สรุปปาฐกถาพิเศษ เหลียวหลังแลหน้าการปกครองไทยใน 50 ปี ปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม

30 สิงหาคม 2565

สรุปปาฐกถาพิเศษ“เหลียวหลังแลหน้าการปกครองของไทยใน 50 ปี" โดย ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข และ"การปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม" โดย ศ.(พิเศษ)เข็มชัย ชุติวงศ์ จากงาน "50 ปี สิงห์ดำ 25 รัฐ-นิติสัมพันธ์" ซึ่งจัดโดย รัฐศาสตร์จุฬาฯ รุ่นที่ 25 และ นิติศาสตร์ จุฬาฯ รุ่นที่ 15 ณ โรงแรมรอยัลออคิด เชอราตัน


ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข กล่าวว่า เมื่อมองกลับไปเมื่อ 50 ปีที่แล้ว เราจะเห็นความผันผวนต่างๆ ทั้งในเวทีโลกและเวทีไทย  โดยมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นมากมายในการเมืองระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น การผ่อนคลายความตึงเครียดของสงครามเย็น  การเยือนจีนและรัสเซียของประธานาธิบดีนิกสัน สหรัฐส่งมอบเกาะโอกินาวากลับคืนสู่ญี่ปุ่น บังคลาเทศเกิดเป็นประเทศ   

“ซีลอน”เปลี่ยนเป็นศรีลังกาในปัจจุบัน การถอนทหารออกจากเวียดนามใต้ของสหรัฐอเมริกา และยังเป็นปีที่รัสเซียมีการกวาดล้างสายชาตินิยมในยูเครน เป็นต้น สำหรับเมืองไทย ปี 2515เราเห็นรัฐประหาร เห็นการกำเนิดของรัฐธรรมนูญ ปี2515 โดยยังมีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 299 ที่มีนัยยะว่าการเมืองสามารถก้าวก่ายอำนาจตุลาการ ก่อให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ในปี 2515  และนำไปสู่การเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่ การกำเนิดของขบวนการนิสิตนักศึกษาไทย หรือเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ 14 ตุลา  ซึ่งจากนั้นเราได้เห็น Disruption ชุดใหญ่ของมิติการเมืองและสังคมไทย

 

สรุปปาฐกถาพิเศษ เหลียวหลังแลหน้าการปกครองไทยใน 50 ปี ปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม
มองโลกในกรอบ 10 ปี…. เราจะเห็น การกลับมาของสงครามเย็น วิกฤตสงครามที่ยังคงอยู่กับเราใน 5-10 ปี ที่ไม่ใช่แค่สงครามยูเครน  รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของแบบแผนสงคราม สงครามนิวเคลียร์อาจกลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง รวมไปถึง วิกฤตด้านต่างๆ ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจโลก วิกฤตพลังงาน อาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะเปลี่ยนโลกไปมากแค่ไหน

สรุปปาฐกถาพิเศษ เหลียวหลังแลหน้าการปกครองไทยใน 50 ปี ปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม


มองไทยในระยะ 1-3 ปี … เราจะเห็นปัญหาที่เป็นโจทย์ใหญ่ ทั้ง การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในไทยที่จะยุ่งยากและซับซ้อน  ทำอย่างไรที่จะฟื้นฟูระบบรัฐสภาให้น่าเชื่อถือ ปัญหาการปฏิรูปกองทัพ การปฏิรูปรัฐธรรมนูญไทยให้เป็นสากล ยุทธศาสตร์ชาติที่ไมใช่ยุทธศาสร์แต่เป็นข้อกำหนด เศรษฐกิจไทยที่ยังไม่มีคำตอบ  การสร้างรัฐไทยที่มีประสิทธิภาพจากรัฐราชการรวมศูนย์ไปสู่การกระจายอำนาจ  รวมถึง ความขัดแย้งที่มีอยู่ในสังคมไทยจะจบอย่างไรจะฟื้นฟูสังคมไทยอย่างไรหลังวิกฤตโควิด19 ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม  จะจัดการปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้อย่างไร และคำถามใหญ่ที่สุด จะฟื้นฟูสถานะของไทยในเวทีสากล ทั้งในเวทีโลกและเวทีภูมิภาคอย่างไรไทยควรเป็นอย่างไรในการเมืองระหว่างประเทศ


ด้าน ศ.(พิเศษ)เข็มชัย ชุติวงศ์  ได้กล่าวในหัวข้อ "การปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม"  มองว่าสภาพกระบวนการยุติธรรมที่ทำให้คนต้องการเปลี่ยนแปลง ก่อให้เกิดกระแสปฏิรูป เป็นผลมาจากการที่หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมมีทัศนคติเชิงอำนาจ ห่วงแหนรักษาอำนาจ และมีการแยกส่วนการใช้อำนาจแทนการร่วมมือกัน  เน้นการนำคดีไปชำระในศาล และยังเน้นการลงโทษซึ่งสวนทางกับการแก้ไขฟื้นฟูให้คนผิดกลับสู่สังคม  นอกจากนี้กระบวนการยุติธรรมยังมีราคาแพง ทำให้คนยากจนเข้าถึงได้ยาก ขณะที่การบริหารงานมีความล่าช้า ขาดความโปร่งใส ผู้ที่เกี่ยวข้องไม่สามารถรับรู้ได้ว่ากระบวนการต่างๆ ไปถึงขั้นตอนไหน

สรุปปาฐกถาพิเศษ เหลียวหลังแลหน้าการปกครองไทยใน 50 ปี ปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม


แม้ว่าจะมีการกำหนดกลไกการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไว้ในรัฐธรรมนูญ ทั้งการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมให้เป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติให้คนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้สะดวก ไม่เสียค่าใช้จ่ายเกินควรคุ้มครองเจ้าหน้าที่ให้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ถูกแทรกแซงให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้ด้อยโอกาส แต่ในปัจจุบัน ทัศนคติของเจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานจะมองว่า กระบวนการยุติธรรมเป็นการใช้อำนาจ  ซึ่งกระบวนการยุติธรรมนั้น ควรเป็นเหมือนการให้บริการในรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้ความสะดวก หรือให้มีความเดือดร้อนน้อยลง

สรุปปาฐกถาพิเศษ เหลียวหลังแลหน้าการปกครองไทยใน 50 ปี ปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม


   นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังกำหนดการปฏิรูปในเรื่องต่างๆ ไว้ อาทิ กำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานทุกขั้นตอน ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมี  มีกลไกช่วยเหลือผู้ขาดแคลนให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมสร้างกลไกบังคับใช้กฎหมายโดยเคร่งครัดปรับปรุงระบบการสอบสวนให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลเป็นต้น ทั้งนี้ ระบบกฏหมายได้บัญญํติไว้อย่างสมบูรณ์ ในการคุ้มครองให้ทุกคนได้รับความยุติธรรม โดยกฏหมายไทยไม่น้อยหน้าใครในโลก แต่ปัญหาอยู่ที่เจ้าหน้าที่  อย่างไรก็ดี สังคมมีส่วนสำคัญ ปัจจุบันโซเชียลมีเดียทำให้คนสามารถแลกเปลี่ยนข่าวสาร เกิดกระแสการกดดันในทางที่ดี มีส่วนให้เจ้าหน้าที่ไม่กล้าใช้อำนาจในทางมิชอบได้ แต่การวิพากษ์วิจารณ์ของคนก็อาจสร้างความไม่เป็นธรรมได้เช่นกัน กระบวนการยุติธรรมจึงต้องการผู้ที่มีใจเป็นธรรม