เช็กขั้นตอนประกันสังคม หากติดโควิด ผู้ประกันตนใช้สิทธิรักษาอย่างไร

30 มีนาคม 2565

ประกันสังคม เปิดแนวทางการตรวจรักษาโควิด-19 หากผู้ประกันตนสงสัยเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยติดเชื้อ สามารถใช้สิทธิรักษาอย่างไร

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย โดยเฉพาะโควิดสายพันธุ์โอไมครอน หรือ โอมิครอน (Omicron) ทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนสร้างความกังวลให้กับให้ประชาชนจำนวนมาก

 

เช็กขั้นตอนประกันสังคม หากติดโควิด ผู้ประกันตนใช้สิทธิรักษาอย่างไร

 

ล่าสุดทางด้าน นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงขั้นตอนแนวทางการตรวจรักษาโควิด-19 ในกรณีผู้ประกันตนสงสัย/เข้าข่ายเป็นผู้ป่วยติดเชื้อ/สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 หรือเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 สามารถทำการตรวจคัดกรองด้วยตนเอง หรือที่สถานพยาบาลตามสิทธิ สำหรับการตรวจวินิจฉัย antigen test kit (ATK) หากผลตรวจ ATK เป็นบวกขึ้น 2 ขีด เข้าสู่ขั้นตอนกระบวนการรักษา ดังนี้

กรณีผลตรวจ ATK เป็นบวก ผู้ป่วยสีเขียว ไม่มีอาการ/อาการเล็กน้อย-ปานกลาง การเข้ารับการรักษา (Home Isolation : HI) กรณีผู้ประกันตนประสงค์เข้ารักษาที่บ้าน และมีความพร้อมด้านสถานที่ โดยไม่ต้องขอตรวจยืนยันผล RT-PCR โดยติดต่อสถานพยาบาลตามสิทธิ/สถานพยาบาลใกล้บ้านเพื่อขอรับการรักษาจัดส่งยาหรืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการรักษาพร้อมทั้งการติดตามอาการจากแพทย์และพยาบาลของสถานพยาบาลนั้น ช่องทางการติดต่อเข้ารับการรักษาตัวในระบบ Home Isolation ของ สปสช. มี 3 ช่อง ได้แก่


1. โทรศัพท์เข้าสายด่วน 1330 กด 14


2. ไลน์ออฟฟิเชียล สปสช. @nhso หรือคลิกที่นี่ 


3. ลงทะเบียนด้วยตัวเองด้วยการสแกน QR code ที่อยู่บนเว็บไซต์ สปสช. หรือคลิกที่นี่ I


ในกรณีที่ผู้ประกันตนไม่สะดวกในการติดต่อด้วยตนเองทางสามารถติดต่อประสานหน่วยงาน ของสำนักงานประกันสังคม ช่วยเหลือขอรับรักษาหรือโทรศัพท์ติดต่อได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่ง หรือที่สายด่วน 1506 กด 6 และกด 7

การเข้ารับการรักษาในระบบชุมชน (Community Isolation : CI)
กรณีผู้ประกันตนประสงค์เข้ารักษาที่บ้าน แต่สภาพบ้านไม่พร้อมทำ CI สามารถติดต่อสถานพยาบาลตามสิทธิฯ/สถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อขอรับการตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR ก่อน หรือติดต่อประสานหน่วยงานของสำนักงานประกันสังคม ได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่ง สายด่วน 1506 กด 6 และ กด 7


การเข้ารับการรักษาใน Hospitel


- กรณีผู้ประกันตนประสงค์รักษาใน Hospitel ด้วยมีข้อจำกัดไม่สามารถรักษาที่บ้านได้ สามารถติดต่อสถานพยาบาลตามสิทธิฯ/สถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อขอรับการตรวจยืนยันด้วยวิธี RT-PCR


- การตรวจ RT-PCR ยืนยันผลเป็นบวก ให้สถานพยาบาลตามสิทธิฯ/ สถานพยาบาลที่ทำการตรวจ จัดหา Hospitel รับผู้ประกันเข้ารักษาโดยเร็ว กรณีผลตรวจ ATK เป็นบวก ผู้ป่วยสีเหลืองเข้ม-สีแดง/มีอาการรุนแรง


- มีไข้/ไอ/หายใจเหนื่อย/มีโรคประจำตัว


- ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปและมีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ/ไตวายเรื้อรัง/เบาหวาน/โรคหลอดเลือดสมอง/โรคมะเร็ง เป็นต้น


- กรณีที่มีโรคประจำตัวควบคุมไม่ได้


- ตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ มากกว่า 12 สัปดาห์


- ติดต่อสถานพยาบาลตามสิทธิฯ/สถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อขอตรวจยืนยันผลด้วยวิธี RT-PCR และเข้าสู่กระบวนการรักษาในสถานพยาบาลตามแนวทางที่สาธารณสุขกำหนด กรณีผลตรวจ ATK เป็นลบ (ไม่ติดเชื้อ)


- ไข้สูง 37.5 องศาเซลเซียส/ไอ/มีน้ำมูก/เจ็บคอ/หายใจเหนื่อย/ตาแดง/ผดผื่น/ถ่ายเหลว (หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง) แนะนำให้ผู้ประกันตนติดต่อสถานพยาบาลตามสิทธิฯ/สถานพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อขอตรวจยืนยันผลด้วยวิธี RT-PCR


- ผลตรวจยืนยันเป็นลบ มีประวัติเสี่ยงแนะนำให้กักตัว สังเกตอาการ และตรวจ ATK ซ้ำทุก 3 วัน ไม่มีประวัติเสี่ยง ไม่ต้องกักตัว


- ผลตรวจยืนยันเป็นบวก สถานพยาบาลรับผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาโดยเร็ว ตามแนวทาง การรักษาโควิด-19


- กรณีแพทย์ซักประวัติ ไม่มีความเสี่ยง/ไม่เข้าเกณฑ์การตรวจของกระทรวงสาธารณสุข ผู้ประกันตนประสงค์ขอตรวจเอง ซึ่งไม่อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นผู้ประกันตนต้องรับผิดชอบเอง

 

เช็กขั้นตอนประกันสังคม หากติดโควิด ผู้ประกันตนใช้สิทธิรักษาอย่างไร


ทั้งนี้ สำนักงานประกันสังคมได้มีช่องทางการติดต่อประสานงานให้บริการช่วยเหลือผู้ประกันตน เข้ารักษาในสถานพยาบาล/Hospitel กรณีที่ไม่สามารถติดต่อสถานพยาบาลตามสิทธิฯ ได้ หรือได้รับการปฏิเสธการรักษา ผู้ประกันตนสามารถติดต่อประสานหน่วยงาน ของสำนักงานประกันสังคม ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทุกแห่ง หรือที่ สายด่วน 1506 กด 6 และ กด 7 ให้บริการตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