ข่าว

heading-ข่าว

ทนายดัง กางกฎหมาย "จอนนี่ มือปราบ" ถูกกล่าวหา ลั่น แทบหมดประตูสู้

08 ก.ค. 2568 | 01:02 น.
ทนายดัง กางกฎหมาย "จอนนี่ มือปราบ" ถูกกล่าวหา ลั่น แทบหมดประตูสู้

"ทนายรณณรงค์" วิเคราะห์คดี "จอนนี่ มือปราบ" ถูกกล่าวหา ปมบุกรุกที่นิคมสร้างตนเองลำโดมน้อย ชี้เข้าข่ายยากจะต่อสู้ทางกฎหมาย

จากกรณีเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2568 เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการได้เข้าแจ้งความดำเนินคดี "จอนนี่ มือปราบ" หรือ ยุทธพล ศรีสมพงษ์ อดีตตำรวจชื่อดังที่ผันตัวมาเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ฐานบุกรุกพื้นที่นิคมสร้างตนเองในจังหวัดอุบลราชธานี โดยก่อนหน้านี้เคยมีการส่งหนังสือแจ้งให้ยุติการก่อสร้างรีสอร์ทแล้ว แต่กลับไม่ได้รับความร่วมมือ แถมยังมีการข่มขู่เจ้าหน้าที่อีกด้วย

ทนายดัง กางกฎหมาย \"จอนนี่ มือปราบ\" ถูกกล่าวหา ลั่น แทบหมดประตูสู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ล่าสุด ทนายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ ได้ออกมาให้ความเห็นทางกฎหมายว่า คดีนี้แทบจะไม่มีช่องทางต่อสู้ได้เลย หากพิจารณาตามข้อเท็จจริงและกฎหมาย เนื่องจาก


(1) ที่ดินที่เข้าไปครอบครองนั้นเป็นพื้นที่ส่วนกลางของนิคม ซึ่งตามกฎหมายไม่มีใครมีสิทธิส่วนตัวอยู่ก่อนและรัฐห้ามบุกรุกโดยไม่ได้รับอนุญาต (ผิดมาตรา 15) 
(2) ผู้ถูกกล่าวหาไม่ใช่สมาชิกนิคมลำโดมน้อยมาก่อน ไม่มีหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์จากกรมพัฒนาสังคมฯ แต่อย่างใด กรมฯ ยืนยันว่าตรวจสอบประวัติแล้ว ไม่เคยมีการอนุญาตสิทธิให้บุคคลนี้ และแน่นอนว่ายังไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดินดังกล่าวออกมา

ทนายดัง กางกฎหมาย \"จอนนี่ มือปราบ\" ถูกกล่าวหา ลั่น แทบหมดประตูสู้

ดังนั้นผู้ถูกกล่าวหาจึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินนี้อย่างถูกต้องตามกฎหมายมาแต่ต้น การสร้างสิ่งปลูกสร้างรีสอร์ตถือเป็นการบุกรุกที่ดินของรัฐโดยตรง ยิ่งไปกว่านั้นหากมีการแผ้วถางป่า ตัดไม้ หรือทำลายทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ ก็เข้าข่ายความผิดตามกฎหมายป่าไม้เพิ่มเติมด้วย

ทนายดัง กางกฎหมาย \"จอนนี่ มือปราบ\" ถูกกล่าวหา ลั่น แทบหมดประตูสู้

ผู้ถูกกล่าวหาอาจกล่าวว่าตนได้ซื้อหรือรับโอนสิทธิมาจากชาวบ้านรายหนึ่งที่อ้างว่ามีสิทธิดั้งเดิมในที่ดินแถบนั้น (เช่น เป็นสมาชิกนิคมที่อยู่ติดกันหรือเคยทำกินบริเวณนั้นมาก่อน) อย่างไรก็ดี หากเป็นพื้นที่ป่าไม้ส่วนกลางจริง ชาวบ้านคนดังกล่าวก็ไม่มีสิทธิจะขายหรือโอนให้ใคร เพราะไม่เคยถูกจัดสรรให้ (ที่ดินยังเป็นของรัฐ) และต่อให้เป็นพื้นที่ส่วนที่มีชาวบ้านครอบครองอยู่ การขายสิทธินิคมให้เอกชนอื่นโดยพลการก็ทำไม่ได้อยู่ดีตามมาตรา 27(6) 

 ถ้าอธิบายภาษาชาวบ้านง่ายง่ายก็คือตอนที่เข้าครอบครองที่ดินไม่สามารถเข้าครอบครองได้แบบถูกกฎหมายเพราะว่ายังถือว่าเป็นที่ของรัฐอยู่รัฐอนุญาตให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์ได้แต่ห้ามทำการจำหน่ายจ่ายโอนยกเว้นจะมีโฉนดที่ดินออกมาแล้ว 

ทนายดัง กางกฎหมาย \"จอนนี่ มือปราบ\" ถูกกล่าวหา ลั่น แทบหมดประตูสู้
แต่ก็แปลกไม่ใช่น้อยอยู่มาร้อยวันพันปีไม่เคยมีการตรวจสอบพอจอห์นนี่มือปราบวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลก็ถูกตรวจสอบทันทีไม่แปลกที่จอห์นนี่จะบอกว่าเป็นการเลือกปฏิบัติแต่อย่างไรก็ตามก็ต้องย้อนกลับไปว่าที่มาที่ไปถูกต้องตามกฏหมายหรือไม่ในการเลือกดำเนินคดีจะบอกว่าละเว้นหรือเลือกปฏิบัติก็คงต้องอยู่ที่หน่วยงานในพื้นที่ว่าบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่  อาจจะมีบางรีสอร์ทช้าหรือบางรีสอร์ทไวมากๆก็เป็นไปได้ 

