ข่าว

heading-ข่าว

บอร์ดแพทยสภายืนกราน ตัดสินด้วย "ข้อเท็จจริงทางการแพทย์" เท่านั้น

29 พ.ค. 2568 | 16:35 น.
บอร์ดแพทยสภายืนกราน ตัดสินด้วย "ข้อเท็จจริงทางการแพทย์" เท่านั้น

บอร์ดแพทยสภาย้ำ ตัดสินคดีตาม "ข้อเท็จจริงทางการแพทย์" เท่านั้น - ยึดเวชระเบียน-ผลตรวจ-ไต่สวน ย้ำอนุกรรมการแค่ให้ความเห็น

"แพทยสภา" ผู้พิทักษ์ "มาตรฐานวิชาชีพ-จริยธรรม" ในคดีการแพทย์ เหตุใดการตัดสินใจจึงต้องมาจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง หลัง แพทยสภายัน ตัดสินตาม ข้อเท็จจริงทางการแพทย์ รศ.(พิเศษ) นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ กรรมการแพทยสภา โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว  เรื่อง ลึกแต่ไม่ลับ (๒) ใจความว่า  การประกอบวิชาชีพเวชกรรม จะมีความรับผิดตามกฎหมายมาเกี่ยวข้องสามประเด็น คือ ความรับผิดทางอาญา ความรับผิดทางแพ่ง และความรับผิดทางจริยธรรม  ความรับผิดทางอาญาและแพ่ง อำนาจอยู่ที่ท่านอัยการ และท่านผู้พิพากษา

 

บอร์ดแพทยสภายืนกราน ตัดสินด้วย "ข้อเท็จจริงทางการแพทย์" เท่านั้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แพทยสภา มีหน้าที่ความรับผิดชอบในประเด็นเรื่อง "มาตรฐานวิชาชีพ" และ "ความรับผิดทางจริยธรรม" โดยตรง

 

คดีนี้ทำให้เห็นชัดว่า "ทำไมคดีทางการแพทย์ จึงควรต้องทำคำตัดสินโดย แพทยสภา" หลายเรื่องทางการแพทย์เป็นประเด็นที่เกินกว่าจะใช้ดุลพินิจของวิญญูชนทั่วไปมาทำคำตัดสิน

 

คดีนี้ทำให้คนทั่วไปเข้าใจขั้นตอนการทำงานของกระบวนวิธีพิจารณาคดีของแพทยสภาได้มากที่สุด  ทำให้ประชาชนทั่วประเทศเข้าใจว่า "ทำไมถึงต้องให้เวลากับกระบวนวิธีพิจารณาคดีของแพทยสภา(ที่เป็นระบบไต่สวน)อย่างเหมาะสม" เพราะข้อบังคับว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีจริยธรรม บังคับให้องค์คณะต้องเปิดโอกาสให้สองฝ่ายนำเสนอหลักฐานอย่างเต็มที่ และองค์คณะมีอำนาจสืบค้นข้อเท็จจริงด้วยตนเอง ทำให้ไม่จำเป็นต้องมีทนาย (ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีความรู้ความสามารถเรื่องทางการแพทย์มากเท่าองค์คณะ)เข้ามาวุ่นวายในกระบวนการนี้

บอร์ดแพทยสภายืนกราน ตัดสินด้วย "ข้อเท็จจริงทางการแพทย์" เท่านั้น

แพทยสภาใช้ระบบไต่สวน

พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม น่าจะเป็นกฎหมายฉบับแรก ๆ (หรืออาจจะแรกสุด) ที่ใช้"ระบบไต่สวน" ในการค้นหาความจริงและทำคำตัดสิน

องค์คณะผู้ไต่สวน คือ อนุจริยธรรม และ อนุสอบสวน ทำงานร่วมกับ องค์คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสุด ๆ ของราชวิทยาลัยทางการแพทย์หลายแห่ง

เปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายนำเสนอพยานหลักฐานเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกัน องค์คณะเองก็มีความรู้เรื่องราวในประเด็นทางการแพทย์อย่างดีมากและน่าจะสูงกว่าคู่ความทั้งสองฝ่าย จึงมีความสามารถในตัวเองที่จะทำความจริงให้ปรากฎโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพยานหลักฐานของคู่ความเพียงอย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องให้ทนายความหรือคนนอกมานำเสนอ

วิธีนี้จะช่วยอุดช่องว่างในด้านข้อมูลข่าวสารที่อาจเป็นการพ้นวิสัยที่คู่ความฝั่งใดฝั่งหนึ่งจะหามานำเสนอด้วยตนเอง หรือคู่ความฝั่งใดฝั่งหนึ่งเจตนาปกปิดไม่นำเสนอ

