจำนวนเงิน 25 บาทต่อเดือน พร้อมเเนะนำ สำหรับใครที่คิดจะยกเลิกการใช้งานต่อไป

กทพ. เตรียมเก็บค่ารักษาบัญชี Easy Pass ที่ไม่ได้ใช้งานเกิน 1 ปี คิด 25 บาทต่อเดือน เริ่มตุลาคม 66 ปีหน้า

Easy Pass คือ ชื่อบัตรที่ใช้ในระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษอัตโนมัติ (Electronic Toll Collection System: ETC) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของระบบเก็บค่าผ่านทางพิเศษที่ทางการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) นำมาใช้ในการแก้ปัญหารถติดบริเวณหน้าด่าน โดยผู้ใช้บริการสามารถขับรถผ่านช่องทางพิเศษที่มีป้ายแสดงคำว่า Easy Pass ได้ทันที ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มทางเลือกใหม่ สำหรับผู้ใช้บริการทางพิเศษ

กทพ. เตรียมเก็บค่ารักษาบัญชี Easy Pass ที่ไม่ได้ใช้งานเกิน 1 ปี  เริ่มตุลาคม 66

กทพ. เตรียมเก็บค่ารักษาบัญชี Easy Pass ที่ไม่ได้ใช้งานเกิน 1 ปี  เริ่มตุลาคม 66

 

 กทพ. ระบุว่าการให้บริการบัตร Easy Pass จำเป็นต้องจัดหาตัวอุปกรณ์บัตร OBU และบัตรสมาร์ทการ์ดให้กับผู้ใช้งาน โดย กทพ. ได้ให้ผู้ใช้ทางพิเศษใช้บริการได้ฟรี เพียงแต่ต้องเติมเงินค่าผ่านทางในบัตรเท่านั้น ซึ่ง กทพ. ต้องมีการบริหารจัดการในทุกบัญชี จึงขอให้ผู้ใช้บริการควรต้องใช้บริการตามวัตถุประสงค์ที่ขอสมัครไว้ และหากผู้ใช้บริการมีความจำเป็นที่จะไม่ใช้บัตร Easy Pass เช่น ไปทำงานต่างประเทศ ฯลฯ สามารถติดต่อ กทพ. เพื่อขอยกเลิกการใช้งานได้ และจะได้รับเงินในบัตรคืน  สำหรับการเรียกเก็บเงินค่ารักษาบัญชี กทพ. จะเรียกเก็บเฉพาะผู้ใช้บัตร Easy Pass ที่ไม่ได้ใช้งาน ไม่มีการเคลื่อนไหวหรือเติมเงินภายใน 1 ปี โดยประกาศดังกล่าวจะเริ่มบังคับใช้ในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 จากนั้นจะเริ่มเก็บค่ารักษาบัญชีเดือนละ 25 บาท เฉพาะผู้ใช้บัตรที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเกิน 1 ปี ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 เป็นต้นไป 

กทพ. เตรียมเก็บค่ารักษาบัญชี Easy Pass ที่ไม่ได้ใช้งานเกิน 1 ปี  เริ่มตุลาคม 66

โดยทางเเนะนำนั้นให้ผู้ใช้บัตร Easy Pass ขึ้นใช้ทางพิเศษปีละ 1 ครั้ง เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียค่าดูแลบัญชีเดือนละ 25 บาท และเชิญชวนให้ผู้ใช้ทางพิเศษอัปเดตบัตร Easy Pass เดิม ให้เป็น Easy Pass Plus เพื่อให้สามารถใช้งานได้ทั้งระบบ M-Flow และ Easy Pass

     ทั้งนี้ กทพ. ระบุว่าปัจจุบันมีบัตร Easy Pass ที่ไม่มีการใช้งานเป็นระยะเวลาเกิน 1 ปี ประมาณ 546,000 บัตร คิดเป็น 25% ของผู้ใช้งาน Easy Pass ทั้งหมดที่มีมากกว่า 2.15 ล้านบัตร และในบัตรจำนวน 546,000 บัตรที่ไม่เคลื่อนไหวนั้น มีถึง 441,556 บัตร ที่ไม่เคลื่อนไหวมากกว่า 2 ปี คิดเป็นจำนวนสูงถึง 81% (ข้อมูล ณ วันที่ 24 กันยายน 2565)

การยกเลิกการใช้งานบัตร Easy Pass

     ผู้ใช้บริการสามารถนำอุปกรณ์ครบชุดส่งคืน กทพ. โดยจะทำการคืนเงินให้เจ้าของบัญชีผ่านบัญชีธนาคาร (กรณีมีเงินคงเหลือ) ภายใน 20 วันทำการ หากอุปกรณ์ชำรุดหรือสูญหาย ผู้ใช้บริการจะต้องชำระค่าอุปกรณ์ 330 บาท (OBD จำนวน 300 บาท และบัตร Smart Card 30 บาท)

เอกสารประกอบการยกเลิกบัตรสำหรับบุคคลธรรมดา

สำเนาหน้าสมุดบัญชีเจ้าของบัตร

อุปกรณ์ Easy Pass และ Smart Card

เอกสารประกอบการยกเลิกบัตรสำหรับนิติบุคคล

สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ไม่เกิน 6 เดือน)

สำเนาบัตรประชาชนกรรมการ 1 ท่าน

สำเนาหน้าสมุดบัญชีบริษัท

อุปกรณ์ครบชุด Easy Pass และ Smart Card

ช่องทางการยกเลิกบัตร Easy Pass ทั้ง 3 ช่องทาง

     1. อาคารด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษทุกด่าน ทุกสายทาง
     - ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ เวลา 05.00 – 22.00 น.

     2. ศูนย์บริการที่เดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service Center) ชั้น 1 อาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ กทพ.
     - วันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 08.30 – 14.30 น.

     3. ศูนย์บริการลูกค้าบัตรอัตโนมัติ (Easy Pass Fast Service) สถานีบริการน้ำมัน ปตท. บริเวณจุดพักรถบางนา (ขาออก) ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
     - วันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 09.00 – 15.30 น. (ในกรณีทำธุรกรรมเกี่ยวกับเงิน เวลา 09.00 – 14.30 น.)