เศรษฐกิจ

heading-เศรษฐกิจ

ธปท.จ่อต่อมาตรการช่วยลูกหนี้ ลดค่าครองชีพ ดันหนี้เสียเพิ่ม

20 ก.พ. 2566 | 18:41 น.
ธปท.จ่อต่อมาตรการช่วยลูกหนี้ ลดค่าครองชีพ ดันหนี้เสียเพิ่ม

ธปท.จ่อต่อมาตรการช่วยลูกหนี้ ลดค่าครองชีพ ดันหนี้เสียเพิ่ม โดยจะหมดอายุมาตรการในวันที่ 9 เม.ย.นี้ จะมีการเร่งดีลพักทรัพย์พักหนี้ จากตอนนี้มีผู้ประกอบการเข้าร่วมแล้ว 6.5 หมื่นราย

ธปท.จ่อต่อมาตรการช่วยลูกหนี้ ลดค่าครองชีพ ดันหนี้เสียเพิ่ม

ธปท.จ่อต่อมาตรการช่วยลูกหนี้ ลดค่าครองชีพ ดันหนี้เสียเพิ่ม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

น.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์

น.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.อยู่ระหว่างพิจารณาต่ออายุมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ทั้งมาตรการสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟู ที่ได้ปรับเปลี่ยนเป็นสินเชื่อเพื่อการปรับตัว โดยจะสามารถขยายต่อไปได้อีก 1 ปี และมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ ซึ่งทั้ง 2 มาตรการจะหมดอายุในวันที่ 9 เม.ย. 66 โดยเร็วๆ นี้จะมีความชัดเจนว่าจะต่ออายุมาตรการดังกล่าวหรือไม่ ส่วนมาตรการแก้หนี้ระยะยาว จะหมดอายุสิ้นปี 66 เชื่อว่าแม้มาตรการจะหมดลง แต่ธนาคารพาณิชย์ก็ยังให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อยู่ และ ธปท.ได้เน้นย้ำให้เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินและ Non bank ให้ช่วยเหลือลูกค้าปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถชำระหนี้หรือรายได้ในปัจจุบัน

ธปท.จ่อต่อมาตรการช่วยลูกหนี้ ลดค่าครองชีพ ดันหนี้เสียเพิ่ม

“คาดว่าวันใกล้หมดอายุมาตรการในวันที่ 9 เม.ย.นี้ จะมีการเร่งดีลพักทรัพย์พักหนี้ จากตอนนี้มีผู้ประกอบการเข้าร่วมแล้ว 6.5 หมื่นราย ถือว่าเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 4-5 หมื่นราย ด้านสินเชื่อเพื่อการปรับตัว มีส่งโปรดักท์โปรแกรมมา 16 แห่ง และได้รับอนุมัติ 9 แห่ง ยอดยังไม่เยอะ แค่หลักพันกว่าล้านบาท ส่วนใหญ่ปรับตัวไปสู่ดิจิทัล พัฒนานวัตกรรมทำสมาร์ทฟาร์มมิ่ง และไปสู่พลังงานทดแทน ติดตั้งโซลาร์เซลล์ เป็นต้น” น.ส.สุวรรณี กล่าว

น.ส.สุวรรณี กล่าวถึงทิศทางหนี้เสียในปีนี้ว่า อาจจะทยอยเพิ่มขึ้น แต่จะไม่สูงขึ้นเป็นหน้าผา โดยภาพรวมถือว่าดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงโควิด-19 ด้วยมาตรการช่วยเหลือที่ยังคงมีอยู่ ซึ่งเชื่อว่ายังเพียงพอรองรับสถานการณ์ลูกหนี้ที่เปราะบางได้

“เดิมเราคิดว่าเมื่อโควิด-19 ดีขึ้นชัดเจน สถานการณ์ต่าง ๆ ก็น่าจะดีขึ้น แต่ที่เห็นเมื่อปลายปี 65 ที่ผ่านมา คือ การส่งออกที่ดูไม่ฟื้นตัวเต็มที่ จากการชะลอตัวของฝั่งคู่ค้า และค่าครองชีพที่สูง อาจจะกระทบครัวเรือน รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น อาจจะมีกลุ่มเปราะบางที่ต้องจับตาดูอยู่ ดังนั้นสิ่งที่ ธปท. ได้เน้นย้ำกับทางฝั่งเจ้าหนี้เสมอมา คือ การเน้นให้มีการปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้” น.ส.สุวรรณี กล่าว

ทั้งนี้ หนึ่งในเครื่องมือแก้ไขหนี้ NPL คือ โครงการคลินิกแก้หนี้ ที่เริ่มเปิดบริการรับช่วยเหลือลูกหนี้ NPL มาตั้งแต่กลางปี 60 จนถึง ม.ค.66 มียอดแล้ว 3.6 หมื่นราย คิดเป็น 1.05 แสนบัญชี เป็นมูลหนี้ 7,140 ล้านบาท และได้ปรับเกณฑ์เงื่อนไขของคลินิกแก้หนี้ใหม่ ให้ครอบคลุมถึงลูกหนี้ที่มีสถานะ NPL ก่อนวันที่ 1 ก.พ.66 โดยจะต้องเป็นลูกหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล หนี้เสียรวมไม่เกิน 2 ล้านบาท ได้รับดอกเบี้ย 3-5% ต่อปี และจะมีแรงจูงใจให้สถาบันการเงินเข้าร่วมเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันมี 35 ราย

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทหารราชองครักษ์ในพระองค์ รวม 18 นาย

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทหารราชองครักษ์ในพระองค์ รวม 18 นาย

น่ากลัวสาเหตุ "ด้งเด้ง" พระเอกไทบ้าน ประสบอุบัติเหตุรถเสียหลัก

น่ากลัวสาเหตุ "ด้งเด้ง" พระเอกไทบ้าน ประสบอุบัติเหตุรถเสียหลัก

ผวา "กระดาษห่อขนมไข่เต่า" หมึกไม่เท่าไหร่ เจอข้อความยิ่งหนัก

ผวา "กระดาษห่อขนมไข่เต่า" หมึกไม่เท่าไหร่ เจอข้อความยิ่งหนัก

แมวพูดกับเจ้าของ "วิธีการสื่อสาร" ด้วยเสียงและท่าทาง

แมวพูดกับเจ้าของ "วิธีการสื่อสาร" ด้วยเสียงและท่าทาง

เพจดังวาร์ป อินฟลู จ้าง น้องมาร์ค ไปเอ็นจนสุดท้ายเสียชีวิตปริศนา

เพจดังวาร์ป อินฟลู จ้าง น้องมาร์ค ไปเอ็นจนสุดท้ายเสียชีวิตปริศนา