เลี้ยงหมาแมวในกรุงเทพฯ ต้องรู้ กฎใหม่มาแล้ว ไม่ทำตามมีปัญหาแน่

คนเลี้ยงสัตว์ ใน กรุงเทพ เตรียมตัวให้พร้อม กรุงเทพมหานครได้ประกาศ เรื่องการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สำหรับ “คนเลี้ยงสัตว์ ใน กรุงเทพ” ตรียมตัวให้พร้อม เพราะตอนนี้ กรุงเทพมหานครได้ประกาศ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ พ.ศ. 2567 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และกำลังจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 มกราคม 2569
สัตว์เลี้ยงที่อยู่ในข้อกำหนด
- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว เม่นแคระ ฯลฯ
- สัตว์ปีก เช่น นก ฯลฯ
- สัตว์น้ำ เช่น กุ้ง ปลา ฯลฯ
- สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เช่น ซาลาแมนเดอร์ กบ ฯลฯ
- สัตว์เลื้อยคลาน เช่น กิ้งก่า ฯลฯ
- สัตว์มีพิษหรือสัตว์ดุร้าย เช่น งู ฯลฯ
การเลี้ยงสัตว์ตามพื้นที่
- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ เช่น วัว ควาย ม้า กวาง หรือสัตว์ที่มีขนาดเดียวกัน เลี้ยงได้ 1 ตัว ขนาดพื้นที่ 50 ตร.วา
- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น แพะ แกะ หมู ม้าแคระ หรือสัตว์ที่มีขนาดเดียวกัน เลี้ยงได้ 3 ตัว ขนาดพื้นที่ 50 ตร.วา
- ไก่ เป็ด ห่าน 1 ตัว ขนาดพื้นที่ 4 ตร.ม.
- นกขนาดใหญ่ 1 ตัว เช่น นกกระจอกเทศ หรือนกที่มีขนาดเดียวกัน ขนาดพื้นที่ 50 ตร.ม.
- นกขนาดเล็ก 5 ตัว ขนาดพื้นที่ 1 ตร.ม.
ห้ามเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่สาธารณะ ยกเว้นเพื่อรักษาพยาบาล การย้ายที่อยู่ของเจ้าของ การปล่อยสัตว์เพื่อการกุศล/จารีตประเพณี
ข้อกำหนดจำนวนสุนัขและแมวตามพื้นที่
คอนโดหรือห้องเช่า
- ห้องเช่าหรือคอนโด ขนาดไม่เกิน 20-80 ตร.ม. : เลี้ยงได้ 1 ตัว
- ห้องเช่าหรือคอนโด ขนาด 80 ตร.ม. ขึ้นไป : เลี้ยงได้สูงสุด 2 ตัว
เนื้อที่ที่ดิน
- เนื้อที่ที่ดินขนาดไม่เกิน 20 ตร.วา : เลี้ยงได้ 2 ตัว
- เนื้อที่ที่ดินขนาดไม่เกิน 50 ตร.วา : เลี้ยงได้ 3 ตัว
- เนื้อที่ที่ดินขนาดไม่เกิน 100 ตร.วา : เลี้ยงได้ 4 ตัว
- เนื้อที่ที่ดินขนาด 100 ตร.วา ขึ้นไป : เลี้ยงได้ไม่เกิน 6 ตัว
- สัตว์เศรษฐกิจ เช่น วัว ม้า เป็ด ไก่ : ต้องมีพื้นที่ตามที่กำหนด
ข้อกำหนดการเลี้ยงสุนัขและแมว
เจ้าของสุนัขและแมวจะต้องนำสัตว์ไปฝังไมโครชิปที่คลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์เอกชนที่รับฝังไมโครชิป จดทะเบียนและออกบัตรประจำตัวภายใน 120 วัน นับตั้งแต่วันที่สัตว์เกิด หรือภายใน 30 วัน นับตั้งแต่นำสัตว์เข้ามาเลี้ยงในเขตกรุงเทพฯ ซึ่งสามารถทำได้ 2 วิธี คือ จดทะเบียนด้วยตัวเอง หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปช่วยจดทะเบียนแทน โดยใช้เอกสารดังนี้
เอกสารจดทะเบียนสัตว์เลี้ยง
- บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าของสัตว์
- ทะเบียนบ้านที่สัตว์อาศัย
- ใบรับรอง (คสส.1)
- หนังสือรับรองการฉีดวัคซีน (ถ้ามี)
- หนังสือรับรองการผ่าตัดทำหมันจากสัตวแพทย์ (ถ้ามี)
- หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
- หนังสือยินยอมจากผู้เช่า กรณีเป็นผู้เช่า
สถานที่จดทะเบียนสัตว์เลี้ยง
เจ้าของสัตว์นำเอกสารไปยื่นคำร้องกับเจ้าหน้าที่ ณ หน่วยงานที่รับจดทะเบียน สํานักงานสัตวแพทย์สาธารณสุข สํานักอนามัย สํานักงานเขต หรือสถานที่ที่กรุงเทพมหานครกําหนด ได้แก่ คลินิกสัตวแพทย์ กทม. 8 แห่ง ดังนี้
- กลุ่มควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า ถ.มิตรไมตรี เขตดินแดง โทร. 0 2248 7417
- คลินิกสัตวแพทย์ กทม.1 สี่พระยา เขตบางรัก โทร. 0 2236 4055 ต่อ 213
- คลินิกสัตวแพทย์ กทม.2 มีนบุรี เขตมีนบุรี โทร. 0 2914 5822
- คลินิกสัตวแพทย์ กทม.3 วัดธาตุทอง เขตวัฒนา โทร. 0 2392 9278
- คลินิกสัตวแพทย์ กทม.4 บางเขน เขตจตุจักร โทร. 0 2579 1342
- คลินิกสัตวแพทย์ กทม.5 วัดหงส์รัตนาราม เขตบางกอกใหญ่ โทร. 0 2472 5895 ต่อ 109
- คลินิกสัตวแพทย์ กทม.6 ช่วงนุชเนตร เขตจอมทอง โทร. 0 2476 6493 ต่อ 1104
- คลินิกสัตวแพทย์ กทม.7 บางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย โทร. 0 2411 2432
เมื่อพาสัตว์เลี้ยงออกนอกบ้าน
– ต้องใช้สายจูง / กรง
– ห้ามปล่อยให้รบกวนผู้อื่น
– ต้องเก็บอึสัตว์ทุกครั้งในที่สาธารณะ
สอบถามเพิ่มเติม หรืออยากจดทะเบียน ติดต่อคลินิกสัตวแพทย์ กทม. ทั้ง 7 แห่ง หรือสำนักงานเขตใกล้บ้าน
ทำให้ถูกกฎ ไม่ใช่แค่ป้องกันโทษ แต่ยังทำให้เราเป็น “เจ้าของสัตว์เลี้ยงที่มีคุณภาพ” และช่วยสร้างสังคมที่น่าอยู่สำหรับทุกคน
ขอบคุณ : กรุงเทพมหานคร

ระทึก แผ่นดินไหว 7.4 เขย่าอาร์เจนตินา เตือนสึนามิเร่งอพยพ

รักเริ่มจากวงไพ่ ภรรยาผกก. เล่าจุดเริ่มต้นความรัก แปลกไม่มีใครเหมือน

มหกรรมธงฟ้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค จ.ราชบุรี ภายใต้โครงการ เปิดเทอม เติมพลัง

รวบแล้ว มือปาหินจากสะพานลอยใส่รถสาว กลางถนนบางนา-ตราด
