เปลี่ยนขยะสิ่งทอไร้ค่า แปลงโฉมสู่ธุรกิจผ้ารีไซเคิลสัญชาติไทย

27 มีนาคม 2567

“ชุมชนยั่งยืน” วันนี้นะคะจะพาคุณผู้ชมมาติดเรื่องราวของ “ขยะ” ที่เกิดจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งจะบอกว่าทุกกระบวนการจะมีการปล่อยของเสียหรือมีขยะจำนวนมาก แต่รู้ไหมค่ะว่าขยะเหล่านี้สามารถนำมารีไซเคิล สร้างมูลค่าเพิ่มได้

      ทีมข่าวได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณวัธ- จิรโรจน์  พจนาวราพันธุ์   ผู้บริหารบริษัท แสงเจริญแกรนด์ จำกัด  หรือ  SC GRAND บริษัทให้บริการเกี่ยวกับสิ่งทอยั่งยืนในหลากหลายรูปแบบ เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจที่ให้ความสนใจในเรื่องความยั่งยืนที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สิ่งทอยั่งยืนประเภท ผ้า, โปรเจกต์รีไซเคิลเสื้อผ้าเก่าเป็นเสื้อผ้าใหม่ (Closed Loop), และ บริการผลิตสินค้าตามต้องการ (OEM) ทั้งที่เป็นผ้า และ สินค้าสำเร็จรูป

วัธ จิรโรจน์  พจนาวราพันธุ์   ผู้บริหารบริษัท แสงเจริญแกรนด์ จำกัด  หรือ  SC GRAND

     คุณวัธ  เล่าว่า อุตสาหกรรมสิ่งทอหรืออุตสาหกรรมแฟชั่นมีกระบวนการตั้งแต่ปั่นด้าย ทอผ้า  ปลูกฝ้าย ตัดเย็บ และการฟอกย้อม ซึ่งทุกกระบวนการจะมีการปล่อยของเสียหรือมีขยะจากกระบวนการออกมา ทั้งเศษผ้า  รวมทั้งเสื้อผ้าเก่า SC GRAND  มีการนำของเสีย ของเหลือใช้จากอุตสาหกรรมแฟชั่นสิ่งทอที่เป็นเศษด้าย เศษผ้า มารีไซเคิลถักทอเป็นผ้าใหม่ โดยสีจากเสื้อผ้าเก่า จะกลายเป็นผ้าใหม่ที่มีสีสันตามเดิม ทำให้ลดการใช้น้ำในกระบวนการปลูกฝ้าย ลดการใช้น้ำในกระบวนการฟอกย้อมได้เป็นอย่างดี 

เปลี่ยนขยะสิ่งทอไร้ค่า  แปลงโฉมสู่ธุรกิจผ้ารีไซเคิลสัญชาติไทย

เปลี่ยนขยะสิ่งทอไร้ค่า  แปลงโฉมสู่ธุรกิจผ้ารีไซเคิลสัญชาติไทย

เปลี่ยนขยะสิ่งทอไร้ค่า  แปลงโฉมสู่ธุรกิจผ้ารีไซเคิลสัญชาติไทย

ของเสียจากอุตสาหกรรมแฟชั่น-สิ่งทอ 

     ก่อนหน้านี้ SC GRAND   เน้นทำผ้าเกี่ยวกับตลาดแฟชั่นหรือการนำเสื้อผ้าเก่าจากองค์กรต่างๆมารีไซเคิลเป็นเสื้อผ้าใหม่ เนื่องจากทุกองค์กรจะมีเสื้อยูนิฟอร์มอยู่แล้ว หลายองค์กรต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกปี โดย SC GRAND  เข้าไปให้บริการทางด้านการนำเสื้อผ้าเก่าเหล่านั้นมารีไซเคิลเป็นเสื้อผ้าใหม่ รวมทั้งแบรนด์แฟชั่นต่างๆ มักจะมีเศษผ้าที่เหลือจากกระบวนการตัดเย็บ SC GRAND จึงได้เข้าไปมีส่วนร่วมนำของเหลือทิ้งจากกระบวนการดังกล่าวมาทำเป็นเสื้อผ้าใหม่ 

เปลี่ยนขยะสิ่งทอไร้ค่า  แปลงโฉมสู่ธุรกิจผ้ารีไซเคิลสัญชาติไทย

     ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้นั้นคู่ค้าสามารถสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับการลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มเติมได้ เนื่องจาก SC GRAND สามารถวิเคราห์ตัวเลขต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณน้ำ, ปริมาณพลังงาน, และ ปริมาณก๊าซ CO2 ที่ลดลงจากการเลือกใช้ผ้าของ SC GRAND  โดย SC GRAND มีการวิจัย Life Cycle Analysis ของผ้าแต่ละชนิด กับสถาบันในต่างประเทศ สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปได้

เปลี่ยนขยะสิ่งทอไร้ค่า  แปลงโฉมสู่ธุรกิจผ้ารีไซเคิลสัญชาติไทย

ต่อยอดเจาะกลุ่มโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์
      เริ่มต้น SC GRAND  เจาะตลาดองค์กรเจาะตลาดแฟชั่น ต่อมาเริ่มเห็นองค์กรติดต่อมาที่ SC GRAND  โดยเป็นโรงแรม โรงพยาบาล และอสังหาต่างๆ  อย่างโรงแรมจะมีการรีโนเวททุกๆ 5-10 ปี โดยจะมีของเหลือทิ้งซึ่งเป็นของที่ยังมีคุณภาพดี หลายๆอย่างเป็น home furniture , home textiles ที่เก่าแล้ว รวมทั้งยูนิฟอร์มเก่าๆ องค์กรดังกล่าวจึงส่งของเหล่านั้นมาให้ SC GRAND รีไซเคิลให้ใหม่เพื่อนำไปรีโนเวทในโรงแรม  

เปลี่ยนขยะสิ่งทอไร้ค่า  แปลงโฉมสู่ธุรกิจผ้ารีไซเคิลสัญชาติไทย

     จึงเป็นเหตุผลให้ SC GRAND  เห็นโอกาสและเข้ามาทำผ้ารีไซเคิลสำหรับ home textiles  ทั้ง ปอกหมอน ผ้าม่าน และ ผ้าหุ้ม furniture ต่างๆ เพื่อให้ลูกค้าเห็นว่าทุกอย่างสามารถนำมาใช้ตกแต่งได้  โดยมาจากผ้ารีไซเคิลแบบไม่ฟอกย้อม ผลิตจากผ้ารีไซเคิลที่เป็นวัตถุดิบจากเสื้อผ้าเก่า

เปลี่ยนขยะสิ่งทอไร้ค่า  แปลงโฉมสู่ธุรกิจผ้ารีไซเคิลสัญชาติไทย

"วัธ จิรโรจน์" ผู้เปลี่ยนขยะสิ่งทอไร้ค่า  สู่ธุรกิจผลิตผ้ารีไซเคิลสัญชาติไทยในนาม SC GRAND

SC GRAND ย้ำเสมอว่าเราทำช่วงแรกเพื่อต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้อุตสาหกรรมอื่นๆ เห็นว่าทุกคนมีส่วนร่วมได้ในเรื่องของการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และ SC GRAND  เชื่อว่าเราสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาที่เราเผชิญร่วมกันได้