ชายวัย 55 สุขภาพดี ไม่สูบบุหรี่ แต่เป็น มะเร็งปอด เพราะโดนเมียบ่น

ชายวัย 55 สุขภาพดี ไม่สูบบุหรี่ - ดื่มสุรา ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่ตรวจพบว่าเป็น "มะเร็งปอด" เพราะโดนเมียบ่นประจำ
เจิ้งโจว, เหอหนาน ประเทศจีน – ชายวัย 55 ปีที่มีวิถีชีวิตสุขภาพดี ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา และออกกำลังกายเป็นประจำ กลับตรวจพบว่าเป็น มะเร็งปอด โดยแพทย์ลงความเห็นว่าสาเหตุหลักอาจไม่ได้มาจากพฤติกรรมส่วนตัว แต่เกิดจากความเครียดเรื้อรังสะสมจาก “การถูกภรรยาบ่นและตำหนิเป็นประจำ”
รายงานจากสื่อจีน เปิดเผยว่า ชายคนนี้อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมทางอารมณ์ที่ตึงเครียดเป็นเวลานาน โดยเฉพาะการเผชิญหน้ากับคำตำหนิและเสียงบ่นจากภรร้าอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดภาวะ เครียดเรื้อรัง และอารมณ์หงุดหงิดสะสม ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญต่อการพัฒนาเซลล์มะเร็ง
- แพทย์เตือน: ความเครียดเรื้อรัง ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน เสี่ยงมะเร็ง
แพทย์จีนเตือนว่า อารมณ์ที่แปรปรวน เช่น ความเครียด โกรธ หรือหงุดหงิดเรื้อรัง อาจเป็น “ตัวกระตุ้นมะเร็ง” เพราะส่งผลโดยตรงต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ความสามารถในการกำจัดเซลล์แปลกปลอลดลง เสี่ยงต่อการเกิด โรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งปอด
ข้อมูลทางจิตวิทยายังชี้ว่า คนที่มี “บุคลิกภาพแบบ C” (Cancer Personality) ซึ่งมักจะ เก็บกดอารมณ์, หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง, ต้องการความสมบูรณ์แบบ และควบคุมตนเองมากเกินไป จะมีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งมากขึ้น หากปล่อยให้ความเครียดสะสมเป็นเวลานาน
มุมมองจากจิตแพทย์ไทย : ความเครียดมีผลต่อมะเร็งสองทาง
นพ. ณรงค์ สุภัทรพันธ์ อดีตหัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ระบุว่า ความเครียดส่งผลต่อมะเร็งใน 2 ทางหลัก ได้แก่
- ความเครียดนำไปสู่พฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ หรือดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
- ความเครียดส่งผลต่อสารภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ระบบกำจัดเซลล์ก่อมะเร็งทำงานลดลง
แพทย์ยังเสริมว่า แม้ความเครียดจะไม่ใช่ “สาเหตุโดยตรง” ของมะเร็ง แต่ความรุนแรงและระยะเวลาของความเครียดสามารถเพิ่มความเสี่ยงได้ โดยเฉพาะในคนที่ไม่สามารถจัดการกับอารมณ์ตัวเองได้ดี
วิจัยยืนยัน: ความเครียดเกี่ยวข้องกับมะเร็งบางชนิด
ข้อมูลจาก ศูนย์มะเร็งตรงเป้า รพ.จุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต ระบุว่า การศึกษาทางคลินิกให้ผลลัพธ์หลากหลายเกี่ยวกับความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดกับโรคมะเร็ง เช่น
- การศึกษาในปี 2008 และ 2019 พบความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดจากการทำงานกับความเสี่ยงของมะเร็งปอด, ลำไส้ใหญ่ และหลอดอาหาร
- การศึกษาในกลุ่มผู้หญิงกว่า 100,000 คนในสหราชอาณาจักร ไม่พบความเชื่อมโยงระหว่างความเครียดกับมะเร็งเต้านม
- การศึกษาในกลุ่มชายแคนาดา พบว่าความเครียดในที่ทำงานมีความสัมพันธ์กับมะเร็งต่อมลูกหมาก
- ในขณะที่บางการศึกษาในยุโรป ไม่พบความเชื่อมโยงที่ชัดเจน ระหว่างความเครียดกับความเสี่ยงมะเร็งในหลายอวัยวะ
วิธีป้องกันมะเร็งจากความเครียด: ปรับใจให้สงบ สำคัญพอ ๆ กับเลิกบุหรี่
แพทย์แนะนำว่า การดูแลสุขภาพใจมีความสำคัญไม่แพ้การควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หรือการหลีกเลี่ยงสารพิษ การฝึกผ่อนคลาย เช่น การนั่งสมาธิ ฝึกหายใจ หรือแม้แต่ การวิ่งออกกำลังกาย ที่กระตุ้นการหลั่ง “เอ็นดอร์ฟิน” ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนมอร์ฟีนธรรมชาติในร่างกาย ช่วยให้จิตใจผ่อนคลายและสดชื่น
การรู้เท่าทันอารมณ์ตนเอง และไม่ปล่อยให้ตกอยู่ในภาวะเครียดเรื้อรัง คือกุญแจสำคัญของการมีสุขภาพทั้งกายและใจที่สมบูรณ์
ข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล , ศูนย์มะเร็งตรงเป้า โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต และ CTWANT

บุกทลายห้องเย็น ยึดซากเนื้อเถื่อน 4 หมื่นกก. ส่งขายทั่วกรุงเทพฯ

แม่ทัพภาค 2 สั่งปูนบำเหน็จ ทหารเหยียบกับระเบิด เลื่อนยศ-เงินช่วยเหลือ

หมอบอย เปิดดวง 6 ราศี หลังดาวอาทิตย์ย้าย ดวงเปลี่ยนแปลงแบบพลิกฟ้า

"รพ.พิษณุเวช พิษณุโลก" จัดใหญ่ Princ Group Fair ตลาดนัดเพื่อคนรักสุขภาพ
