"จอกบ่วาย" มหัศจรรย์พืชกินแมลง ในสวนพฤกษศาสตร์ทุ่งค่าย

"จอกบ่วาย" (Drosera burmannii Vahl) ไม้ล้มลุก มหัศจรรย์พืชกินแมลง ในสวนพฤกษศาสตร์ทุ่งค่าย สามารถพบเห็นได้ทั่วประเทศไทย
จอกบ่วาย (Drosera burmannii Vahl) ไม้ล้มลุก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-3 เซนติเมตร มักมีสีแดง รูปไข่กลับถึงรูปทรงกลม ปลายใบมนกว้างเป็นฟันเลื่อย ยาว 6-15 เซนติเมตร กว้าง 5-8 มิลลิเมตร หูใบประกอบ 3-6 แฉก
ก้านช่อดอกตั้งตรง 1-3 ก้าน ยาว 7-20 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 2-9 เซนติเมตร เกลี้ยงก้านดอกยาว 2-5 เซนติเมตร กลีบ เลี้ยง รูปขอบขนาน ยาว 2–3 มิลลิเมตร กลีบดอกสีขาว รูปไข่กลับ ยาว 4-5 มิลลิเมตร เกสรตัวผู้ 5 อัน อิสระ ยาว 2-3 มิลลิเมตร มีอับเรณูเรียงเป็นแนวซาจิตเตต รังไข่มี 5 กลีบ เกสรตัวเมีย 5 อัน เกลี้ยง ยาว 1-2 มิลลิเมตร
สามารถพบเห็นได้ทั่วประเทศไทย และในอินเดีย, ซีลอน (ชนิด), ทั่วคาบสมุทรอินเดีย-จีน, มาเลเซียถึงญี่ปุ่น และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ซึ่งพบพืชชนิดนี้ในดินทรายชื้นเปิด ตั้งแต่พื้นที่ลุ่มจนถึงระดับความสูง 1,400 เมตร
ที่มา : สวนพฤกษศาสตร์ทุ่งค่าย จ.ตรัง

"ซีล-เรือพิฆาต" เข้าประจำการ กองเรือยุทธการ พร้อมรบเต็มสูบ

เฮ! มอเตอร์เวย์ M81 (บางใหญ่-กาญจนบุรี) เตรียมเปิดวิ่งฟรี ต.ค. 68

"รัฐบาล" ไฟเขียวเยียวยา เหยื่อปะทะชายแดนไทย-เขมร สูงสุด 1 ล้าน

"กองทัพภาคที่ 2" แถลงสรุป 8 จุดปะทะ ฝั่งกัมพูชาดับนับ 100 ที่ภูผี