 

ทนายดัง กางกฎหมาย \"จอนนี่ มือปราบ\" ถูกกล่าวหา ลั่น แทบหมดประตูสู้


ศาลฎีกามีคำพิพากษาหลายคดีที่ยืนยันหลักการว่า ที่ดินในเขตนิคมสร้างตนเองยังคงเป็นที่ดินของรัฐจนกว่าจะมีการออกโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ (สมาชิกนิคม) มีเพียงสิทธิครอบครองตามกฎหมายเฉพาะเท่านั้น ยังมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์เด็ดขาด และ การจะโอนสิทธิครอบครองนี้ให้ผู้อื่นต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด มิเช่นนั้นการโอนจะไม่มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ดังเช่นคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3917/2563

ทนายดัง กางกฎหมาย \"จอนนี่ มือปราบ\" ถูกกล่าวหา ลั่น แทบหมดประตูสู้
แนวคำพิพากษาข้างต้นชี้ให้เห็นว่า : หากการโอนสิทธิในที่ดินนิคมไม่ได้เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย (เช่น ไม่ได้รับอนุญาตจากกรมฯ, โอนโดยใช้อำนาจมรดกทั่วไปหรือซื้อขายกันเอง) ศาลจะถือว่าผู้รับโอนมีสิทธิไม่ดีกว่าผู้โอน กล่าวคือ ได้สิทธิครอบครองมาเพียงเท่าที่ผู้โอนมีเท่านั้น  และถ้าผู้โอนเองไม่มีสิทธิจะโอน (เพราะกฎหมายห้ามโอนหรือสิทธินั้นหมดไปแล้ว) ผู้รับโอนก็จะไม่ได้สิทธิใด ๆ ในทางกฎหมายเลย กลายเป็นผู้บุกรุกยึดถือที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิที่ชอบด้วยกฎหมายรองรับ

 
นอกจากนี้ยังมีคำพิพากษาฎีกาอื่น ๆ ที่สอดคล้องกัน เช่น ฎีกาที่ 226/2510 วินิจฉัยว่าหากมีกรณีพิพาทแย่งสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินนิคม ผู้ชี้ขาดคือเจ้าหน้าที่นิคมและหลักฐานในนิคมนั้น ใครมีชื่อในทะเบียนและหลักฐานของนิคมก็เป็นพยานหลักฐานที่ศาลยึดถือว่าเป็นผู้มีสิทธิโดยชอบ เป็นต้น  อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ฎีกาที่ 5681/2538 ซึ่งวินิจฉัยเกี่ยวกับที่ดินที่มี น.ส.3 (หนังสือแสดงการทำประโยชน์) ที่มีเงื่อนไขห้ามโอน 10 ปีตามกฎหมายที่ดินว่า ผู้ได้รับที่ดินนั้นยังไม่มี “สิทธิครอบครอง” สมบูรณ์ในทางปกครอง จึงไม่อาจโอนสิทธิครอบครองให้ใครได้จนกว่าจะพ้นระยะห้ามโอน ยกเว้นเป็นการตกทอดทางมรดก  แนวคิดนี้สอดคล้องกับกรณีนิคมสร้างตนเองซึ่งสมาชิกยังไม่มีกรรมสิทธิ์เด็ดขาดและห้ามโอนสิทธิโดยพลการเช่นกัน

ทนายดัง กางกฎหมาย \"จอนนี่ มือปราบ\" ถูกกล่าวหา ลั่น แทบหมดประตูสู้

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

ทนายดัง กางกฎหมาย "จอนนี่ มือปราบ" ถูกกล่าวหา ลั่น แทบหมดประตูสู้

ทนายดัง กางกฎหมาย "จอนนี่ มือปราบ" ถูกกล่าวหา ลั่น แทบหมดประตูสู้

โพสต์ล่าสุด “น้องเต้าหู้” อินฟลูฯจีน หลังเผยความลับถูกลักพาตัว

โพสต์ล่าสุด “น้องเต้าหู้” อินฟลูฯจีน หลังเผยความลับถูกลักพาตัว

พยากรณ์อากาศวันนี้วันนี้ ฝนตกหนัก พายุดานัสจ่อขึ้นฝั่งไต้หวัน

พยากรณ์อากาศวันนี้วันนี้ ฝนตกหนัก พายุดานัสจ่อขึ้นฝั่งไต้หวัน

อย่าทำแบบนี้ "ดุ๊ก ภาณุเดช" ถูกบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่

อย่าทำแบบนี้ "ดุ๊ก ภาณุเดช" ถูกบุกรุกบ้านส่วนตัวที่เขาใหญ่

"งิ้วแต้จิ๋ว" สะพานวัฒนธรรมแห่งความทรงจำ ฉลอง 50 ปี มิตรภาพไทย-จีน

"งิ้วแต้จิ๋ว" สะพานวัฒนธรรมแห่งความทรงจำ ฉลอง 50 ปี มิตรภาพไทย-จีน