สถานการณ์โรคไข้เลือดออก อันตรายจากยุงลาย

12 กันยายน 2565

โรคไข้เลือดออกนั้นเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งพบได้ในทุกกลุ่มอายุ อาการของโรคไข้เลือดออกแม้จะไม่รุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้เสียชีวิตได้

จากรายงาน รง.506 กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค สัปดาห์ที่ 35 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 6 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ป่วยสะสม 22,543 ราย เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว 1,904 ราย เสียชีวิตสะสม 18 ราย เพิ่มขึ้น 1 ราย มีแนวโน้มพบผู้ป่วยลดลง แต่ยังคงเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยง ในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคอ้วน และผู้ที่ได้รับยาหรือซื้อยาในกลุ่ม NSAIDs กินเอง และเนื่องจากช่วงนี้มีฝนตกในหลายพื้นที่ อาจมีแหล่งน้ำขังและเป็นที่วางไข่ของยุงลายได้ ให้หมั่นสำรวจแหล่งน้ำขัง พวกเศษขยะ แก้วน้ำ กระป๋อง จัดเก็บให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันยุงลายมาวางไข่

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก อันตรายจากยุงลาย

วิธีป้องกันที่ดีที่สุด ที่จะทำให้บ้านของคุณปลอดจากโรคไข้เลือดออก

1.เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง เพื่อไม่ให้ยุงมีที่เกาะพัก

2.เก็บขยะที่อาจเป็นแหล่งน้ำขัง ให้ยุงลายวางไข่ได้

3.เก็บน้ำให้มิดชิด ด้วยการปิดฝาภาชนะ หากปิดไม่ได้ให้เทน้ำทิ้ง ทำเป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อไม่ให้ยุงลายวางไข่

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก อันตรายจากยุงลาย

สังเกตอาการของโรคไข้เลือดออกได้ ดังนี้

- มีไข้สูง 39 – 40 องศา เกิน 2 วัน

- ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว

- อ่อนเพลีย ซึมลง

- ปัสสาวะสีเข้ม

- เบื่ออาหาร อาเจียน

- อาจพบจ้ำเลือดหรือจุดเลือดตามผิวหนัง

- อุจจาระมีสีดำ

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก อันตรายจากยุงลาย

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่ระบาดหนักมากในช่วงฤดูฝน โดยมีจำนวนผู้ป่วยและเสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากการดูแลตนเอง และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อ เราสามารถป้องกันตนเองด้วยวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก (Dengue Vaccine) ซึ่งเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกันอาการป่วยด้วยไข้เลือดออกได้ โดยประสิทธิภาพในการป้องกันไข้เลือดออกจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้เลือดออก ประวัติการติดเชื้อไข้เลือดออกมาก่อนหน้าที่จะได้รับวัคซีน และอายุของผู้ได้รับวัคซีน

สถานการณ์โรคไข้เลือดออก อันตรายจากยุงลาย