"หมอธีระวัฒน์" เผยตัวแปรในระลอกโอไมครอน แนะเฝ้าจับตาถึงกลางกุมภาพันธ์

10 มกราคม 2565

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา เผยข้อมูลสถานการณ์โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน จาก ชิว ชิว อาจกลายเป็น chills สั่นสะท้าน เผยตัวแปรในระลอกโอมิครอน แนะเฝ้าจับตาถึงกลางกุมภาพันธ์

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ในเพจ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha โดยระบุว่า โอไมครอน ว่า ชิว ชิว อาจกลายเป็น chills สั่นสะท้าน? ถึงปัจจุบัน มีแต่คำถาม

หมอธีระวัฒน์ เผยตัวแปรในระลอกโอไมครอน แนะเฝ้าจับตาถึงกลางกุมภาพันธ์

9/1/65

ตัวแปรใน ระลอกโอไมครอน จับตาถึง กลาง กุมภาพันธ์ ความรุนแรง

1- คน ในพื้นที่นั้นมีโรคประจำตัว ที่ยังคุมไม่ได้ หรือสูงวัย มากขนาดไหน

2- ที่ว่า เบา ในประเทศต่างๆ

เป็นเพราะติดโควิดตามธรรมชาติมา สามระลอกแล้ว เช่น แอฟริกาใต้ แอลฟ่า เบต้า เดลต้า โอไมครอน

3- ที่ว่าเบา เพราะ จำนวน คนที่ฉีดไป มีมากมาย และขึ้นกับชนิดของวัคซีนหรือไม่?

อังกฤษ ฉีดวัคซีน แอสตร้า ต่อ ไฟเซอร์ โมเดนา หั่นแหลก ทุกหัวระแหง

ประเทศไทย บทพิสูจน์ 2 เข็ม 70% วัคซีนอะไรเป็นหลัก

ในสหรัฐ น่าจะมีปัจจัยซับซ้อนกว่า ที่ติดมากมาย และรุนแรงขึ้น

หรือวัคซีนช่วยหรือไม่เพียงใดในกรณีนี้

 

4- ไวรัส เอง

เพิ่มความรุนแรงเองได้เองเมื่อแพร่ไปมาก หรือ ควบรวมตัวอื่น ได้ ทั้งแพร่ เก่งและทั้งแรง

5- ไวรัส เพี้ยนไปเรื่อยๆ ภูมิจากโอไมครอน จะต้าน ตัวใหม่ได้หรือ?

6- ฉีดวัคซีน เข้ากล้าม ได้ผลข้างเคียงเอง อีกด้วย ผสมปนเป

น่าจะฉีดชั้นผิวหนังทุกหนแห่งไปเลย ภูมิ เท่ากัน ใช้ปริมาณน้อยกว่า ผลแทรกซ้อนน้อยกว่า

Deltacron in Cyprus จะเก่ง จะกล้าพอไหม ที่มาเป็นจ่าฝูง ท้าโอไมครอน หรือ เป็น ติดเชื้อ 2 ตัวคู่ ไม่ใช่ 2 ตัว มาผสมเป็นตัวเดียว ยังไงๆ มีแล้วมากกว่า 20 ราย ตามข่าว ที่ว่า และรายงานในฐานข้อมูล

หมอธีระวัฒน์ เผยตัวแปรในระลอกโอไมครอน แนะเฝ้าจับตาถึงกลางกุมภาพันธ์

หมอธีระวัฒน์ เผยตัวแปรในระลอกโอไมครอน แนะเฝ้าจับตาถึงกลางกุมภาพันธ์