ข่าว

heading-ข่าว

"โรคแอนแทรกซ์" มีอาการอย่างไรบ้าง หลังพบผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย

01 พ.ค. 2568 | 11:39 น.
"โรคแอนแทรกซ์" มีอาการอย่างไรบ้าง หลังพบผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย

เตือนภัยสุขภาพ! เชื้อแอนแทรกซ์คร่าชีวิตผู้ป่วยในมุกดาหาร สาธารณสุขยกระดับมาตรการป้องกันโรค พร้อมแนะประชาชน

แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่! ขณะนี้พบผู้เสียชีวิตจากโรคแอนแทรกซ์ที่จังหวัดมุกดาหาร 1 ราย ทางหน่วยงานสาธารณสุขได้เข้าควบคุมพื้นที่และเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด

โรคแอนแทรกซ์ มีอาการอย่างไรบ้าง หลังพบผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

heading-ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ขอให้ทุกคนระวังเป็นพิเศษ หากท่านเคยสัมผัสวัว ควาย แพะ หรือแกะ โดยเฉพาะหากมีการแล่เนื้อสัตว์ กินเนื้อที่ไม่สุก หรืออยู่ใกล้สัตว์ป่วย หากมีอาการ เช่น

  • ไข้
  • ผื่นหรือแผลขึ้นตามตัว
  • ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
  • หายใจเหนื่อย แน่นหน้าอก

ให้รีบไปพบเจ้าหน้าที่หรือโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที

และหากพบสัตว์ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ
อย่านำไปกิน
ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาตรวจสอบ

โรคแอนแทรกซ์ (ANTHRAX)

1. ลักษณะโรค : เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียแบบเฉียบพลันเกิดจากเชื้อ Bacillus anthracis พบได้ 3 ชนิด คือ เป็นแผลที่ปอด เป็นแผลที่ผิวหนัง หรือ เป็นแผลที่ทางเดินอาหาร ขึ้นกับช่องทางการติดเชื้อ โรคแอนแทรกซ์มีความเกี่ยวข้องกับโปรแกรมการใช้เป็นอาวุธชีวภาพ ผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์ทั่วโลกมากกว่าร้อยละ 95 เป็นชนิดแผลที่ผิวหนัง (Cutaneous anthrax)

2. ระบาดวิทยา : สถานการณ์ทั่วโลก : ในปี พ.ศ. 2551 มีรายงานโรคแอนแทรกซ์ทั้งในคนและในสัตว์ในประเทศจีนอินเดีย มองโกเลีย อัฟกานิสถาน คาซัคสถาน และคีร์กิซสถาน ในประเทศเวียดนามพบผู้ป่วยสงสัยทางภาคเหนือของประเทศ และในประเทศลาวพบการระบาดของโรคในโคและแพะที่แขวงจำปาสักสถานการณ์โรคในประเทศไทย : จากรายงานการเฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา พบว่า ไม่มีผู้ป่วยโรคแอนแทรกซ์ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ไม่พบการติดเชื้อในสัตว์ในประเทศไทย แต่อย่างไรก็ตาม ควรเฝ้าระวังโรคในสัตว์ที่ค้าขายผ่านทางชายแดนเนื่องจากยังมีการระบาดของโรคแอนแทรกซ์ในเกษตรผู้เลี้ยงสัตว์ในประเทศลาวระหว่างปี พ.ศ. 2544 - 2553

3. อาการของโรค :

  • โรคแอนแทรกซ์ผิวหนัง (Cutaneous anthrax)จะเริ่มด้วยอาการคันบริเวณที่สัมผัสเชื้อ ตามมาด้วยตุ่มแดง (popule) แล้วกลายเป็นตุ่มพองมีนํ้าใส(vesicle) ภายใน 2 - 6 วัน จะเริ่มยุบตรงกลางเป็นเนื้อตายสีดำคล้ายแผลบุหรี่จี้ (eschar) รอบๆ อาการบวมนํ้าปานกลางถึงรุนแรงและขยายออกไปรอบเนื้อตายสีดำคล้ายแผลบุหรี่จี้ (eschar) อย่างสมํ่าเสมอบางครั้งเป็นตุ่มพองมีนํ้าใส (vesicle) ขนาดเล็กแผลบวมนํ้า มักไม่ปวดแผล ถ้าปวดมักเนื่องจากการบวมนํ้าที่แผลหรือติดเชื้อแทรกซ้อน แผลมักพบบริเวณศีรษะ คอ (ดังรูปที่ 44) ต้นแขน และมือ(ดังรูปที่ 45) (พื้นที่สัมผัสโรคบนร่างกาย)
  • โรคแอนแทรกซ์ทางเดินหายใจ (Inhalational anthrax) เริ่มด้วยอาการคล้ายการติดเชื้อของระบบหายใจส่วนบนที่ไม่รุนแรง เช่น ไข้ ปวดเมื่อยไอเล็กน้อย หรือเจ็บหน้าอก ซึ่งไม่มีลักษณะจำเพาะต่อมาจะเกิดการหายใจขัดอย่างเฉียบพลัน รวมถึงการหายใจมีเสียงดัง (stridor), อาการหายใจลำบากอย่างรุนแรง เกิดภาวะออกซิเจนลดตํ่าลง(hypoxemia), เหงื่อออกมาก (diaphoresis)ช็อก และตัวเขียว ภาพรังสีพบส่วนกลางช่องอก(mediastinum) ขยายกว้าง (ดังรูปที่ 46) ตามด้วยภายใน 3 - 4 วัน ทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ตรวจพบนํ้าท่วมเยื่อหุ้มปอด และบางครั้งพบ infi ltrate จากฟิล์มภาพรังสี
  • โรคแอนแทรกซ์ทางเดินอาหาร (Gastrointestinal anthrax) อาจเกิดในจุดใดจุดหนึ่งของลำไส้ และเกิดการอักเสบและบวมนํ้ามาก นำไปสู่การมีเลือดออก อุดตัน เป็นรู และมีนํ้าในช่องท้องมาก โรคแอนแทรกซ์ทางเดินอาหารไม่พบการเสียชีวิตที่แน่นอน แต่ด้วยการรักษา การเสียชีวิตสามารถเพิ่มสูงได้ ด้วยเกิดอาการเลือดเป็นพิษ ช็อก อาการโคม่าและเสียชีวิต

