รพ.บุรีรัมย์ รับผิดผ่าตัดล่าช้า จนน้องต้นน้ำเสียชีวิต ยันไม่มีคนไข้วีไอพี

07 มิถุนายน 2565

รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ยอมรับผิดผ่าตัดล่าช้า ทำน้องไส้ติ่งแตกเสียชีวิต ยันไม่มีคนไข้วีไอพี

จากกรณีที่ น้องต้นน้ำ เด็กชายวัย 12 ปี ได้เสียชีวิตหลังผ่าตัดไส้ติ่ง ทำให้พ่อแม่ออกมาร้องเรียนผ่านสื่อ ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยระบุ หมอปล่อยเวลาล่วงเลยนาน 2 วันหลังเข้าทำการรักษา แต่หมอไม่ยอมผ่าตัด ทั้งที่โรงพยาบาลต้นทางระบุชัดว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวกลายกระแสวิพากษ์วิจารณ์ พร้อมตั้งข้อสงสัยถึงแนวทางการรักษาของหมอ โดยเฉพาะคำบอกเล่าของผู้เป็นพ่อ ที่บอกว่าพนักงานเปลระบุมีเคสพิเศษ 2 ราย แซงคิวผ่าตัดไปก่อน  

รพ.บุรีรัมย์ รับผิดผ่าตัดล่าช้า จนน้องต้นน้ำเสียชีวิต ยันไม่มีคนไข้วีไอพี

ล่าสุดเมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 65 สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์ รายงานว่า นายแพทย์รักเกียรติ ประสงค์ดี รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ได้แถลงข่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า น้องต้นน้ำ ผู้ป่วยถูกส่งต่อมาจากโรงพยาบาลพุทไธสง ด้วยอาการปวดท้องจากไส้ติ่งอักเสบ เมื่อวันที่ 29 พ.ค.65 เวลา 13.00 น. ต่อมาได้รับแจ้งว่าได้คิวผ่าตัดในเวลา 24.00 น. เมื่อเข็นเข้าห้องผ่าตัดได้ประมาณ 5 นาที น้องต้นน้ำถูกเข็นกลับและได้รับแจ้งว่า "หมอมีพิเศษ 2 เคส" ต่อมาวันที่ 30 พ.ค. เวลาประมาณ 15.00 น. ผ่านไปประมาณ 1 ชั่วโมง น้องต้นน้ำ ถูกเข็นเข้าห้องผ่าตัดด้วยอาการหนัก หลังจากออกจากห้องผ่าตัดก็ส่งเข้าห้องไอซียู ทันที  เวลาประมาณ 01.00 น. ของวัน 31 พ.ค. น้องต้นน้ำเสียชีวิต ท่ามกลางความสงสัยของญาติ

-เพื่อนแจงชัด สาเหตุ "น้องอลิส" เน็ตไอดอลสาวชื่อดังเสียชีวิต
-"ไก่ ภาษิต" ทนไม่ไหวร้อง "ชัชชาติ" แก้ปัญหารถติด ลั่น ไม่ได้เป็นสลิ่มแน่นอน
-เจ้าของเพจหมามะเร็งเครียดหนัก ถึงขั้นเข้ารพ. พบ 4 ปี เงินผ่านบช. 33 ล้าน

นายแพทย์รักเกียรติ ประสงค์ดี รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์โรงพยาบาลบุรีรัมย์ เปิดเผยว่า โรงพยาบาลพุทไธสง ได้ส่งตัวผู้ป่วยมารักษาต่อที่โรงพยาบาลบุรีรัมย์ โดยแพทย์ระบุว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบ ทางด้านแพทย์โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ได้ทำการประเมินตรวจซ้ำวินิจฉัยว่าไส้ติ่งอักเสบเช่นเดียวกัน โดยกำหนดการผ่าตัดในวันที่ 29 พ.ค.65 เวลา 17.00 น. แต่ผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง หัวในเต้นแรงขึ้น ประกอบกับผู้ป่วยมีความสูง 163 เซนติเมตร น้ำหนัก 83 กิโลกรัม อยู่ในสภาวะน้ำหนักมาก


ผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัด 23.30 น. แต่ในขณะนั้นห้องผ่าตัด ซึ่งมี 3 ห้อง มีคนไข้รอผ่าตัดอยู่ ทั้ง 3 ห้อง ห้องแรกผ่าตัดไส้เลื่อน และมีลำไส้เน่า แพทย์ต้องการตัดต่อลำไส้ ต้องผ่าตัดคนไข้ที่มารอก่อนหน้านี้ เป็นผู้ป่วยช่องท้องอักเสบอย่างรุนแรง ผู้ป่วยรายที่ 2 ผ่าตัดเสร็จประมาณ ตี 2 ของวันที่ 30 พ.ค. ส่วนห้องผ่าตัดอีกห้อง เป็นคนไข้อุบัติเหตุกระดูกโผล่ มีแผลเปิดอีกรายหนึ่งช่วงใกล้จะถึงเที่ยงคืน ซึ่งเป็นห้องผ่าตัดอีกห้อง ต้องผ่าตัดเด็กในครรภ์ มีสภาวะหัวใจเต้นเร็ว 


ในขณะเดียวกันพนักงานเปล ได้เข็นน้องต้นน้ำเข้าไปห้องผ่าตัด เกิดจากการประสานงานของหมออาจไม่ตรงกัน ซึ่งจากการประเมินของแพทย์ที่ทำการผ่าตัดไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้ว่า การผ่าตัดเคสก่อนหน้านี้จะเสร็จสิ้นตอนไหน หรือจะใช้เวลานานแค่ไหน จึงไม่สามารถกำหนดเวลาได้ การให้น้องต้นน้ำรออยู่ในห้องผ่าตัดอาจจะไม่ปลอดภัย  จึงแจ้งไปยังหอผู้ป่วยขอส่งตัวกลับไปก่อน โดยที่ไม่มีผู้ป่วยพิเศษ หรือเคสพิเศษลัดคิว แต่อย่างใด

ต่อมาแพทย์พบว่า น้องต้นน้ำ หายใจเร็วขึ้น และตรวจพบว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ผลจากการผ่าตัดพบว่าพบไส้ติ่งแตก มีหนองอยู่โดยรอบประมาณ 100 ซีซี การผ่าตัดเสร็จเวลาประมาณ 14.00 น. ใช้เวลาในการผ่าตัด 45 นาที เนื่องจากสภาพก่อนผ่าตัดมีภาวะแย่ลง และมีการติดเชื้อในกระแสเลือด จึงส่งเข้ารักษาที่ห้อง ไอซียู และหัวใจน้องหยุดเต้นเมื่อเวลา 02.25 น. ของวันที่ 31 พ.ค. 


โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของน้องต้นน้ำ ทางคณะทีมรักษารวมถึงคณะการเยียวยา และการให้ข้อมูล การเยี่ยมบ้านคนไข้ ว่าล่าช้าไปมากไม่มีคำแก้ตัวใดๆ และกราบขออภัยญาติด้วยผู้เสียชีวิตด้วย ยอมรับว่าการให้บริการมีส่วนต้องปรับปรุงอยู่หลายส่วนด้วยกัน ส่วนกรณีเคสนี้ก็เป็นหน้าที่ของโรงพยาลบาลบุรีรัมย์ที่ต้องทำการรักษาอยู่แล้ว จากนี้ต้องกระตุ้น กำชับทุกส่วนงานไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นอีก ไม่เพียงเฉพาะกรณีนี้เท่านั้น ส่วนในการเยียวยาอยู่ระหว่างการประสานให้การช่วยเหลือ

 

ขอบคุณ FB : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์