อาการโควิด 19 ที่เข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤต ต้องใช้สิทธิรักษาอย่างเร่งด่วน

16 กุมภาพันธ์ 2565

จากที่จะมีการปรับรักษาโควิด 19 ตามสิทธิหลักประกันสุขภาพ เช็กอาการโควิด 19 ที่เข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤต ต้องใช้สิทธิ UCEP รักษาอย่างเร่งด่วน

นายแพทย์อุดม คชินทร ที่ปรึกษา ศบค.ชี้แจงกรณีที่หลายฝ่ายตั้งคำถามที่ว่า ไทยจะต้องยกเลิกโรคโควิด 19 ออกจากบริการ UCEP (ยูเซ็ป) หรือการให้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิทุกที่ แล้วให้ไปใช้สิทธิตามหลักประกันสุขภาพของแต่ละบุคคล อาทิ บัตรทอง ประกันสังคม หรือสวัสดิการข้าราชการ ที่จะเริ่มในวันที่ 1 มีนาคมนี้

อาการโควิด 19 ที่เข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤต ต้องใช้สิทธิรักษาอย่างเร่งด่วน

นายแพทย์อุดม คชินทร ระบุว่า ที่ผ่านมารัฐบาลใช้งบประมาณจำนวนมาก ในการดูแลผู้ป่วยโควิดฟรี ที่ไม่มีประเทศใดให้เท่ากับประเทศไทย และต้องยอมรับว่ารัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายไม่ไหว เนื่องจากต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก จึงอยากขอให้ประชาชนเข้าใจตรงจุดนี้ด้วย

ทว่าล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข แจงกรณีเตรียมปรับโควิดไปสู่การรักษาตามสิทธิฟรี เนื่องจากปัจจุบันความรุนแรงของโรคลดลง ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการ สามารถดูแลรักษาที่บ้านได้ ไม่จำเป็นต้องรักษาในโรงพยาบาล ทำให้มีเตียงรองรับผู้ป่วยวิกฤตโรคอื่น และหากป่วยโควิด 19 แล้วมีอาการเข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤตยังใช้สิทธิ UCEP รักษาทุกที่ได้ตามปกติ

อาการโควิด 19 ที่เข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤต ต้องใช้สิทธิรักษาอย่างเร่งด่วน

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แถลงข่าวการรักษาโรคโควิด 19 ตามสิทธิการรักษา โดยกล่าวว่า สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตรักษาทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐบาล เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตให้เข้ารักษาโรงพยาบาลใดก็ได้

 

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ แถลงข่าวการรักษาโรคโควิด 19 ตามสิทธิการรักษา โดยกล่าวว่า สิทธิเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตรักษาทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients : UCEP) คือ สิทธิการรักษาตามนโยบายรัฐบาล เพื่อคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตให้เข้ารักษาโรงพยาบาลใดก็ได้ 

โดยอาการที่เข้าข่ายวิกฤต เช่น ช็อก หมดสติ ไม่รู้สึกตัว หายใจเร็ว หอบเหนื่อยรุนแรง เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน อ่อนแรงแขนขาครึ่งตัว เลือดออกในสมอง เป็นต้น ซึ่งเมื่อมีโรคโควิด ได้นำสิทธิ UCEP เข้ามาใช้ควบคู่กับการควบคุมโรค ให้ผู้ติดเชื้อเข้าสู่โรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชนให้มากที่สุด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด

นพ.ธงชัย อธิบายเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้เรามีความรู้เกี่ยวกับโควิดมากขึ้น และเป็นการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนที่รุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา 7 เท่า และการเสียชีวิตน้อยกว่า 10 เท่า โดยผู้ติดเชื้อกว่า 90% ไม่มีอาการหรืออาการน้อยมาก ไม่จำเป็นต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล จึงเน้นให้รับการดูแลในระบบ Home Isolation (HI) และ Community Isolation (CI) 

อาการโควิด 19 ที่เข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤต ต้องใช้สิทธิรักษาอย่างเร่งด่วน

รวมถึงเตรียมปรับให้ผู้ติดเชื้อโควิด เข้าสู่ระบบการรักษาตามสิทธิ ซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่าย ยกเว้นไปโรงพยาบาลเอกชนนอกระบบโดยไม่มีอาการจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง แต่หากผู้ป่วยมีอาการเข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤต ยังใช้สิทธิ UCEP ได้ตามปกติเหมือนโรคอื่นๆ ซึ่งการเตรียมปรับโควิดมาสู่การรักษาตามสิทธิ จะช่วยให้ระบบสาธารณสุขมีเตียงสำหรับดูแลผู้ป่วยโรคอื่นได้

ขณะเดียวกัน นพ.ธเรศ ได้กล่าวเสริมว่า กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้เสนอคณะกรรมการสถานพยาบาลใช้กลไก UCEP COVID เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 ทำให้สถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมกันดูแลผู้ป่วย แต่ปัจจุบันสายพันธุ์โอไมครอนมีความรุนแรงน้อยลง ประชาชนเข้าใจวิธีป้องกันควบคุมโรคมากขึ้น 

คณะอนุกรรมการการรักษาในพื้นที่ กทม. รวมถึงศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีความเห็นตรงกันว่าควรปรับให้มีการรักษาโรคโควิด 19 ตามสิทธิการรักษาซึ่งคนไทยทุกคนมีอยู่เดิม ทั้งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง สวัสดิการข้าราชการ และประกันสังคมและในวันที่ 31 มกราคม มีการประชุมกองทุนสุขภาพทั้ง 4 กองทุน 

คือ กรมบัญชีกลาง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ บทสรุปในเบื้องต้น คือ สวัสดิการข้าราชการ เข้ารักษาโรงพยาบาลรัฐได้ทุกแห่งทั่วประเทศ, บัตรทอง เข้ารักษาสถานพยาบาลเครือข่ายบัตรทองทุกแห่งตามนโยบายบัตรทองรักษาทุกที่, ประกันสังคม 

ที่ได้เสนอคณะกรรมการการแพทย์ไปในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ให้รักษาในเครือข่ายโรงพยาบาลประกันสังคมได้เช่นกัน, บัตรประกันสุขภาพต่างด้าว ให้รักษาในโรงพยาบาลตามสิทธิที่ขึ้นทะเบียน ส่วนผู้ที่มีปัญหาไร้สิทธิและสถานะ ได้เตรียมโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กทม. และโรงพยาบาลรัฐทุกแห่งไว้รองรับ

อาการโควิด 19 ที่เข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤต ต้องใช้สิทธิรักษาอย่างเร่งด่วน

นอกจากนี้ นพ.ธเรศ ยังกล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด ยังสามารถเข้าระบบ HI ได้ตามปกติ ซึ่งทุกกองทุนสุขภาพจะทำระบบ HI ไว้รองรับ โดยบัตรทอง ติดต่อผ่านสายด่วน 1330, ประกันสังคม สายด่วน 1506, สิทธิสวัสดิการข้าราชการ โทร 02-2706400 และสิทธิประกันต่างด้าว โทร 02-5901578

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการปรับโควิด มาสู่การรักษาตามสิทธิ ไม่กระทบในช่วงนี้ที่มีการติดเชื้อสูงขึ้น เนื่องจากเป็นการกระจายผู้ป่วยไปตามจุดต่างๆ ที่ขึ้นทะเบียนตามสิทธิ และหากผู้ติดเชื้อโควิดมีอาการเข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤต ยังเข้ารักษาทุกที่ได้ตามแนวทางของสิทธิ UCEP โดยจะมีการเพิ่มเติมรายการที่ยังไม่ครอบคลุม เช่น ชุด PPE ชุดป้องกันโรค เครื่องช่วยหายใจบางชนิด เพื่อให้โรงพยาบาลเบิกจ่ายได้

อาการโควิด 19 ที่เข้าข่ายฉุกเฉินวิกฤต ต้องใช้สิทธิรักษาอย่างเร่งด่วน

 

ข้อมูล - ภาพจาก กระทรวงสาธารณสุข