4. ระยะฟักตัวของโรค : 1 - 5 วัน แต่อาจนานได้ถึง 60 วัน

5. การวินิจฉัยโรค : ทำได้โดยการตรวจหาเชื้อในเลือด แผลหรือสิ่งขับถ่ายของผู้ป่วย (discharge) โดยการป้ายและย้อมสีด้วยวิธี direct polychrome methylene blue (M’Fadyean) stained smear หรือโดยการเพาะเชื้อบนอาหาร sheep blood agar บางครั้งอาจต้องฉีดหนูmice หรือหนู guinea pigs หรือกระต่าย การตรวจหาเชื้อที่รวดเร็วทำโดยการวินิจฉัยทางอิมมิวโนวิทยา ทั้งวิธีPCR, Direct Fluorescence Antibody test (DFA), Immunohistochemistry (IHC), Time-Resolve Fluorescence assay (TRF) และ ELISA อาจทำได้ในห้องปฏิบัติการอ้างอิงบางแห่ง

6. การรักษา : ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ให้ผลในการรักษาดีที่สุดสำหรับแอนแทรกซ์ผิวหนัง โดยให้นาน 5-7 วันส่วนเตตราซัยคลิน (Tetracycline), อีริโทรมัยซิน(Erythromycin) และคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ก็ให้ผลดีเช่นกัน ในเหตุการณ์แอนแทรกซ์ปี พ.ศ. 2544 กองทัพสหรัฐอเมริกา ได้ริเริ่มใช้ยาซิโปรฟล็อกซาซิน (Ciprofl oxacin) หรือด๊อกซีซัยคลิน (Doxycycline) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยแอนแทรกซ์ทางเดินหายใจแต่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยถึงประสิทธิภาพการรักษาที่ชัดเจน

7. การแพร่ติดต่อโรค : คนติดโรคจากการสัมผัสสัตว์ป่วยหรือสัมผัสกับผลิตภัณฑ์สัตว์ที่มาจากสัตว์ป่วย หรืออาจติดโรคโดยการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อเข้าไป โดยสปอร์ติดอยู่ตามฝุ่นละออง ขนสัตว์ หนังสัตว์

ข่าวล่าสุด

heading-ข่าวล่าสุด

ข่าวเด่น

อยู่ดี ๆ ก็จะเป็นลม? ระวัง นี่อาจไม่ใช่แค่อากาศร้อนธรรมดา

อยู่ดี ๆ ก็จะเป็นลม? ระวัง นี่อาจไม่ใช่แค่อากาศร้อนธรรมดา

เปิด "5โรคร้าย" ที่คน นั่งห้องน้ำนาน ๆ ต้องระวัง หมอเจด เตือนเอง

เปิด "5โรคร้าย" ที่คน นั่งห้องน้ำนาน ๆ ต้องระวัง หมอเจด เตือนเอง

หมอช้าง เตือน 5 พฤษภาคมนี้ ดวงบางราศีถึงจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่

หมอช้าง เตือน 5 พฤษภาคมนี้ ดวงบางราศีถึงจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่

รู้แล้ว สาเหตุแท้จริง "แม่น้องการ์ตูน" ต้องปล่อยน้องไปอย่างสงบ

รู้แล้ว สาเหตุแท้จริง "แม่น้องการ์ตูน" ต้องปล่อยน้องไปอย่างสงบ

"ไฟดับพรุ่งนี้ 2 พ.ค." 9 จุด กทม. นนทบุรี เช็กพื้นที่พิกัดเวลา

"ไฟดับพรุ่งนี้ 2 พ.ค." 9 จุด กทม. นนทบุรี เช็กพื้นที่พิกัดเวลา