ประกาศสั่งปิดโรงเรียน หรือ สถาบันการศึกษาทุกประเภท หลังโควิด นร. ยอดพุ่ง

22 กุมภาพันธ์ 2565

ประกาศสั่งปิดโรงเรียน หรือ สถาบันการศึกษาทุกประเภทในจังหวัดบุรีรัมย์ หลังโควิด นร. ยอดพุ่ง ปรับเป็นเรียนออนไลน์ ถึง 2 มี.ค. 65

โดยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดบุรีรัมย์  ออกหนังสือด่วนถึงสถานศึกษาทั้งจังหวัดกว่า1,500เเห่ง ขอความร่วมมือให้งดเรียนออนไซต์ ปรับเป็นเรียนออนไลน์  ด้านประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ ให้สถานศึกษาทุกสังกัด จัดการเรียนการสอน ในรูปแบบ Online On-air On-demand หรือ On-hand ทดแทนการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ตั้งแต่ 21 ก.พ.65 - 2 มี.ค. 65 หรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

สำหรับยอดล่าสุด ข้อมูลวันที่ 20 ก.พ.65 นักเรียนติดโควิดสะสมแล้ว 689 ราย มีทั้งนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา  ระดับมัธยมศึกษา และระดับมหาวิทยาลัย

ประกาศสั่งปิดโรงเรียน หรือ สถาบันการศึกษาทุกประเภท หลังโควิด นร. ยอดพุ่ง

โดยประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์เรื่อง การป้องกันการระบาดใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. ๒๕๖๕ กำหนดมาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ในโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท จังหวัดบุรีรัมย์โดยที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยเฉพาะเชื้อไวรัสกลายพันธุ์สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron)สามารถแพร่ได้เร็วและมีโอกาสทำให้ติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ และประเทศไทย 

ประกาศสั่งปิดโรงเรียน หรือ สถาบันการศึกษาทุกประเภท หลังโควิด นร. ยอดพุ่ง

ได้ตรวจพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวกระจายไปตามพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ แต่ด้วยความร่วมมือร่วมใจของภาคประชาชนในการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจังขันแข็งของพนักงานเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายปกครอง และ ฝ่ายความมั่นคง ได้ช่วยให้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อยู่ภายใต้การควบคุม

 

อย่างไรก็ดี ยังคงต้องเพิ่มการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อควบคุมการระบาดในบางพื้นที่เสี่ยงที่พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อน โดยเฉพาะในชุมชน หรือสถานที่เสี่ยงที่มีการรวมกลุ่มของบุคคล มิให้ได้รับการแพร่ระบาดของเชื้อโรคดังกล่าวในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษานั้น ๆ จึงเห็นควรกำหนดมาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท จังหวัดบุรีรัมย์อาศัยอำนาจตามความใน มาตรา ๒๒ (๗) และมาตรา ๓๔ (๑) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อพ.ศ. ๒๕๕๘ ข้อ ๖ (๑) ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ (ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ และ ข้อ ๗ (๑)ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา ๙ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘(ฉบับที่ ๑) ลงวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์

ประกาศสั่งปิดโรงเรียน หรือ สถาบันการศึกษาทุกประเภท หลังโควิด นร. ยอดพุ่ง

โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ ในคราวประชุมครั้งที่ /๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ จึงเห็นควรออกประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ เรื่อง การป้องกันการระบาดใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา20 19 พ.ศ. ๒๕๖๕ กำหนดมาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท จังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้

ประกาศสั่งปิดโรงเรียน หรือ สถาบันการศึกษาทุกประเภท หลังโควิด นร. ยอดพุ่ง

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์ เรื่อง การป้องกันการระบาดใหม่
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ..ศ. ๒๕๖๕ กำหนดมาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
(COVID-19) ในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท จังหวัดบุรีรัมย์"

ข้อ 2 ประกาศนี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ หรือจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น

ข้อ 3 ให้ผู้บริหาร เจ้าของ ผู้จัดการหรือผู้ดูแลโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท ที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ทุกแห่ง ต้องจัดให้บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียนในโรงเรียนหรี่อสถาบันการศึกษาทุกประเภทต้องจัดให้มีการจัดการเรียนการสอน ในรูปแบบการเรียนผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Online) การเรียนผ่านระบบทางการเรียนทางไกล (On Air) การเรียนผ่านแอปพลิเคชั่นต่างๆ (On Demand) และ การเรียนแบบการจัดใบงานหรือแบบฝึกหัดเป็นชุดให้ผู้เรียนนำไปเรียนรู้ด้วยตนเองที่บ้าน โดยมีผู้สอนคอยติดตามผลเป็นระยะ(On Hand) ได้ตามความเหมาะสมที่กระทรวงศึกษาธิการ

หรือกระทรวงอื่นๆ ที่รับผิดชอบกำหนดทดแทนข้อ ๔ เมื่อโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาทุกประเภท ที่จะดำเนินการจัดการเรียนการสอนปกติ (On Site)ก่อนเปิดทำการจัดการเรียนการสอนปกติ (On Site) ให้นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาทุกคน ต้องตรวจคัดกรองหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เบื้องตันด้วยชุดตรวจอย่างง่าย (Antigen Test Kit :ATK) เป็นลบภายใน ๗๒ ชั่วโมง เฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีอาการระบบทางเดินหายใจ หรือนักเรียน/ผู้ปกครองที่เดินทางกลับมาจากต่างจังหวัดหรือพื้นที่เสี่ยง หรือผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) หรืออยู่ในพื้นที่/ชุมชนที่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงสามารถดำเนินการจัดการเรียนการสอนปกติ (On Site) ได้

 ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ข้อ 3 และข้อ 4 มีโทษตามนัย มาตรา ๑๘ แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท และ มีความผิดตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาทอนึ่ง เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้ผู้ใดใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา ๓๐วรรคสอง (๑) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙

ประกาศ ณ วันที่ 19 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
(นายธัชกร หัตถาธยากูล)
ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์
ประธานกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบุรีรัมย์
ผู้กำกับการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินจังหวัดบุรีรัมย์