เปิด 6 คำแนะนำ "ผู้ป่วยโควิด-19 Home Isolation" กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัย

29 มีนาคม 2565

เปิด 6 คำแนะนำ "ผู้ป่วยโควิด-19 Home Isolation" กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัย หายแล้วกี่วัน ถึงไม่แพร่เชื้อให้คนในครอบครัว

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทย โดยเฉพาะโควิดสายพันธุ์โอไมครอน หรือ โอมิครอน (Omicron) ทำให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จนสร้างความกังวลให้กับให้ประชาชนจำนวนมาก เพราะถึงแม้ว่าสายพันธุ์โอไมครอน ถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่แสดงอาการน้อย ลักษณะคล้ายไข้หวัด แต่ก็สามารถแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว ทำให้หลายคนต่างสงสัยว่าหากพบมีการติดเชื้อโควิดกี่วันถึงจะแสดงอาการให้เรารู้ อีกทั้งกังวลว่าระบบการแพทย์และสาธารณสุข เนื่องจากผู้ป่วยที่อาการหนักต้องอยู่ใกล้แพทย์ อาจไม่มีเตียงรักษารองรับในโรงพยาบาล โดยเฉพาะใน กทม.และปริมณฑล ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จึงออกแนวทางให้ผู้ป่วยติดเชื้อ กลุ่มที่ไม่มีอาการ สามารถแยกกักตัวเองอยู่ที่บ้าน หรือ Home Isolation

โควิด19

ข่าวล่าสุด
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้มีคำแนะนำ 6 ข้อ "กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัย" เตรียมพร้อม ครอบครัว Home isolation (กรณีมีผู้ต้องแยกกักตัวอยู่ที่บ้าน) ดังนี้


1. ควรแยกห้องนอน ห้องน้ำให้ชัดเจน (หากทำได้) และให้แยกห่างจากผู้สูงอายุ ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เปิดประตู หน้าต่างเพื่อให้มีการระบายอากาศ สู่ภายนอกเป็นระยะ และปิดประตูด้านที่เชื่อมต่อ กับคนอื่นภายในบ้านจะเปิดได้เมื่อจำเป็นเท่านั้น

เปิด 6 คำแนะนำ  ผู้ป่วยโควิด-19 Home Isolation  กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัย

2. เตรียมจัดของใช้ สำหรับผู้ต้องแยกกักแยกกับผู้อื่น ทั้งผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า แก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน ส้อม อุปกรณ์ทำความสะอาดแยกต่างหาก

เปิด 6 คำแนะนำ  ผู้ป่วยโควิด-19 Home Isolation  กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัย

3. การใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม กรณีที่ไม่สามารถแยกห้องได้ ให้ผู้อื่นใช้ห้องน้ำก่อน ผู้แยกกักตัวหรือกักกันตัว ใช้เป็นคนสุดท้าย พร้อมทำความสะอาดให้เรียบร้อย ด้วยผ้าชุบน้ำยาฟอกขาวความเข้มข้น 0.1% หรือแอลกอฮอล์ 70% หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.5%

เปิด 6 คำแนะนำ  ผู้ป่วยโควิด-19 Home Isolation  กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัย

4. จัดหาอาหาร เครื่องดื่ม แยกส่งให้เป็นการเฉพาะ หากต้องนำส่ง ให้ส่งไว้หน้าห้องพัก และแจ้งให้ ผู้แยกกักตัวหรือกักกันตัวออกมารับ โดยไม่พบหน้ากันได้ หรือถ้าจำเป็นต้องส่งในห้องพัก ให้ใส่หน้ากากอนามัยทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้ส่งและผู้รับ 

เปิด 6 คำแนะนำ  ผู้ป่วยโควิด-19 Home Isolation  กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัย

5. เตรียมสบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน เพื่อทำความสะอาด เพื่อใช้เฉพาะสำหรับผู้แยกกักตัว หรือกักกันตัว

เปิด 6 คำแนะนำ  ผู้ป่วยโควิด-19 Home Isolation  กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัย

 
-ทัวร์ลงยับ "หมอดัง" เผย คนที่ไม่ติดเชื้อโควิดคือเป็นคนที่ไม่มีเพื่อน
-"หมอโอภาส" เฉลยแล้ว ติดโควิดซ้ำ 2 ครั้งใน 1 เดือน เกิดขึ้นได้อย่างไร
-ไขข้อสงสัย ติดโควิดซ้ำครั้งที่ 2 ภายใน 1 เดือน เป็นไปได้ไหม เกิดจากสาเหตุใด

6. เสื้อผ้าใช้แล้ว ให้แยกตะกร้าและแยกซัก แต่หากใช้เครื่องซักผ้าอาจซักรวมกันได้ โดยให้ผู้แยกกักตัวหรือกักกันตัว นำเสื้อผ้าใช้แล้ว มาใส่ในตู้และไม่สัมผัสโดยรอบ และให้ผู้รับผิดชอบซักผ้านั้น ทำหน้าที่ใส่น้ำยาซักผ้า ตั้งค่าการซักผ้า เปิดปิดเครื่องให้เรียบร้อย ส่วนการตากนั้น สามารถตากรวมได้ เมื่อรีดแล้วให้แยกให้เรียบร้อยส่งให้ ผู้ถูกกักตัวเป็นการเฉพาะ 

เปิด 6 คำแนะนำ  ผู้ป่วยโควิด-19 Home Isolation  กักตัวอย่างไรให้ปลอดภัย

ขณะที่ทางด้าน นพ.ธนีย์ ธนียวัน หรือ Tany Thaniyavarn, MD อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด, วิกฤติบำบัด และการปลูกถ่ายปอด จากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้โพสต์คลิปให้ความรู้ลงใน Youtube ช่อง Doctor Tany ให้ความรู้เรื่องการกักตัว เนื่องจากมีคนหายจากโควิดหลายคนโดนสังคมรังเกียจว่า จะมาแพร่เชื้อให้กับคนอื่นได้หรือเปล่า เพราะยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องของการแพร่เชื้อ และการกักตัว แล้วจะทำอย่างไรไม่ให้แพร่เชื้อได้อีก 

นพ.ธนีย์ ธนียวัน


ซึ่งทาง นพ.ธนีย์ ได้เผยว่า การกักตัวของผู้ที่ติดโควิด ถ้ามีอาการไม่รุนแรง กักตัวแค่ 10 วัน นับตั้งแต่วันที่มีอาการวันแรก เลย 10 วันไปแล้วสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ไม่สามารถแพร่เชื้อได้อีกแล้ว ไม่ว่าจะมีอาการอยู่ก็ตาม โดยทั่วไปโควิดจะมีอาการช่วงแรก หลังจากนั้นจะเริ่มดีขึ้น ในคนที่อาการไม่มาก ไม่ต้องใช้ออกซิเจน แล้วอาการทุก ๆ อย่างเริ่มดีขึ้นเรียบร้อยแล้ว ใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ไม่จำเป็นต้องใช้ยาลดไข้ คือไม่มีไข้เลย ผ่านไป 10 วันก็ไม่แพร่เชื้อแล้ว ไม่ต้องกักตัวต่อก็ได้ แต่สำหรับคนที่มีอาการมาก ต้องใช้ออกซิเจนขนาดสูง เข้าไอซียู กลุ่มนี้ต้องกักตัวให้ครบ 20 วัน นับตั้งแต่วันที่มีอาการวันแรก 


และในกลุ่มพิเศษคือ กลุ่มที่รับประทานยากดภูมิต้านทาน หรือมีโรคภูมิต้านทานผิดปกติ แพทย์ต้องตรวจซ้ำ RT-PCR เพื่อดูว่าจะแพร่เชื้อได้อีกหรือไม่ โดยเกณฑ์ที่โรงพยาบาลใช้คือ ถ้าตรวจ RT-PCR สองครั้ง ห่างกัน 24 ชั่วโมง มีค่า CT (Cycle Threshold) เกิน 30 ทั้งสองครั้ง อย่างนี้ก็ไม่แพร่แล้ว แม้มันยังบวกอยู่ แต่เป็นแค่เศษซากเชื้อที่ไม่สามารถแพร่เชื้อได้


นอกจากนี้ นพ.ธนีย์ ยังระบุอีกว่า โดยทั่วไป ทุกคนในครอบครัว หรือคนที่อาศัยอยู่ด้วยกัน ควรฉีดวัคซีนให้ครบเรียบร้อย เพราะคนที่เพิ่งหายมาใหม่ๆ อาจไม่มีปัญหาเท่าไร เนื่องจากภูมิป้องกันการติดเชื้อยังมีอยู่ แต่ถ้าภูมิของคนที่อยู่ร่วมอาศัย ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หรืออาจจะไปรับเชื้อที่ไหนมาแล้วก็สามารถเป็นได้ยิ่งถ้ามีคนในครัวเรือนที่อยู่ด้วยกันมากกว่า 1 คน เช่น


"ผมเป็น แล้วผมหาย กักตัวในโรงพยาบาลครบ 10 วันเสร็จเรียบร้อยกลับบ้านแล้ว ตอนนั้นผมไม่แพร่แล้วนะครับ แม้ว่าผมจะมีไอ มีน้ำมูกอยู่ก็ตาม แต่ถ้าคนในครอบครัวผมมี 3-4 คน ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ถ้าคนหนึ่งในนั้นติด แล้วผมก็ไปกินข้าวด้วย ผมอาจไม่เป็นอะไร แต่ 3-4 คนที่อยู่ด้วยกัน ถ้าคนหนึ่งมีเชื้อ ก็มีโอกาสจะติดได้ เพราะว่าเขายังไม่มีภูมิต้านทาน"

 

ขอบคุณ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ , Doctor Tany