เงินสมทบประกันสังคม ม.33 ม.39 ลด "เงินสมทบ" เดือน ต.ค.-ธ.ค.65 บังคับใช้แล้ว

27 ตุลาคม 2565

มีผลบังคับใช้แล้ว เงินสมทบประกันสังคม ม.33 ม.39 ลด "เงินสมทบ" เดือน ต.ค.-ธ.ค.65 เพื่อเพิ่มสภาพคล่องนายจ้างผู้ประกอบการ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายลูกจ้างผู้ประกันตน ม.33 ม.39 

เงินสมทบประกันสังคม ม.33 ม.39 ลด "เงินสมทบ" เดือน ต.ค.-ธ.ค.65 มีผลบังคับใช้แล้ว เพื่อเพิ่มสภาพคล่องนายจ้างผู้ประกอบการ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายลูกจ้างผู้ประกันตน ม.33 ม.39 

"เงินสมทบ" ประกันสังคมงวดเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 ล่าสุด เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า มีผลบังคับใช้แล้ว ตามที่มีมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายชองลูกจ้างผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และเพิ่มสภาพคล่องให้กับนายจ้างผู้ประกอบการจากสถานการณ์การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้นเนื่องจากผลกระทบจากสถานการณืวิกฤติโลก ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ

การปรับลดอัตรา "เงินสมทบ" ของ "ประกันสังคม" จะเริ่มตั้งแต่งวดเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565 โดยให้จัดเก็บเงินสมทบฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ดังนี้

เงินสมทบประกันสังคม ม.33 ม.39 ลด "เงินสมทบ" เดือน ต.ค.-ธ.ค.65 บังคับใช้แล้ว

  • ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 

เหลือร้อยละ 3 ของค่าจ้าง (จากเดิมร้อยละ 5) ทำให้อัตราเงินสมทบที่นายจ้างและลูกจ้างจ่ายอยู่ในระหว่าง 49.50-450 บาทต่อเดือน (จากเดิม 83-750 บาทต่อเดือน)

 

  • ผู้ประกันตนตามมาตรา 39

ปรับลดอัตราเงินสมทบเหลือร้อยละ 3 ของค่าจ้าง (จากเดิมร้อยละ 5 เช่นกัน) ทำให้จากเดิมที่ชำระเงินสมทบเดือนละ 432 บาท เหลือเดือนละ 240 บาท และแม้จะมีการปรับลดอัตราเงินสมทบแต่ผู้ประกันตนยังคงได้รับสิทธิประโยชน์เหมือนเดิม

เงินสมทบประกันสังคม ม.33 ม.39 ลด "เงินสมทบ" เดือน ต.ค.-ธ.ค.65 บังคับใช้แล้ว

สุดท้ายนี้ยังมีมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง-ลูกจ้างในช่วงวิกฤตจากสถานการณ์โควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563  โดยได้มีการปรับลดอัตราเงินสมทบรวมกันทั้งหมด 21 เดือนเพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของนายจ้างและลูกจ้าง และในขณะนี้รัฐบาลกำลังดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติเหมือนก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยเร็ว” น.ส.ทิพานัน กล่าว