ปัจจุบัน มีกฎหมายหลายอย่างที่ใช้ "ระบบไต่สวน" แทน "ระบบกล่าวหา" เช่น กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร กฎหมายเกี่ยวกับคดีเด็กและเยาวชน กฎหมายแรงงาน  แต่ระบบไต่สวนของแพทยสภา น่าจะเป็นระบบไต่สวนที่แน่นหนาและมีกระบวนวิธีพิจารณาคดีที่รัดกุมมากที่สุด เพราะเรื่องทางการแพทย์เกี่ยวพันกับความปลอดภัยในชีวิตของคนทั้งประเทศ

คดีนี้ทำให้เห็นว่า กรรมการแพทยสภา ไม่ว่าจะมาจากการเลือกตั้งหรือแต่งตั้ง ล้วนตระหนักในหน้าที่ของตนเองดี ที่ผ่านมาอย่าว่าแต่คนนอกเลย แม้แต่แพทย์ด้วยกันก็ยังตั้งคำถามแรง ๆ ใส่กรรมการแพทยสภาและคณะทำงาน แต่ผู้เกี่ยวข้องยังคงก้มหน้าก้มตาทำงานตามหน้าที่เพื่อสืบหาข้อเท็จจริงไปตามขั้นตอนปกติ


ตัดสินใจบน "ข้อเท็จจริงทางการแพทย์"

 

มติของคณะกรรมการแพทยสภาที่เป็นผู้ออกคำสั่งหรือคำตัดสินคดีจริยธรรมหรือมาตรฐานวิชาชีพ มีที่มาจากเอกสารที่วางอยู่ตรงหน้า "เท่านั้น" ดังนั้น กรรมการแพทยสภาทุกคนจะไม่สามารถปักธงไว้ล่วงหน้า จนกว่าจะได้ศึกษาสำนวนและคำสรุปของอนุกรรมการทุกชุดจนถ่องแท้ ก่อนทำการVoteลงมติ

 

หรือแม้จะมีธง แต่เมื่อมีเอกสารหลักฐานเวชระเบียนผลภาพรังสีต่างๆ วางอยู่ตรงหน้า จึงเป็นการยากที่จะตัดสินใจตามธง เพราะประเด็นทางการแพทย์เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ ที่ทุกการตัดสินใจในการรักษา ต้องมีเหตุผลรองรับ เพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยให้กับประชาชนทั่วประเทศ

 

ทุกเสียงVote ล้วนตัดสินใจบน "ข้อเท็จจริงทางการแพทย์"จากเวชระเบียนและจากการไต่สวนที่อนุกรรมการจริยธรรม อนุกรรมการสอบสวน และอนุกลั่นกรอง "ทำการบ้านมาให้ล่วงหน้า" ก่อนชงให้คณะกรรมการแพทยสภาชุดใหญ่ทำคำตัดสิน  ย้ำว่าคณะกรรมการแพทยสภา เท่านั้นที่มีอำนาจตัดสิน อนุฯทุกชุดแค่เป็นคณะทำงาน เป็นที่ปรึกษาเท่านั้น

 

เดือน ๆ หนึ่งมีคดีที่แพทยสภาต้องทำคำตัดสินแบบนี้ไม่ต่ำว่า 30 คดี มากสุดเท่าที่จำได้คือเกือบ 60 คดี!!! ทำให้แพทยสภาต้องตั้ง "อนุกรรมการกลั่นกรอง" เข้ามาช่วยงาน

 

ด้วยเหตุที่ อนุจริยธรรม และอนุสอบสวนล้วนแต่ต้องเป็นแพทย์ ทางแพทยสภาจึงมีมติตั้งอนุกลั่นกรองตามที่บัญญัติไว้ในข้อบังคับแพทยสภามานับสิบปีแล้ว เพื่อเปิดโอกาสให้คนนอกที่มิใช่แพทย์ เข้ามาช่วยถ่วงดุลและนำเสนอความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในคดีแต่ละคดี คล้าย ๆ กับ คณะที่ปรึกษาเพื่อ check and balance ภายในองค์กรเอง

 

 "อนุกลั่นกรอง" คดีนี้ทำให้คนนอกได้ทราบว่า มิใช่มีแต่แพทย์เท่านั้นที่ทำคำตัดสินจริยธรรมทางการแพทย์ ยังมีคนนอกที่มิใช่แพทย์ (อนุกรรมการกลั่นกรอง) เข้ามาช่วยให้ความเห็นที่สำคัญในทางกฎหมาย

 

ยันแพทยสภาส่งเอกสารให้ครบ

 

ขณะที่  รศ.นพ.สมิทธิ์ ศรีสนธิ์  กรรมการแพทยสภา  โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวใจความว่า ขออธิบายสักเรื่องหนึ่งที่เป็นข่าวอยู่ช่วงนี้ แล้วทำให้คนเข้าใจผิดแพทยสภา

 

แพทยสภาส่งเอกสารให้สภานายกพิเศษไม่ครบ?

