พบถ้ำโกโบริ สมัยสงครามโลกครั้งที่2 เตรียมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

08 เมษายน 2567

"ชุมชนยั่งยืน" พามาติดตามเรื่องราวการค้นพบถ้ำโกโบริ สมัยสงครามโลกครั้งที่2 อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ที่คาดว่าเป็นเส้นทางรถไฟสายมรณะ จากประเทศไทย ไปประเทศเมียนมา ซึ่งขณะนี้เตรียมสำรวจเเละพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

     หลังจากมีผู้ค้นพบถ้ำโกโบริ  ถ้ำสมัยสงครามโลกครั้งที่2  ทำให้มีนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่เดินทางมาเที่ยวชม โดยถ้ำโกโบริคาดว่าเป็นเส้นทางรถไฟสายมรณะ จากประเทศไทย ไปสิ้นสุดที่สถานีรถไฟตันปุยสัยยัด ประเทศเมียนมา 

พบถ้ำโกโบริ สมัยสงครามโลกครั้งที่2 เตรียมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

     ตัวถ้ำโกโบริติดถนนระหว่างอำเภสังขละบุรี ไปบ้านพระเจดีย์สามองค์ ถนนสาย 323 หลักกิโลเมตรที่ 269 หมู่ 8 บ้านซองกาเรีย อำเภอสังขละบุรี  จังหวัดกาญจนบุรี 

พบถ้ำโกโบริ สมัยสงครามโลกครั้งที่2 เตรียมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

การเดินทางเข้าสู่ถ้ำโกโบริ

  • อยู่ติดถนนสาย 323 ประมาณ 50 เมตร พบแปลงปลูกพืชทางการเกษตรมันสำปะหลังของชาวบ้าน
  • หลังจากนั้นต้องเดินเท้าอีก 30 เมตร ทางลาดชัน ถึงปากถ้ำ
  • ความกว้างของปากถ้ำประมาณ 2เมตร ต้องมุดเข้าไปในถ้ำแล้วถึงจะเดินได้
  • ภายในถ้ำมีความสูงประมาณ 1.90 เมตร 

พบถ้ำโกโบริ สมัยสงครามโลกครั้งที่2 เตรียมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

  • ภายในถ้ำมีอากาศเย็น ลมระบายถ่ายเข้าออกดี
  • ความยาวของถ้ำประมาณ 40 เมตร รอบบริเวณของถ้ำปกคลุมด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ 

พบถ้ำโกโบริ สมัยสงครามโลกครั้งที่2 เตรียมพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว

เตรียมสำรวจเพื่อพัฒนาเป็นเเหล่งท่องเที่ยว

     นายณัฐพัชร์ งามศิริโรจน์ หัวหน้าความมั่นคงปลัดอำเภอสังขละบุรี ได้ทราบเรื่องดังกล่าวว่าค้นพบถ้ำสมัยสงครามโลกครั้งที่2 จึงได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ หลังจากนี้จะออกสำรวจ ว่าที่บริเวณดังกล่าวเป็นของหน่วยงานใดรับผิดชอบเพื่อนำมาพัฒนาสร้างเป็นอันซีนแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของอำเภอสังขละบุรี 

ภาพจาก wikipedia

     สำหรับทางรถไฟสายมรณะ (ทางรถไฟสายน้ำตก หรือ ทางรถไฟสายกาญจนบุรี เดิมเรียก ทางรถไฟสายพม่า) เป็นเส้นทางรถไฟสายหนึ่งที่เริ่มต้นจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่านจังหวัดกาญจนบุรี ข้ามแม่น้ำแควใหญ่ โดยสะพานข้ามแม่น้ำแคว ไปทางทิศตะวันตกจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อให้ถึงปลายทางที่เมืองตาน-พยูซะยะ ประเทศพม่า

    ทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้แรงงานเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและกรรมกรชาวเอเชียที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์มาสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า

     ปัจจุบันเส้นทางนี้ไปสุดปลายทางที่ป้ายหยุดรถไฟน้ำตกไทรโยคน้อย บ้านท่าเสา ระยะทางจากสถานีกาญจนบุรีถึงสถานีน้ำตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร การรถไฟแห่งประเทศไทยเปิดเดินรถบนเส้นทางนี้ทุกวัน และมีการจัดรถไฟขบวนพิเศษสายกรุงเทพฯ-น้ำตก ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ

     จุดที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากคือช่วงสะพานข้ามแม่น้ำแคว และช่วงโค้งมรณะ หรือช่วงระหว่างสถานีรถไฟลุ่มสุ่มและป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ ซึ่งเป็นช่วงที่มีการสร้างสะพานเลียบริมหน้าผาและแม่น้ำแควน้อย มีความยาวประมาณ 400 เมตร