 

คำตอบ ไม่จริง แพทยสภาได้ส่งเอกสารเกี่ยวกับมติแพทยสภาที่รวมขั้นตอนตั้งแต่ผู้ร้องทำการร้อง หลักฐานต่างๆ ที่รวบรวมมาได้ ความเห็นอนุกรรมการจริยธรรม ความเห็นอนุกรรมการสอบสวน ความเห็นอนุกรรมการกลั่นกรอง และความเห็นคณะกรรมการแพทยสภาเอง มีจำนวน 95 หน้า รวมทั้งยังให้เอกสารหลักฐานต่างๆ เกี่ยวกับคดี เช่น เวชระเบียน คำให้การ อีก 1500 กว่าหน้า ดังนั้นให้ข้อมูลไปครบแล้ว

 

แต่ทีมที่แต่งตั้งโดยสภานายกพิเศษกลับขอรายชื่ออนุกรรมการกลั่นกรอง กับรายงานการประชุมของอนุกรรมการกลั่นกรอง เพิ่มเติม

 

แพทยสภาจึงไม่ให้ เพราะไม่เกี่ยวกับส่วนของมติกรรมการแพทยสภา และไม่เข้าใจเหตุผลว่าต้องการไปเพื่ออะไร เพราะก็มีความเห็นของอนุกรรมการกลั่นกรองระบุในมติ 95 หน้าที่ส่งให้ไปแล้ว

 

ทั้งนี้ อนุกรรมการกลั่นกรอง ไม่มีอยู่ใน พรบ. วิชาชีพเวชกรรม แต่มีข้อบังคับแพทยสภาให้มีขึ้นมา เพื่อช่วยแพทยสภาในการตรวจสอบคดี ก่อนที่แพทยสภาจะมีมติ แต่สุดท้ายแพทยสภาก็เป็นผู้ชี้ขาดอยู่ดี

 

แล้วเอาจริงๆ ถ้าคิดถึงเรื่องการมีมติลงโทษหรือไม่ลงโทษแพทย์ที่ถูกร้อง ควรเน้นที่ความเห็นของแพทยสภากับหลักฐานในคดีที่แพทยสภาใช้ประกอบความเห็นเท่านั้น เพราะแพทยสภาเป็นผู้ชี้ขาด ไม่ว่าอนุกรรมการไหนจะมีความเห็นอย่างไรก็ตาม

 

ดังนั้นถ้าท้วงติงหรือขอข้อมูลเพิ่มเติม ควรดูถึงหรือขอหลักฐานที่แพทยสภาใช้ในการตัดสิน มากกว่ามาบอกว่า แพทยสภาส่งเอกสารไม่ครบ

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2568 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข ในฐานะสภานายกพิเศษ แพทยสภา ได้ส่งความเห็นเกี่ยวกับมติแพทยสภา ลงโทษแพทย์ 3 คนที่เกี่ยวข้องกับการรักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 กลับไปให้แพทยสภาแล้ว โดยเป็นการให้ความเห็นแยกเป็นแพทย์รายบุคคลที่ถูกกล่าวโทษ มีทั้งส่วนที่เห็นด้วยและส่วนที่ให้แพทยสภาพิจารณา 

 

ทั้งนี้ แพทยสภา จะมีการประชุมครั้งแรกหลังจากที่สภานายกพิเศษให้ความเห็นกลับมาในวันที่ 12 มิ.ย.2568 โดยหากจะยืนยันตามมติแพทยสภาเดิมที่ลงโทษแพทย์ จะต้องใช้คะแนนเสียง 2 ใน 3 หรือ 47 คน จาก 70 คน 


ขอบคุณ : กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

เตือนแล้วนะ "หมอเจด" เปิด 5 สัญญาณผิวแบบนี้ ระวังมะเร็งเต้านม

เตือนแล้วนะ "หมอเจด" เปิด 5 สัญญาณผิวแบบนี้ ระวังมะเร็งเต้านม

กัมพูชาแห่กลับประเทศ จากสถานการณ์ชายแดน คาด 28 ก.ค. นี้ อีกนับหมื่น

กัมพูชาแห่กลับประเทศ จากสถานการณ์ชายแดน คาด 28 ก.ค. นี้ อีกนับหมื่น

อัปเดตผลกระทบ จากสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา 4 จังหวัดอีสาน ประจำวันที่ 26 ก.ค. 68

อัปเดตผลกระทบ จากสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา 4 จังหวัดอีสาน ประจำวันที่ 26 ก.ค. 68

กองทัพบก ยังไม่ยืนยัน ยิงขีปนาวุธจากกัมพูชา เช็กแหล่งข่าวทางการก่อนแชร์

กองทัพบก ยังไม่ยืนยัน ยิงขีปนาวุธจากกัมพูชา เช็กแหล่งข่าวทางการก่อนแชร์

กองทัพบกแถลงสถานการณ์ชายแดน กัมพูชายังไม่หยุดโจมตี สั่งตอบโต้เด็ดขาด

กองทัพบกแถลงสถานการณ์ชายแดน กัมพูชายังไม่หยุดโจมตี สั่งตอบโต้เด็ดขาด